ทวีปแอฟริกา...ผมเชื่อว่าเมื่อพูดถึงทวีปนี้แล้ว คงไม่มีใครนึกถึงภาพยนตร์แน่ๆ ล่ะ ก็คงไม่แปลกหรอกครับ เพราะอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในทวีปแอฟริกาก็ไม่ได้แข็งแรงพอที่จะไปสู้กับชาติอื่นๆ ได้ เนื่องปัญหาในหลายๆ ด้ายครับ ในบทความนี้ผมจะมาเล่าให้อ่านเกี่ยวกับประวัติศาสตร์วงการภาพยนตร์ที่น่าสนใจไม่พอทวีปอื่นๆ แน่นอนCetshwayo กษัตริย์แห่งซูลูภายใต้การดูแลของอังกฤษในอัฟริกาใต้ ปี 1879. ภาพจาก Photos.com/Thinkstockย้อนกลับไปในยุคล่าอาณานิคม แอฟริกาถือเป็นเหยื่อของการล่าอาณานิคมที่น่าสงสารเลยล่ะครับ เพราะในช่วงที่อยู่ในอาณานิคมพวกเขาโดนเอารัดเอาเปรียบแบบสุดๆ ถูกกระทำถูกเหยียดหยามจากชาวยุโรปราวกับไม่ใช่คนเลยล่ะภาพจาก Reddit โดย u/CHCH5089ในยุคสมัยนั้นแอฟริกาเนี่ยมักจะถูกนำเสนอและถ่ายทอดจากนักทำหนังชาวตะวันตกเท่านั้นครับ พวกชาวตะวันตกมักจะสร้างภาพยนตร์ที่ถ่ายทอดชาวแอฟริกันผิวดำในเชิงของความแปลกประหลาด หรือ ไร้ซึ่งวัฒนธรรม อย่างเช่นเรื่อง Kings of the Cannibal Islands (1909), Voodoo Vengeance (1913), Congorilla (1932)ภาพจากภาพยนตร์เรื่อง Congorilla (1932)ปี 1934 อาณานิคมฝรั่งเศสได้สั่งแบนไม่ให้ชาวแอฟริกาสร้างภาพยนตร์ของตัวเอง การแบนนั้นส่งผลทำให้การเติบโตของภาพยนตร์ที่แสดงออกในเรื่องการเมืองและวัฒนธรรมจากชาวแอฟริกันจริงๆ แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยล่ะครับแต่ถึงอย่างนั้นชาวแอฟริกาก็ยังไม่ยอมแพ้และพยายามสร้างภาพยนตร์ของตัวเองออกมาให้ได้ครับภาพจาก BLACK FILM CENTERในปี 1955 นาย Paulin Soumanou Vieyra ได้สร้างภาพยนตร์ออกมาได้สำเร็จ ชื่อเรื่อง "Afrique-sur-Seine" ซึ่งถือว่าเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่กำกับโดยชาวแอฟริกันผิวดำเลยล่ะครับภาพจากภาพยนตร์เรื่อง Afrique-sur-Seineมันเกิดจากการที่ นาย Vieyra เนี่ยได้มีโอกาสไปเรียนการสร้างภาพยนตร์ ที่สถาบัน IDHEC ที่กรุงปารีสครับ แม้การสร้างภาพยนตร์จะถูกแบนในแอฟริกานะครับ แต่เขาก็ได้รับอนุญาตให้สร้างหนังที่ประเทศฝรั่งเศสได้ครับ เขาจึงได้สร้างหนังเรื่องนี้ออกมาได้ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับความยากลำบากของการเป็นชาวแอฟริกันในประเทศฝรั่งเศส ยุค 50s ก่อนที่แอฟริกาจะเป็นอิสระจากอาณานิคมนะครับก็มีภาพยนตร์ที่ต่อต้านการล่าอาณานิคมถูกสร้างออกมามากมายเหมือนกันนะครับ โดยในปี 1953 ชาวฝรั่งเศษ นาย Chris Marker และ Alain Resnais ได้สร้างภาพยนตร์เรื่อง "Statues Also Die" ขึ้นมาภาพจากภาพยนตร์เรื่อง