เนื่องในโอกาสที่ 4 KING หนังไทยแนวนีโอ-นัวร์ (Neo-Noir) ดรามา อาชญากรรม ที่สะท้อนปัญหาความรุนแรงของนักเรียนอาชีวะ ในช่วงยุค 90 ลงสตรีมมิ่งใน Netflix แล้วทั้งสองภาค ผู้เขียนจึงขอรีวิวในส่วนของภาคแรกก่อน พร้อมแล้วไปติดตาม+ทบทวนความหลังกันค่ะ ชื่อเรื่อง : 4 KINGS อาชีวะ ยุค 90 ผลงานภาพยนตร์เรื่องแรกของค่ายเนรมิตหนังฟิล์มบทภาพยนตร์และกำกับการแสดงโดย พุฒิพงศ์ นาคทองเข้าฉายในโรงภาพยนตร์เมื่อ 9 ธันวาคม 2564ความยาว 139 นาทีหมายเหตุ : เนื้อหามีการเปิดเผยเนื้อเรื่อง เรื่องย่อhttps://www.youtube.com/watch?v=uxUNB0F4vD8"บิลลี่ อินทร" ศิษย์เก่าอาชีวะ ปัจจุบันผันตัวเป็นหนุ่มใหญ่ทำอาชีพผู้รับเหมาก่อสร้างและเป็นพ่อเลี้ยงเดี่ยวของ "แอม" ลูกสาววัยรุ่น ที่ไม่เข้าใจและไม่ชอบที่พ่อของเธอมีสภาพแบบนี้ วันหนึ่งทั้งสองทะเลาะกันกลางแยกไฟแดง แอมได้ลงจากรถ แล้วดันเป็นจังหวะนรก เด็กช่างยกพวกตีกันพอดี แอมถูกลูกลงได้รับบาดเจ็บสาหัสเหตุการณ์เลวร้ายครั้งนี้ทำให้ บิลลี่ ได้พบกับ "สุวิชา" ครูประจำชั้นของแอม ซึ่งในอดีตเขาคือ "มด ประชาชล" นักเรียนอาชีวะต่างสถาบันและเคยเป็นอริกันมาก่อนการถูกลูกหลงของแอม ทำให้บิลลี่ได้มองย้อนกลับไปสมัยตนยังเรียนอาชีวะ เมื่อปี 2538 โดย 4 KINGS หมายถึง 4 สถาบันโรงเเรียนอาชีวะ ที่นักเรียนมักจะยกพวกตีกัน เพียงเพราะเป็นเด็กช่างและต่างสถาบัน นักแสดงนำเป้-อารักษ์ อมรศุภศิริ รับบทเป็น "ดา อินทร" เพื่อนของสนิทของบิลลี่ กินนอนมาด้วยกัน ดา ทำ อุ๊ แฟนสาวลูกนายตำรวจท้อง ทำให้เขาต้องพยายามทำทุกทางเพื่อรักษาลูกเอาไว้ แม่รู้ว่าอย่างไรเสียพ่อตา ก็ไม่มีวันยอมรับเด็กเลวและไม่มีอนาคตอย่างเขาในขณะที่ ดา ควรจะคิดได้และเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น แต่เขากลับโฟกัสที่เพื่อนและสถาบันมากเกินไป จ๋าย ไททศมิตร หรือ อิชณน์กร พึ่งเกียรติรัศมี รับบทเป็น "บิลลี่ อินทร" เขาโตมากับแม่และพ่อเลี้ยง มีปมจากปัญหาครอบครัว ถูกพ่อเลี้ยงด่าทอทุบตี ซ้ำแม่ก็ยังช่วยอะไรไม่ได้ ทำให้ใจของเขาไปผูกติดอยู่กับเพื่อนและสถาบันบทนี้เป็นการแสดงหนังครั้งแรกของนักร้องหนุ่ม แต่เขาทำได้ดีมาก แยกคาแรคเตอร์ได้ชัดเจน พาร์ทหนุ่มก็เป็นเด็กมีปัญหาครอบครัวคนหนึ่ง ส่วนพาร์ทวัยกลางคน ก็สวมบทพ่อได้ดี แม้ลุคจะดูไม่เปลี่ยนจากตอนเรียนอาชีวะ แต่การแสดงของเขาทำให้เราแยกออกได้ ดูเป็นพ่อที่ทำทุกวิธีแต่ก็เอาชนะใจลูกไม่ได้สักที รวมทั้งการเล่นเป็นคนที่จมอยู่กับอดีต ก็ทำได้ดีค่ะไม่แปลกใจที่รางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม สาขาภาพยนตร์ประจำปี 2564 จะเป็นของเขาทุกรางวัล เสียน้ำตาตามหลากฉากเลยค่ะ ภูมิ รังษีธนานนท์ รับบทเป็น "รูแปง อินทร" เพื่อนสนิทของดาและบิลลี่ นิสัยของรูแปง คือ รักสนุก รักเพื่อน ตลก ชอบเสียงดนตรี แม้เขาจะดูเป็นนักเลง แต่ก็มีมุมโดนแกงอยู่บ้าง ณัฏฐ์ กิจจริต รับบทเป็น " โอ๋ ประชาชล" จากคู่อริต่างสถาบัน ที่ดันถูกจับเข้าบ้านเมตตา