หนึ่งในรายการโปรดที่ออกอากาศทาง True Visions นับว่าติดตามมานานกว่าสิบปี นั่นคือ รายการแข่งขันทำอาหารอย่าง MasterChef ไม่ว่าจะเป็นเวอร์ชั่น Australia, New Zealand, Canada, Asia , America, UK จนกระทั่งประเทศไทยได้ซื้อลิขสิทธิ์มาเป็นรายการ MasterChef Thailand งานนี้จึงพลาดไม่ได้จริงๆ ที่จะตามเป็นแฟนคลับต่อยอดจากที่ดูมาหลายเวอร์ชั่นอังกฤษเป็นประเทศต้นกำเนิดรายการ ‘MasterChef’ โดยออกอากาศครั้งแรกตั้งแต่ปี 1990 ก่อนจะปิดตัวรายการเวอร์ชั่นต้นตำรับไปในปี 2001 และกลับมาปัดฝุ่นอีกครั้งในปี 2005 แม้จะมีต้นกำเนิดมาจากอังกฤษ แต่โครงสร้างรายการ ‘MasterChef Thailand’ กลับมีความคล้ายคลึงกับฉบับของฝั่งอเมริกามากกว่า ที่มีจังหวะการเล่าเรื่องแสนกดดันราวกับหนังแอคชั่น เช่นเดียวกับผู้ซื้อลิขสิทธิ์รายการมาสเตอร์เชฟกว่า 53 ประเทศ ส่วนใหญ่จะได้รูปแบบจากออสเตรเลียและอเมริกาที่ดูตื่นเต้นกว่า รูปแบบการแข่งขันของหลายประเทศมีความเหมือนกัน โดยเฉพาะรอบกล่องปริศนา, รอบทำอาหารเป็นทีม และรอบกดดัน บางประเทศอย่างออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ จะมีช่วงมาสเตอร์คลาสที่กรรมการสอนทำอาหารให้ผู้เข้าแข่งขันนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ส่วนกรรมการแต่ละประเทศจะทำหน้าที่เป็นพิธีกรควบคู่ไปด้วย มีบางประเทศเท่านั้นที่มีพิธีกรแยกต่างหากปีนี้รายการมาสเตอร์เชฟบ้านเรามีซีซั่น All Star ทางฝั่งออสซี่เขาก็มีเหมือนกัน ใช้ชื่อว่า MasterChef Back To Win รวมตัวผู้เข้าแข่งขัน 24 คน ตั้งแต่ซีซั่น 1-11 ถือว่าเป็นการแข่งขันระดับ All Star เป็นครั้งที่ 2 หลังจากเคยมีครั้งแรกเมื่อปี 2012 แต่ครั้งนั้นเป็นการแข่งขันการกุศล รวมตั้งแต่ซีซั่น 1-3 แบ่งซีซั่นละ 4 คน ซึ่ง Callum Hann รองแชมป์จากซีซั่น 2 ได้เป็นแชมป์ และครั้งนี้เขาก็กลับมาร่วมแข่งขันเพื่อป้องกันแชมป์อีกครั้งสำหรับ MasterChef Back To Win ของออสเตรเลียในครั้งนี้ มีการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่สุดเซอร์ไพรส์ของรายการ MasterChef Australia เลยทีเดียว ด้วยการเปลี่ยนกรรมการยกชุด จากชุดเดิม Gary Mehigan, George Calombaris และ Matt Preston มาเป็น Andy Allen แชมป์จากซีซั่น 4, Jock Zonfrillo พิธีกรรายการโทรทัศน์ และเชฟพิเศษจากสก๊อตแลนด์ และ Melissa Leong นักแสดง และพิธีกร สาเหตุที่กรรมการชุดเดิมไม่ได้รับการต่อสัญญา เนื่องจาก George Calombaris ประสบปัญหาต้องปิดธุรกิจร้านอาหาร 12 สาขาที่ขาดทุนเรื้อรังมาตั้งแต่ปี 2017 รวมทั้งโกงค่าจ้างพนักงานเสิร์ฟในรายการที่ต่ำกว่า 8 ล้านเหรียญ จนต้องเสียค่าปรับ 2 แสนเหรียญ ซึ่งส่งผลต่อแมตต์ และแกรี่ที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ไปด้วยคงอดคิดถึงกรรมการชุดเก่าสามคนนี้ไม่ได้ เพราะเห็นกันมาอย่างน้อย 11 ซีซั่นแล้ว มาสเตอร์เชฟเวอร์ชั่นออสเตรเลียขึ้นชื่อว่า เป็นการแข่งขันที่ดูอบอุ่นเหมือนครอบครัว ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนเก่งจนยากจะเดาว่าใครจะเป็นแชมป์ และไม่ดราม่าจนเกินเหตุ ระยะเวลาในการแข่งขันก็ถือว่านานพอสมควร มาติดตามกันต่อไปว่ารายการรูปแบบใหม่จะยังดึงดูดความสนใจได้เหมือนเดิม หรือดีกว่าเดิม ขอบคุณรูปภาพจากเพจ : MasterChef Thailand - มาสเตอร์เชฟ ประเทศไทย / MasterChef Australiaปก1 / ปก2 / รูป1 / รูป2 / รูป3 / รูป4 / รูป5 / รูป6 / รูป7.1 รูป7.2 รูป7.3 / รูป8