Statues Also Dieเนื้อหาของหนังเกี่ยวกับการขโมยศิลปะแอฟริกันของชาวยุโรป ซึ่งบางส่วนของหนังเรื่องนี้เนี่ยถูกแบนในฝรั่งเศสถึง 10 ปีเลยล่ะครับนอกจากนั้นก็ยังมีเรื่อง Afrique 50 ครับเนื้อหาเกี่ยวกับการจลาจลต่อต้านอาณานิคมในประเทศ Ivory Coast ครับ ซึ่งถูกสร้างโดยชาวฝรั่งเศษนะครับภาพจาก Senses Of Cinemaชาวฝรั่งเศสอีกหนึ่งคนที่มักจะเป็นคนสร้างภาพยนตร์แอฟริกาก็คือ Jean Rouch เขาสร้างภาพยนตร์สารคดีเกี่ยวกับแอฟริกาออกมาหลายเรื่องเลยล่ะครับ เช่น Jaguar (1955), Les maitres fous (1955), Moi, un noir (1958), La pyramide humaine (1959)ถึงแม้สารคดีของเขาจะไม่ได้แสดงออกว่าต่อต้านการล่าอาณานิคมอย่างชัดเจนนะครับแต่เขาก็เป็นกระบอกเสียงสำคัญที่คอยถ่ายทอดความเป็นอยู่ของชาวแอฟริกันในยุคล่าอาณานิคมครับภาพจาก CNRS NEWS โดย Valerie HerczegJean Rouch ถือเป็นบุคคลสำคัญในการพัฒนาวงการภาพยนตร์แอฟริกันเลยล่ะครับ เพราะเขาคือคนแรกเลยที่นำคนแอฟริกันมาร่วมทำงานด้วยซึ่งบุคคลากรที่ทำงานกับเขาก็มีหลายคนเลยที่ต่อมาได้กลายเป็นนักทำหนังชาวแอฟริกันภาพจากภาพยนตร์ Black Girlปี 1966 ได้มีภาพยนตร์แอฟริกันเรื่องแรกที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลครับ นั่นก็คือเรื่อง "Black Girl" ได้รับรางวัล Prix Jean Vigo ซึ่งเป็นรางวัลของประเทศฝรั่งเศษนะครับ โดยเนื้อหาของหนังเนี่ยเกี่ยวกับความสิ้นหวังของผู้หญิงแอฟริกันที่ต้องทำงานเป็นแม่บ้านในฝรั่งเศส กำกับโดยนาย Ousmane Sembène ครับภาพจาก IMDbเดิมที Sembène เขาเป็นนักเขียนนะครับ เขาได้เข้าสู่วงการภาพยนตร์เพราะอยากจะขยายฐานให้มีคนเห็นผลงานเขามากขึ้นครับภายหลังนะครับเขาถูกยกย่องว่าเป็น "บิดาแห่งวงการภาพยนตร์แอฟริกัน" เลยล่ะครับภาพจาก CINEMA ESCAPISTปี 1969 ณ ประเทศ Burkina Faso ได้มีเทศกาลหนังแอฟริกันที่สำคัญเกิดขึ้นชื่อ FESPACO เทศกาลนี้เนี่ยถูกจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์แอฟริกาทั้งในแง่ของการผลิตและการจัดจำหน่าย โดยที่ FESPACO สลับกันจัดแต่ละปีกับอีกเทศกาลหนึ่ง นั่นก็คือเทศกาลหนัง Carthage ในประเทศ Tunisaภาพจาก x gerard leeปี 1987 ภาพยนตร์เรื่อง Yeelen โดย Souleymane Cissé ผู้กำกับชาว Malian เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่สร้างโดยชาวแอฟริกันผิวดำ แล้วได้รางวัลจากเทศกาลภาพยนตร์ Cannes ของประเทศฝรั่งเศส รางวัลที่ได้คือ Jury Prize และในปีเดียวกันก็ยังได้เข้าชิงในรางวัลปาล์มทองคำอีกด้วยซึ่งเป็นรางวัลสูงสุดของเทศกาล Cannes