ยิ่งใหญ่อลังการ!! ภาพยนตร์ซีรีส์ ศรีอโยธยา ขนทัพนักแสดงร่วมพิธีการบวงสรวงองค์พระมหาบูรพกษัตราธิราชเจ้า แห่งราชอาณาจักรศรีอยุธยา
บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดย คุณพีรธน เกษมศรี ณ อยุธยา หัวหน้าคณะผู้บริหารด้
ซึ่งได้รับเกียรติจาก “ม.ล.พันธุ์เทวนพ เทวกุล” หรือ “หม่อมน้อย” ผู้กำกับภาพยนตร์ชั้นครู เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ และสร้างบทภาพยนตร์ เพื่อรังสรรค์เป็นผลงานอันประณี
พิธีเปิดตัวอย่างอลังการด้
ร่วมด้วยนักแสดงมากมาย อาทิ อนันดา เอเวอริงแฮม, เขมนิจ จามิกรณ์, สินจัย เปล่งพานิช, พิมดาว พานิชสมัย, ม.ล.สราลี กิติยากร, อาณัติพล ศิริชุมแสง, รฐา โพธิ์งาม, ปิยะ เศวตพิกุล, จิรวิชญ์ พงษ์ไพจิตร, เพ็ญเพ็ชร เพ็ญกุล, รัดเกล้า อามาระดิษ, นพชัย ชัยนาม, ทองภูมิ สิริพิพัฒน์ ฯลฯ
จากนั้นท่านพระมหาราชครูพิ
ภาพยนตร์ซีรีส์อิงประวัติ
ภาพยนตร์ซีรี่ย์อิงประวัติศาสตร์ เรื่อง “ศรีอโยธยา” นี้ ได้ถูกรังสรรค์ขึ้น โดยกลุ่มทรู และหม่อมหลวงพันธ์เทวนพ เทวกุล เพื่อทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเป็นเครื่องสักการะบูชา และเทิดพระเกียรติยศในองค์พระมหาบูรพกษัตราธิราชเจ้าแห่งแผ่นดินสยามและเฉลิมพระเกียรติองค์สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ ปีที่ 90 ที่จะเวียนมาถึงในวันที่ 5 ธันวาคม ศกนี้
“ศรีอโยธยา” นี้ จะดำเนินเรื่องผ่านรัชสมัยแห่งองค์พระบูรพกษัตราธิราชเจ้า ในพระราชวงศ์บ้านพลูหลวงอันเป็นราชวงศ์สุดท้ายแห่งราชอาณาจักร และเชื่อมต่อสู่แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จนถึงต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช องค์พระปฐมบรมกษัตราธิราชเจ้าแห่งราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์ ซึ่งทั้ง 2 พระองค์ทรงมีพระราชสมภพในแผ่นดินศรีอยุธยา ทั้งยังทรงเป็นขุนนางที่รับใช้ใกล้ชิดเบื้องยุคลบาทถึง 3 แผ่นดินสุดท้ายแห่งราชวงศ์ “บ้านพลูหลวง”
องค์พระปฐมบรมกษัตราธิราชเจ้าแห่งราชวงศ์ “บ้านพลูหลวง” “สมเด็จพระมหาบุรุษวิสุทธิเดชอุดม” หรือ “สมเด็จพระเพทราชา” ทรงเป็นพระมหากษัตราธิราชเจ้าพระองค์ที่ 28 แห่งราชอาณาจักรศรีอยุธยา ทรงครองราชสมบัติระหว่าง พุทธศักราช 2231 ถึง พุทธศักราช 2246 เมื่อปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชครั้งที่ทรงดำรงตำแหน่ง “ผู้สำเร็จราชการในพระองค์” นั้น ได้ทรงปราบกบฎ“เจ้าพระยาวิชาเยนทร์”และทรงขับไล่กองทหารฝรั่งเศสที่หมายจะล้มพระราชบัลลังก์ ออกจากแผ่นดินสยามได้อย่างราบคาบ ผู้ที่ได้รับเกียรติสวมบทบาทเป็น “พระบาทสมเด็จพระเพทราชา” คือ หม่อมราชวงศ์ มงคลชาย ยุคล
“สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 ” หรือ “สมเด็จพระสุริเยนทราธิบดี” หรือที่ราษฎรในรัชสมัยของพระองค์ขานพระนามว่า “พระเจ้าเสือ” ทรงเป็นพระมหากษัตราธิราชเจ้าพระองค์ที่ 29 แห่งราชอาณาจักรศรีอยุธยา ทรงครองราชสมบัติระหว่างพุทธศักราช 2246 – พุทธศักราช 2251 ในแผ่นดินของพระองค์นั้น บ้านเมืองราบคาบอยู่เย็นเป็นสุข ปราศจากภัยสงครามรวมทั้งกบฎและโจรผู้ร้าย เนื่องด้วยทรงมีพระบรมบุญญาธิการ เหนือมนุษย์ปุถุชน และทรงมีพระอุปนิสัยเด็ดเดี่ยว และทรงเคร่งครัดในการปกครองอย่างเที่ยงธรรม ผู้รับเกียรติสวมบทบาท พระเจ้าเสือ คือ เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์
“สมเด็จพระภูมินทรมหาราชาบรมโกศ”หรือ “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ”ทรงเป็น
พระมหากษัตราธิราชเจ้าพระองค์ที่31แห่งราชอาณาจักรศรีอยุธยา ทรงครองราชสมบัติระหว่างพุทธศักราช 2275 จนถึงพุทธศักราช 2301
