วิเคราะห์เจาะลึก แฟรนไชส์ "Indiana Jones" สมควรไปหรือไม่ หลังความล้มเหลวจากภาคล่าสุด
‘Indiana Jones’ อีกหนึ่งแฟรนไชส์ทรงคุณค่าของฮอลลีวูด ที่เป็นที่ชื่นชอบของคอหนังทั่วโลกมากว่า 50 ปี หนัง 5 ภาคทำเงินรวมกันไปแล้วกว่า 2,xxx ล้านเหรียญ หนังทั้งห้าภาคนำแสดงโดย แฮร์ริสัน ฟอร์ด (Harrison Ford) ถ่ายทอดภาพลักษณ์ของ อินเดียนา โจนส์ ออกมาได้อย่างมีเสน่ห์ เป็นตัวละครที่มีเอกลักษ์เพียงหนึ่งเดียว เพราะเป็นทั้งอาจารย์ นักโบราณคดี และเป็นนักสู้ที่ต้องต่อกรกับนาซีบ้าง กองกำลังอื่น ๆ บ้าง เป็นแฟรนไชส์แอ็กชันที่เพียบพร้อมไปด้วยองค์ประกอบที่ทำให้หนังมีความสนุกเพลิดเพลิน ทั้งการตามล่าหาสมบัติโบราณ และเรื่องราวเหนือธรรมชาติ โดยเฉพาะ 3 ภาคแรกนั้นได้รับการยกย่องมากที่สุดและประสบความสำเร็จอย่างมากในยุค 80’s ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา จึงมีความพยายามที่จะต่ออายุให้กับแฟรนไชส์นี้ และในที่สุด ‘Indiana Jones and the Dial of Destiny’ ภาคที่ 5 ก็สำเร็จเสร็จสิ้นออกมา และกำลังลงโรงฉายอยู่ขณะนี้ เป็นการเรียกให้แฟนเก่า ๆ ดั้งเดิมได้กลับไปดูฮีโรคนโปรดของเขาและเป็นการทำความรู้จักกับแฟน ๆ รุ่นใหม่
แฮร์ริสัน ฟอร์ด ในวัย 80 ปี ก็ประกาศว่า ‘Indiana Jones and the Dial of Destiny’จะเป็นภาคสุดท้ายแล้ว ที่เขากลับมารับบทเป็น อินเดียนา โจนส์ นั่นจึงก่อให้เกิดประเด็นพูดคุยกันมากมายเกี่ยวกับอนาคตของแฟรนไชส์ทรงคุณค่าเรื่องนี้ ที่ยังสามารถต่อยอดไปได้ทั้ง ภาพยนตร์ ทีวีซีรีส์ หรือภาพยนตร์ทางสตรีมมิง และในเมื่อฟอร์ดประกาศโบกมือลาจากบทนำไปแล้วเช่นนี้ แฟรนไชส์จะยังคงเดินหน้าต่อไปได้หรือไม่ หรือถ้าดิสนีย์ยังยืนยันจะไปต่อ ก็จะไปต่อในรูปแบบใด
จากจุดกำเนิดในยุค 80’s
‘Indiana Jones’ เป็นอีกหนึ่งผลงานที่กลายเป็นแฟรนไชส์ทรงคุณค่าจากฝีมือของผู้กำกับ สตีเวน สปิลเบิร์ก (Steven Spielberg) ภาพยนตร์เรื่องแรกของแฟรนไชส์ (Raiders of the Lost Ark) ถือกำเนิดมาในปี 1981 ทันทีที่ออกฉาย ก็ถูกยกย่องให้เป็หนึ่งในภายนตร์แอ็กชันที่ดีที่สุดของฮอลลีวูด เป็นผลงานจากทีมงานที่มากพรสวรรค์ของคนฮอลลีวูดรุ่นใหม่ (ในวันนั้น) หนังสร้างจากเนื้อเรื่องของ จอร์จ ลูคัส (George Lucas) กำกับโดย สตีเวน สปิลเบิร์ก และบทภาพยนตร์โดย (Lawrence Kasdan) ไม่เพียงแต่หนังประสบความสำเร็จทางด้านรายได้ แต่ยังได้รับการยอมรับนับถือบนเวทีรางวัลต่าง ๆ หนังเข้าชิงออสการ์ถึง 9 สาขา รวมไปถึงภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ผู้กำกับยอดเยี่ยม แต่ก็กวาดมาได้สำเร็จ 5 สาขา