นั่นเองในยุค 2000s จนถึง 2010s เนื้อหาภาพยนตร์ของแอฟริกายุคนี้เนี่ยมักจะเกี่ยวข้องกับปัญหาสมัยใหม่และปัญหาสากลครับ ธีมหนังที่เกี่ยวกับการอพยพความสัมพันธ์ระหว่างแอฟริกันและยุโรเปี่ยนมักจะถูกใช้บ่อยจนเป็นปกติเลยล่ะครับ เช่น Waiting for Happiness ภาพจากภาพยนตร์เรื่อง Waiting for Happinessเนื้อหาเกี่ยวกับเมือง Mauritanianที่ต้องดิ้นรนจากอิทธิพลของต่างชาติโดยเล่าผ่านมุมมองการเดินทางของผู้ที่เคยอพยพไปยุโรปแล้วกลับมายังบ้านเกิดภาพจาก Wikipedia, the free encyclopediaมีอีกคนหนึ่งที่มักจะใช้ธีมอพยพเป็นประจำ นั่นคือ นาย Mahamat-Saleh Haroun เขาเนี่ยถือเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญเลยล่ะครับที่คอยใช้ภาพยนตร์ในการสำรวจแง่มุมต่างๆ เกี่ยวกับประสบการณ์การอพยพย้ายถิ่นฐานครับ ซึ่งเขาก็คงจะอินเป็นพิเศษล่ะครับเพราะนาย Haroun เขาเกิดที่ประเทศ Chad แล้วเขาก็ย้ายไปอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศสในปี 1999 เขาได้สร้างภาพยนตร์เรื่องแรก ชื่อว่า "Bye Bye Africa" เนื้อหาของหนังเป็นการถ่ายทอดเกี่ยวกับชีวิตของนาย Haroun เองนี่แหละหลังจากนั้นเขาก็ได้ชนะรางวัลผู้กำกับภาพยอดเยี่ยมของ FESPACOจากเรื่อง Abouna ภาพยนตร์เรื่องที่สองเขาครับ และในเรื่องที่สามของเขาเรื่อง Daratt ก็ชนะรางวัล Special Jury Prize ที่เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ Venice ครั้งที่ 63 ครับปี 2010 ภาพยนตร์เรื่อง A Screaming Man ชนะรางวัล Jury Prize ที่เทศกาล Cannes ทำให้นาย Haroun กลายเป็น "ผู้กำกับชาว Chadian คนแรกที่ได้เข้าร่วมและชนะในรางวัลหลักของ Cannes"ปี 2011 เขาได้เป็นสมาชิกกรรมการตัดสินหลักที่เทศกาล Cannesภาพจาก IMDbปี 2013 หนังของเขาเรื่อง Grigris ก็ได้เข้าชิงรางวัลปาล์มทองคำในที่เทศกาล Cannesปี 2014 เขาก็ได้เป็นสมาชิกกรรมการภาพยนตร์และหนังสั้นของเทศกาล Cannesเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในนักทำหนังชาวแอฟริกันที่ได้รับการยอมรับจากสากลมากที่สุดคนหนึ่งเลยล่ะครับภาพจาก Zimbioอย่างไรก็ตามแต่นะครับปัจจุบันอุตสาหกรรมภาพยนตร์แอฟริกันก็ยังไม่ได้เจริญมากด้วยปัญหาต่างๆ โดยรอบ แม้แต่นาย Haroun ก็ได้ออกมาแสดงความกังวลถึงเรื่องการขาดปัจจัยพื้นฐานในการสร้างภาพยนตร์ครับ ซึ่งตามองค์กรศิลปะต่างๆ ก็พยายามจัดหาทรัพยากรและโอกาสให้กับนักทำหนังชาวแอฟริกันมากขึ้นอยู่นะครับก็หวังว่าพวกเขาจะได้มีหนังดีๆ ออกมาสู่สากลมากขึ้นนะครับรับชมในรูปแบบวิดิโออ้างอิง: Wikipedia, the free encyclopedia