ในรัชสมัยของพระองค์นั้นได้ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองและพระบวรศาสนา รวมทั้งศิลปวัฒนธรรมในทุกแขนงจนอาจกล่าวได้ว่าเป็นยุคที่พระนครศรีอยุธยารุ่งเรืองอย่างสูงสุดในทุกๆด้านจนเป็น“ต้นแบบ”แห่งขนบธรรมเนียมประเพณีในราชสำนักรัตนโกสินทร์ตอนต้น และในราชสำนักของพระองค์นั้นปรากฏขุนนางคนสำคัญแห่งแผ่นดินในเวลาต่อมาหลายท่านโดยเฉพาะอย่างยิ่ง“สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” และ“พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช” และผู้ที่รับเกียรติเป็นพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ คือ ศรัณยู วงษ์กระจ่าง
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงมีพระราชโอรสพระองค์ใหญ่อันประสูติแต่ “กรมหลวงอภัยนุชิต” พระอัครมเหสีทรงพระนามว่า “เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศไชยเชษฐ์สุริยวงศ์”หรือ“กรมขุนเสนาพิทักษ์”หรือที่รู้จักพระนามโดยทั่วไปว่า“เจ้าฟ้ากุ้ง”ทรงเป็น “กรมพระราชวังบวรสถาณมงคล”หรือ “องค์รัชทายาทในแผ่นดิน”ที่ทรงมีพระปรีชาสามารถในหลายด้าน พระองค์ทรงปฏิสังขรณ์วัดพระศรีสรรเพชญ์และพระอารามอื่นๆอีกมากมายและทรงควบคุมงานต่อพระเศียรพระมหามงคลบพิตรรวมทั้งทรงอำนวยการซ่อมพระที่นั่งวิหารสมเด็จในพระบรมมหาราชวัง
ส่วนทางด้านวรรณกรรมนั้น ทรงเป็นพระอัครมหากวีที่มีบทพระราชนิพนธ์เป็นอมตะและทรงคุณค่าทางวรรณศิลป์จวบจนปัจจุบัน อาทิ เช่น นันโทปนันทสูตรคำหลวง , พระมาลัยคำหลวง , กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง, กาพย์เห่เรือเรื่อง กากีเป็นต้น ผู้รับเกียรติสวมบทบาท “เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศ” คือ ปกรณ์ ลัม
เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศฯทรงมีพระราชมารดา ทรงพระนามว่า “กรมหลวงอภัยนุชิต”หรือ ที่ทรงได้รับการขานพระนามในแผ่นดิน “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอุทุมพร”ว่า “สมเด็จพระพันวัสสาใหญ่”
“กรมหลวงอภัยนุชิต”ทรงเป็นพระธิดาใน “กรมพระราชวังบวรบพิตรพิมุข”หรือ “กรมพระราชวังหลัง”ในรัชสมัย “สมเด็จพระเพทราชา” ซึ่งในแผ่นดิน “สมเด็จพระนารายณ์”นั้น พระบิดาได้รับราชการเป็น “หลวงคชบาทขวา”ประจำช้างทรงองค์สมเด็จพระนารายณ์ และได้เป็นกำลังสำคัญแก่ “สมเด็จพระเพทราชา”ปราบกบฎ เจ้าพระยาวิชาเยนทร์และขับไล่กองทหารฝรั่งเศสออกจากพระราชอาณาจักร
และเมื่อ“สมเด็จพระเพทราชา”เสด็จขึ้นครองราชสมบัติในพุทธศักราช 2331และสถาปณาราชวงค์บ้านพลูหลวง จึงมีพระบรมราชโองการณ์ แต่งตั้ง “หลวงคชบาทขวา”ซึ่งมีตำแหน่งเป็น “พระบำเรอภูธร”ในสมัยนั้นขึ้นทรงดำรงตำแหน่งเป็น“กรมพระราชวังหลัง”ผู้ที่ได้รับเกียรติสวมบทบาทเป็น กรมหลวงอภัยนุชิต คือ ม.ล.สราลี กิติยากร
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงมีพระราชโอรสจากพระสนม 4 พระองค์ที่มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ปลายรัชสมัยของพระองค์อันได้แก่
กรมหมื่นเทพพิพิธ สวมบทบาทโดย อภิสร สุขวัฒนาศัย
กรมหมื่นจิตสุนทร สวมบทบาทโดย วิวิศน์ บวรกีรติขจร
กรมหมื่นสุนทรเทพ สวมบทบาทโดย สรวิศ บุญมาก
กรมหมื่นเสพภักดี สวมบทบาทโดย ภัทรพงษ์เวศกามี
“สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4” หรือ “สมเด็จพระอุทุมพรมหาพรพินิต” หรือ“สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร” ทรงเป็นพระมหากษัตราธิราชเจ้าพระองค์ที่ 32 แห่งราชอาณาจักรศรีอยุธยา เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อพุทธศักราช 2301และทรงสละราชสมบัติถวายแด่ “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเอกทัศ”องค์พระบรมเชษฐาธิราชเจ้า เพื่อเสด็จออกทรงผนวชสู่เพศบรรพชิด
“สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอุทุมพร”ทรงเป็นพระราชโอรสองค์เล็กในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ และ กรมหลวงพิพิธมนตรีทรงมีพระนามเดิมว่า กรมขุนพรพินิต ทรงสนพระทัยในวิทยาการทุกแขนง ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ สมเด็จพระราชบิดาจึงพระราชทาน “พระตำหนักสวนกระต่าย”ให้เป็นที่ประทับอันเป็นสถานที่เก็บรักษาตำราวิชาการที่ทรงสนพระทัยผู้ที่ได้รับเกียรติสวมบทบาทเป็น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอุทุมพร คือ เพ็ญเพ็ชร เพ็ญกุล
“สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์” หรือ“สมเด็จพระบรมราชาที่ 3” หรือ “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเอกทัศ” ทรงเป็นพระมหากษัตราธิราชเจ้าพระองค์ที่ 33 หรือ องค์ปัจฉิมบรมกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรศรีอยุธยา เสร็จครองราชสมบัติระหว่างพุทธศักราช 2301 ถึง พุทธศักราช 2310 ทรงเป็นพระเชษฐาร่วมพระราชมารดาใน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอุทุมพร ประสูติแต่ กรมหลวงพิพิธมนตรี รัชสมัยของพระองค์นั้น กรุงศรีอยธยาเจริญทางการค้าขายกับต่างชาติอย่างรุ่งเรืองที่สุดจนอาจกล่าวได้ว่า เป็นสังคมเมืองท่านานาชาติ ทำให้ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินมีชิวิตอยู่กันอย่างสุขสำราญทุกหย่อมหญ้าอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน
ส่วนองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเอกทัศ นั้น พระองค์ทรงพระมหากรุณาธิคุณแก่อาณาประชาราชฏร์ และทรงแผ่พระเมตตาไปทั่วสรรพสัตว์ทั้งปวง ทั้งยังทรงตั้งอยู่ในธรรมสุจริตพระบาททรงจงกรมอยู่เป็นนิจ และทรงตั้งอยู่ในทศพิตราชธรรม จนสมณชีพราหมณ์และพสกนิกรต่างชื่นชมยินดี ในพระบรมบารมีที่ต่างอยู่เย็นเป็นสุข ทั่วทั้งแผ่นดิน ผู้รับเกียรติสวมบทบาทเป็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเอกทัศ คือ นพชัย ชัยนาม
“กรมหลวงพิพิธมนตรี” หรือ “สมเด็จพระพันวัสสาน้อย” พระอัครมเหสีในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงเป็นพระขนิษฐาใน “กรมหลวงอภัยนุชิต” หรือ “สมเด็จพระพันวัสสาใหญ่” และทรงมีพระพี่นางอีก 2 พระองค์ คือ พระองค์เจ้ารัตนาพระสนมเอกใน “พระเจ้าเสือ” และ พระองค์เจ้าเอี้ยงพระชายาใน “สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ” องค์พระมหากษัตราธิราชเจ้าองค์ที่ 30 แห่งราชอาณาจักรศรีอยุธยา
กรมหลวงพิพิธมนตรี ทรงเป็นพระราชมารดาใน “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอุทุมพร” และ “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเอกทัศ” และในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเอกทัศทรงได้รับการสถาปณาเป็น “สมเด็จพระพันปีหลวงกรมพระเทพามาตย์” ผู้ที่ได้รับเกียรติสวมบทบาทเป็น กรมหลวงพิพิธมนตรี คือ สินจัย เปล่งพานิช
“เจ้าฟ้าสุทัศขัติยราชกุมาร”ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์เดียวใน“สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเอกทัศ” ประสูติแต่กรมหมื่นพิมลภักดีพระอัครมเหสี ทรงเป็นสมเด็จกรมพระราชวังบวรสถานมงคลองค์รัชทายาทพระองค์สุดท้ายแห่งราชอาณาจักรศรีอยุธยา ผู้ที่ได้รับเกียรติ สวมบทบาทเป็น เจ้าฟ้าสุทัศขัติยราชกุมาร คือ จิรวิชญ์ พงษ์ไพจิตร และ ด.ช. รภัสสิทธ์ สุวิวัฒน์ชัย