ปี 1984 ภาพยนตร์ภาคต่อ ‘Indiana Jones and the Temple of Doom’ แต่เป็นเรื่องราวภาคก่อนหน้า โชคร้ายไปสักหน่อย ที่ภาคนี้ได้เรต PG-13 ในขณะที่ภาคแรกได้เรต PG เหตุเพราะว่าภาคนี้มีภาพที่รุนแรงมากขึ้น ก็เลยมีผลกระทบต่อรายได้รวมของหนัง แต่อย่างไรก็ตาม ‘Indiana Jones and the Temple of Doom’ ก็เป็นอีกหนึ่งภาพยนตร์ไอคอนในยุค 80’s เป็นที่ชื่นชอบของแฟน ๆ ในยุคนั้นอย่างมาก แต่หลังจากนี้ ทีมงานก็ใช้อีกถึง 5 ปี กว่าที่ ‘Indiana Jones and The Last Crusade’ จะออกมาในปี 1989 ภาคนี้ได้รับการตอบรับที่ดีกว่า ‘The Temple of Doom’เพราะมีการเพิ่ม ฌอน คอนเนอรี่ (Sean Connery) เข้าไปในบทพ่อของ อินเดียนา โจนส์
หลังจากไตรภาคประสบความสำเร็จได้อย่างน่าพอใจ ในช่วงปี 90’s จึงมีความพยายามกันหลายครั้งที่จะคืนชีพแฟรนไชส์นี้ แม้ว่าบาทโปรเจกต์จะไม่มี แฮร์ริสัน ฟอร์ด เข้ามามีส่วนร่วมก็ตาม และผลงานที่โดดเด่นที่สุดก็คือ ‘The Young Indiana Jones Chronicles’ ทีวีซีรีส์ที่ออกมาในปี 1992 ที่ย้อนไปเล่าเรื่องราวการผจญภัยในวัยหนุ่มของ อินเดียนา โจนส์ ซีรีส์ไม่ประสบความสำเร็จนัก จึงไปได้แค่ 2 ซีซันก็ถูกยกเลิกสร้าง กลายเป็นว่าไม่มีโปรเจกต์ในแฟรนไชส์ อินเดียนา โจนส์ ที่ควรค่าแก่การจดจำในยุค 90’s
ความพยายามคืนชีพแฟรนไชส์ในศตวรรษที่ 21
มีการพูดคุยเรื่องแผนการจะสร้าง Indiana Jones ภาคที่ 4 ตั้งแต่ช่วงที่ทำซีรีส์ ‘The Young Indiana Jones Chronicles’ กันแล้ว เพราะ จอร์จ ลูคัส สนใจที่จะที่เล่าเรื่องราวของ อินเดียนา โจนส์ ที่เกิดในช่วงปี 50’s แต่เผอิญว่าทั้ง แฮร์ริสัน ฟอร์ด และ สตีเวน สปิลเบิร์ก ก็ติดงานอื่นกันอยู่ รอกันมาจนถึงช่วงกลางยุค 2000 ที่ทีมงานหลักได้กลับมาพร้อมหน้าพร้อมตากันอีกครั้ง ภาพยนตร์ภาคที่ 4 ‘Indiana Jones and the Kingdom of the Crystal Skull’ จึงได้สำเร็จเสร็จสิ้นออกมาในปี 2008 ทิ้งห่างจากภาค ‘The Last Crusade’ เกือบ 20 ปี
หลังจากภาคที่ 4 ผานพ้นไป สปิลเบิร์ก, ลูคัส และ ฟอร์ด ต่างก็ยังมีความสนใจที่จะทำหนังภาคต่อ Indiana Jones ด้วยกันอยู่ แต่แล้วกระบวนการที่จะสร้างภาคต่อก็ต้องหยุดชะงัก เป็นผลมาจากการเข้าซื้อ ลูคัส ฟิล์ม ของดิสนีย์ในปี 2012 หลังจากทุกอย่างเริ่มลงตัว สตีเวน สปิลเบิร์ก ก็กลับมาสานต่อโปรเจกต์หนังภาคที่ 5 โดยรอบนี้เขากลับมาในหน้าที่ผู้อำนวยการสร้าง แล้วส่งไม้ต่อให้กับ เจมส์ แมนโกลด์ (James Mangold) ผู้กำกับที่สร้างชื่อมาจาก ‘Ford v Ferrari’ และ ‘Logan’ ซึ่ง ‘Indiana Jones and the Dial of Destiny’ ก็แล้วเสร็จในปีนี้ และกำลังเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ทั่วโลกอยู่ในขณะนี้ ภาคนี้เล่าเรื่องราวของ อินเดียนา โจนส์ ในยุค 60’s รวมทั้งมีการใช้เทคโนโลยี De-Aging ย้อนวัยของฟอร์ดไปในวัยเดียวกับหนังภาคแรก