จนกลายมาเป็นเพื่อนของบิลลี่ เมื่อพ้นโทษออกมา แล้วต้องมาเผชิญหน้ากัน ตัวละครนี้ต้องกล้ำกลืนฝืนทน เพราะสำหรับเขาเรื่องเพื่อนและสถาบัน มีความสำคัญเท่า ๆ กัน ณัฏฐ์ แสดงอินเนอร์ผ่านสีหน้าและแววตาได้ดี เราชอบฉากหน้าบ้านอุ๊ กับ ฉากร้านจิ้มจุ่มบทบาทนี้ทำให้เขาได้รับรางวัลนักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม ประจำปี 2564 ไปหลายสถาบัน ทู-สิราษฎร์ อินทรโชติ รับบทเป็น "เอก บุรณพนธ์" นักเรียนอาชีวะ ที่ถูกจับเข้าบ้านเมตตาพร้อมกับบิลลี่และโอ๋ ทั้งสามกลายมาเป็นเพื่อนกันในเวลาต่อมา หลังการเข้าเยี่ยมของแม่และเห็นน้ำตาของแม่ ทำให้เอกเริ่มคิดได้ และมีใจอยากทำตัวให้ดีขึ้นตัวละครนี้เราชอบการแสดงของเขาในฉากเห็นน้ำตาของแม่และฉากแอบร้องไห้ในห้องน้ำ บิ๊ก D Gerrard รับบทเป็น "ยาท เด็กบ้าน" ตัวละครนี้ไม่ได้เรียนหนังสือ และไม่ได้เรียนอาชีวะ แต่ก็มาร่วมวงตีรันฟันแทงกับเขาด้วยสโลแกนของตัวละครนี้คือ พวกเด็กช่างระวังไว้ให้ดี เพราะยาทจ้องจะเล่นพวกคุณ! และ สุกัญญา มิเกล รับบทเป็น "แม่ดา อินทร" แม่เลี้ยงเดี่ยว เลี้ยงลูกมาด้วยความรัก ความเข้าใจ และการให้อิสระ ตัวละครนี้คือแสงสว่าง เซฟโซน ไม่กี่ที่ ท่ามกลางบรรยากาศแห่งสงคราม ความรุนแรงภายในเรื่อง นอกจากจะเซฟ ดา แล้ว แม่ยังเผื่อแผ่ไปถึงเพื่อนของลูกด้วย ใครเคยไปกินนอนบ้านเพื่อน และเจอแม่เพื่อนเอ็นดู จะต้องอินตามบทนี้แน่นอนค่ะพาร์ทดรามาก็พาเราสะเทือนอารมณ์ตาม เล่นธรรมชาติ ไม่แปลกที่ในปีนั้นจะขับเคี่ยวกับป้านิ่ม จาก ร่างทรง ในการชิงรางวัลนักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม และพี่มิเกล ก็ได้รับมาหลายรางวัลค่ะ ภาพรวมของหนังบทภาพยนตร์ นำเสนอปัญหาการใช้ความรุนแรงของเด็กอาชีวะว่าสามารถส่งผลกระทบอย่างไรกับชีวิตของตัวเองและครอบครัวบ้าง ประเด็นนี้ถือว่าสะท้อนได้ดี มืดดำ จริงแท้ แน่นอน ทุกความรุนแรงย่อมมีผลสืบเนื่องถึงปัจจุบันและอนาคตการเล่าเรื่อง ทำได้ดี มีความต่อเนื่อง งานภาพหม่น ดาร์กได้ใจ องค์ประกอบศิลป์ดูแล้วเชื่อว่าย้อนยุคค่ะ งานคอนเสิร์ตวง หิน เหล็ก ไฟ ทำได้โอเคเพลงประกอบ ชอบเพลงที่จ๋ายร้องมาก ๆ เห็นถึงแก่นแท้ของคำว่าเพื่อน แม้มิตรภาพจะเกิดขึ้นท่ามกลางปัญหาขัดแย้ง ความรุนแรง แต่ถ้าใจเรามีศรัทธาในความรัก มิตรภาพย่อมเกิดขึ้นได้เป็นหนังที่สะท้อนปัญหาความรุนแรงของนักเรียนอาชีวะ มิตรภาพ และครอบครัวได้ดีเลยค่ะ ทีมนักแสดงรับผิดชอบบทของตัวเองได้ดี ส่งบทให้กันถึงแบบใจถึงอารมณ์ ผู้เขียนดูเรื่องนี้ เสียน้ำตาให้ทั้งสองรอบเลยค่ะ ให้คะแนนภาพรวมหนังภาคแรก : 9/10 คะแนน เครดิตภาพหน้าปกออกแบบใน canvaภาพพื้นหลังหน้าปก 4kings อาชีวะ ยุค 90 : ภาพที่ 1ภาพประกอบหน้าปก 4kings อาชีวะ ยุค 90 : ภาพที่ 1ภาพประกอบเนื้อหา 4kings อาชีวะ ยุค 90 : ภาพที่ 1 / 2 / 3 / 4 / 5 / 6 / 7 / ลิงก์คลิปวิดีโอประกอบเนื้อหา 4kings Official : คลิปที่ 1 จะฟังเพลงหรือดูหนัง ซีรีส์ใหม่สุดปัง โหลดเลยที่ App TrueID โหลดฟรี !