“กรมหมื่นพิมลภักดี” พระอัครมเหสีใน “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเอกทัศ” ทรงเป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศประสูติแต่พระสนม ทรงมีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าหญิงเมาฬีผู้ที่ได้รับเกียรติ สวมบทบาทเป็น “กรมหมื่นพิมลภักดี” คือ รัดเกล้า อามาระดิษ
“เจ้าฟ้ารุจจาเทวี” ทรงเป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ใน “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเอกทัศ” ประสูติแต่กรมหมื่นพิมลภักดี พระอัครมเหสี ผู้ที่ได้รับเกียรติสวมบทบาทเป็น เจ้าฟ้ารุจจาเทวี คือ พิมดาว พานิชสมัย และ ด.ญ. ณัฐดา รัตนภิรมย์
“สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี” หรือ “สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” มีพระนามเดิมว่า “สิน” พระราชบิดาเป็นชาวจีนแต้จิ๋วมีพระนามว่า หยง แซ่แต้พระมารดาเป็นสตรีไทยพระนามว่า นกเอี้ยง ประสูติ ณ ชุมชนจีนในพระนครศรีอยุธยา เมื่อทรงพระเยาว์ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กห้องพระบรรทม ใน “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ” พร้อมกับ “คุณทองด้วง” บุตรชาย “พระอักษรสุทรศาสตร์” และ “คุณบุนนาค” บุตรชายพระยาจ่าแสนยากร หรือ ท่าน เสน เฉกอะหมัดรับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทถึง 3 แผ่นดิน จนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “หลวงยกบัตรเมืองตาก” และ “พระยาตาก” ในแผ่นดิน “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเอกทัศ”ตราบจนสิ้นรัชกาล ผู้ที่ได้รับเกียรติสวมบทบาทเป็น สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช คือ ศรราม เทพพิทักษ์
“พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช” มีพระนามเดิมว่า “ทองด้วง” ทรงเป็นบุตรชาย “พระอักษรสุนทรศาสตร์” ขุนนางในราชสำนัก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเมื่อทรงพระเยาว์พระราชบิดาได้ถวายตัว “ด.ช.ทองด้วง” เป็นมหาดเล็กห้องพระบรรทม พร้อมกับ ด.ช.สิน และ ด.ช.บุนนาค ทำให้ทั้ง 3 ท่าน เป็นสหายสนิทและรับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทจนเจริญวัยถึง 3 รัชกาล และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “หลวงยกบัตรเมืองราชบุรี” ในแผ่นดิน “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเอกทัศ” ตราบจนสิ้นรัชกาลเช่นเดียวกับ “องค์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี” และผู้ที่ได้รับเกียรติสวมบทบาทเป็น “พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช” คือ ธีรภัทร์ สัจจกุล
เขมนิจ จามิกรณ์ รับบทเป็น บุษบาบรรณ์
รฐา โพธิ์งาม รับบทเป็น เจ้าจอมราตรี
อนันดา เอเวอริ่งแฮม รับบทเป็น พระพิมานสถานมงคล
อาณัตพล ศิริชุมแสง รับบทเป็น หลวงไกรชาญฤทธิ์
นิภาภรณ์ ฐิติธนการ รับบทเป็น เจ้าจอมแข
ภาวิดา มอริจจิ รับบทเป็น ทองประศรี
ทองภูมิ สิริพิพัฒน์ รับบทเป็น นายเชิด
อรุณพงศ์ ชัยวินิตย์ รับบทเป็น มหาดเล็กในเจ้าฟ้าสุทัศน์ขั
พรเลิศ พิพัฒน์รุ่งเรือง รับบทเป็น นายชอบ
ขอบคุณภาพจาก https://www.facebook.com/TrueLakorn
ติดตาม Dara.trueid.net ได้อีกช่องทางที่อัพเดทชีวิตคนดัง ครบครันเรื่องบันเทิง เพลิดเพลินไปกับบทละคร
https://www.facebook.com/IntrendBunTueng/
หรือทาง trueid Application
ระบบ IOS คลิก https://goo.gl/SlVJQQ
ระบบ Android คลิก https://goo.gl/BoFzHi