แม้ว่า ‘Indiana Jones and the Dial of Destiny’ เพิ่งจะลงโรงฉาย แต่ ลูคัส ฟิล์ม และ ดิสนีย์ ก็มีการพูดคุยวางแผนกันถึงอนาคตของแฟรนไชส์ ‘Indiana Jones’ กันแล้ว ไม่มีรายละเอียดถึงแผนการส่วนนี้แพร่งพรายออกมามากนัก แต่ที่แน่ ๆ ก็คือวิธีการที่จะส่งต่อบทนำไปยังตัวละครใหม่ ซึ่งอาจจะเป็น เฮเลนา ลูกบุญธรรมของ อินเดียนา โจนส์ ซึ่งรับบทโดย ฟีบี วอลเลอร์-บริดจ์ (Phoebe Waller-Bridge) ที่เพิ่งแนะนำตัวมาใหนภาคล่าสุดนี้ นอกจากนี้ก็ยังมีแผนการที่จะขยายจักรวาลของ ‘Indiana Jones’ไปเป็นทีวีซีรีส์ทาง Disney+ แต่ดูเหมือนว่าโปรเจกต์นี้จะถูกชะลอไว้ก่อน
หรือว่าปล่อยให้จบไปแบบนี้จะดีกว่า ?
ถึงแม้ว่าแฟรนไชส์ ‘Indiana Jones’ จะเป็นแฟรนไชส์ที่คนทั้งโลกรู้จักดี เพราะมอบความสุขและรอยยิ้มมาตลอด 5 ทศวรรษ แต่บางครั้งการจะปล่อยให้บางเรื่องถึงกาลอวสานไปบ้างก็เป็นเรื่องดี บทเรียนที่เห็นได้ชัดจากความพยายามที่ผิดพลาดของทีมงานก็คือ ทีวีซีรีส์ ‘The Young Indiana Jones Chronicles’ (1992 – 1993) ที่ล้มเหลว และอาจจะเป็นเรื่องเตือนใจทีมงานว่าบางทีควรปล่อย ‘Indiana Jones’ให้จบไปในรูปแบบไตรภาคเสียจะดีกว่า ให้ อินเดียนา โจนส์ เป็นที่จดจำในฐานะหนังไตรภาคที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในยุค 80’s เป็นตำนานที่ยากที่ใครจะเลียนแบบ เพราะไม่ว่าจะเป็นภาคต่อ หรือทีวีซีรีส์ที่ออกมาภายหลัง ก็ไม่สามารถทำคุณภาพได้เทียบเท่ากับไตรภาคแรกได้เลย
และบทเรียนล่าสุดก็คือ ‘Indiana Jones and the Dial of Destiny’ ที่ลูคัสฟิล์มและดิสนีย์ควักกระเป๋าออกมา 340 ล้านเหรียญ เป็นต้นทุนในการสร้าง นั่นคือต้นทุนจำนวนมหาศาล แต่ตัวเลขสุดสัปดาห์แรกที่เก็บรายได้ทั่วโลกไปแค่ 130 ล้านเหรียญนั้น นับเป็นตัวเลขที่น่าผิดหวัง และทางสตูดิโอไม่น่าจะได้ต้นทุนคืนจากการฉายในโรงภาพยนตร์ ดิสนีย์ต้องย้อนกลับมาพิจารณาแล้วว่า ‘Indiana Jones’ในวันนี้ยังเป็นชื่อที่สามารถถึงดูดผู้ชมได้อยู่หรือไม่ ? ที่จริงแล้วดิสนีย์น่าจะพิจารณาจากวันที่ ‘Indiana Jones and the Kingdom of the Crystal Skull’ออกฉายเมื่อปี 2008 ในวันนี้มีเสียงตอบรับจากแฟน ๆ ที่ผสมปนเปกันไปทั้งด้านบวกและลบ เพราะครั้งนั้นน่าจะเป็นครั้งสุดท้ายแล้วที่แฟน ๆ จะรู้สึกตื่นเต้นกับการได้เห็น อินเดียนา โจนส์ กลับมาโลดแล่นบนจอภาพยนตร์ ถึงเวลาแล้วหรือยังที่แฟรนไชส์ ‘Indiana Jones’สมควรจะเข้าไปอยู่ในพิพิธภัณฑ์ ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะให้ อินเดียนา โจนส์ ได้พักผ่อน และอย่าเชื่อมั่นนักว่าจะทำเงินได้กับการหวนนึกถึงอดีตคนเจน X
ความเป็นไปได้หลังจากนี้
แฟรนไชส์ ‘Indiana Jones’ ก็อยู่ในสถานะเดียวกับแฟรนไชส์อื่น ๆ ในฮอลลีวูด ที่ไม่เคยจบสิ้นจริง ๆ ต่างก็ต้องเจอกับกระบวนการ รีบูต พรีเควล ซีเควล และรูปแบบอื่น ๆ อยู่เสมอ แต่สำหรับแฟรนไชส์นี้ ดูจะเป็นโจทย์ที่ยากกว่าแฟรนไชส์อื่นตรงที่ว่า แฟรนไชส์ที่ชื่อ ‘Indiana Jones’ แต่จากนี้ไปจะไม่มีตัวละครที่ชื่อ อินเดียนา โจนส์
หากจะมีการรีบูต ก็ต้องทำให้ได้เหมือน James Bond ด้วยความหวังที่ว่าน่าจะมีผู้ชมที่ชื่นชอบในตัวละคร อินเดียนา โจนส์ ชอบบรรยากาศในการผจญภัย ไขปริศนา ล่าสมบัติ และอยากจะเห็นการผจญภัยครั้งต่อไป โดยที่ไม่ได้ยึดติดกับตัว แฮร์ริสัน ฟอร์ด แต่อย่าลืมว่า ลูคัส ฟิล์ม เองก็มีบทเรียนความผิดพลาดใกล้ตัวมาแล้ว และเป็นหนัง แฮร์ริสัน ฟอร์ด เหมือนกันด้วย กับการที่จะฟื้นคืนชีพตัวละคร ฮาน โซโล ใน ‘Solo: A Star Wars Story’ และกลายเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกในจักรวาล ‘Star Wars’ ที่ล้มเหลวทางด้านรายได้ และเป็นข้อยืนยันว่า แม้ว่า ฮาน โซโล จะเป็นอีกหนึ่งตัวละครที่คนทั่วโลกชื่นชอบ แต่ถ้าตัวละครนี้ไม่ได้ปรากฎตัวในภาพลักษณ์ของ แฮร์ริสัน ฟอร์ด พวกเขาก็ไม่สนใจหนังเรื่องนี้เหมือนกัน
แต่ตัวอย่างทีประสบความสำเร็จก็มี อย่างเช่นแฟรนไชส์ ‘rocky’ ที่ส่งต่อบทบาทนำจากตัวละครลักไปให้ตัวละครอื่นได้สำเร็จ ร็อคกี้ บัลโบ บทบาทของ ซิลเวสเตอร์ สตอลโลน ทำหน้าที่ส่งต่อเรื่องราวให้กับ อโดนิส ครีด บทบาทของ ไมเคิล บี.จอร์แดน ที่สตอลโลนก็มาปรากฎตัวใน 2 ภาคแรก และใน ‘Creed III’ ก็เป็นภาคที่พิสูจน์ตัวเองว่า แฟรนไชส์สามารถก้าวต่อได้ด้วยตัวเอง และเป็นภาคแกรที่ไม่มี ร็อคกี้ บัลโล มาปรากฎตัว แต่ก็สามารถทำเงินได้ดี หรืออย่างใน ‘Star Trek’ ที่คนรุ่นเก่าจดจำตัวละครหลัก ๆ อย่าง กัปตันเคิร์ก และ สป็อค ได้ดี แต่แล้วเขาก็สามารถส่งไม้ต่อให้กับทีมใหม่ได้สำเร็จ จนทุกวันนี้แฟรนไชส์ก็สามารถเดินหน้าได้ด้วยตัวละครชุดใหม่ทั้งหมด
พวกเขายังสามารถมอบแฟรนไชส์ให้กับตัวละครอื่นได้อีกด้วย แฟรนไชส์ Rocky ดูเหมือนจะไม่สามารถสร้างตัวละครนำในบทบาทนำได้ แต่กระบองได้ส่งต่อไปยังแฟรนไชส์ Creed ตอนนี้มันยืนได้ด้วยตัวเองแล้ว Creed III ซึ่งเป็นภาคแรกที่ไม่มีตัวละคร Rocky Balboa ทำได้ดีในบ็อกซ์ออฟฟิศ จนถึงจุดหนึ่ง Star Trek เป็นเพียงเคิร์กและสป็อคก่อนที่พวกเขาจะโยนลูกเต๋าไปที่ตัวละครใหม่ และตอนนี้มันเป็นแฟรนไชส์ทั้งหมด
มีตัวละครไหนบ้าง ที่น่าจะสานต่อแฟรนไชส์ได้ ?
‘ชอร์ตราวนด์’ (Short Round) อีกหนึ่งตัวละครที่เป็นที่รักของผู้ชม ที่รับบทโดย “คี ฮุย ควน” (Ke Huy Quan) ที่เพิ่งกลับมาเป็นที่พูดถึงอีกครั้งในปีที่ผ่านมา กับการประสบความสำเร็จในภาพยนตร์ ‘Everything Everywhere All at Once’ ก็นับว่าเป็นโอกาสอันดีที่ลูคัส ฟิล์ม จะคว้าโอกาสอันนี้ไว้ ซึ่งตัวควนเองก็เอ่ยปากว่ายินดีที่จะได้กลับมารับบทเป็น ชอร์ตราวนด์ อีกครั้งด้วย ก็เป็นไปได้ที่จะเขียนเรื่องราวให้ผู้ชมได้ร่วมผจญภัยไปกับเขา
‘เฮเลนา ชอว์’ ตัวละครใหม่ที่เพิ่งแนะนำตัวมาใน ‘Indiana Jones and the Dial of Destiny’ซึ่งเนื้อหาในภาคล่าสุดนี้ก็ดูเหมือนจะเป็นการปูทางกลาย ๆ ไว้ให้กับเธอ ในกรณีที่หนังประสบความสำเร็จ มีเรื่องราวของเธอที่น่าขยายต่อได้กับการผจญภัยของเธอในยุค 70’s – 80’s ซึ่งเธอน่าจะสานต่อตำนานและภารกิจของ อินเดียนา โจนส์ ได้ดี ตัวละครชอว์ยังทำหน้าที่เป็นช่องทางให้ตัวละครอื่น ๆ ในแฟรนไชส์กลับมาในบทรับเชิญได้อีกด้วย อย่างเช่น จอห์น รีส-เดวีส์ หรือ แมเรียน ราเวนวูด
หรือไม่ก็หยิบเอาบรรดาตัวละครเพื่อน ๆ ของ อินเดียนา โจนส์ มาขยายความ อย่างเช่น แอบเนอร์ ราเวนวูด, แฮโรลด์ อ็อกซ์ลีย์, เบซิล ชอว์ และ เรนัลโด ที่อาจพัฒนาไปเป็นหนังภาคแยกหรือทีวีซีรีส์ก็ได้ ซึ่งเห็นได้ว่ามีทางเลือกอีกมาก ถ้าดิสนีย์ยังตัดสินใจที่จะเดินหน้าต่อกับแฟรนไชส์ การเดินหน้าต่อกับตัวละครย่อยเหล่านี้ อาจจะยากในช่วงเริ่มต้นที่คนดูต้องทำความคุ้นเคยกับตัวละคร โดยที่ไม่มี แฮร์ริสัน ฟอร์ด แต่ก็น่าจะเรียกความสนใจจากบรรดาแฟน ๆ ตัวยงได้ไม่ยาก และจากนั้นก็อยู่ที่ความสามารถในการเล่าเรื่องของทีมผู้สร้างแล้วล่ะ
ที่มา : movieweb thenumbers wikipedia