แพร เอมเมอรี่ เล่าวัยเด็กเคยถูกอุ้มซื้อไอติมจนรู้สึกเจ็บหว่างขา
แพร เอมเมอรี่ เล่าวัยเด็กเคยถูกอุ้มซื้อไอติมจนรู้สึกเจ็บหว่างขา
แพร เอมเมอรี่ นักแสดงเผยวัยเด็กเคยถูกละเมิดทางเพศ ตอนไปซื้อไอติมแล่วถูกอุ้มจนเจ็บหว่างขา เธอโพสต์ว่า p_emery ร่างกายนี้เป็นของเรา และเราก็มีสิทธิ์ทุกอย่างกับเรามีสิทธิ์ที่จะบอกว่ามัน โอเค หรือไม่โอเค ถ้ามีใครมาก้าวก่ายหรือมายุ่งกับร่างกายของเรา ไม่ว่าจะมาจากความหวังดีหรือไม่ เราก็มีสิทธิ์ที่จะบอกว่ามันไม่โอเค และเราไม่จำเป็นจะที่จะต้องอธิบายเหตุผลด้วยซ้ำว่าทำไมมันไม่
ถ้าเรารู้สึกไม่ดีแต่กว่าที่แพรจะคิดได้แบบนี้ คือตอนที่โตแล้วนะ..เพราะตอนเด็กแพรเคยเป็นเด็กคนหนึ่งที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ...ที่เพิ่งเข้าใจว่ามันคือ sexual harassment ในตอนโต
*ข้อความด้านล่างอาจมีเนื้อหาที่ trigger ความรู้สึกได้สำหรับบางคนได้ ข้ามไปด้านล่างได้เลยนะคะ
แพรเคยเป็นเด็กคนนึงที่ตื่นเต้นเวลารถไอติมผ่านมาหน้าบ้าน แพรจะวิ่งออกไปซื้อไอติมทุกครั้งที่มีรถผ่าน และด้วยความที่เราเป็นเด็กตัวเล็กๆ (ไม่เกิน 10 ขวบ) เราได้แต่กระโดดกับปีนตู้ไอติมเพื่อก้ม
วันนั้นแพรจำได้แค่ว่า คนขายไอติมบอกว่าจะช่วยอุ้มให้เลือกไอติม
แต่แพจำไม่ได้ว่าเขาใช้การอุ้มวิธีไหนที่ทำให้แพรรู้สึกเจ็บที่หว่าง
ขามากๆ เราจำได้ว่าวันนั้นเราใส่กระโปรงแล้วก็วางเราลง แพรจำไม่ได้ด้วยซ้ำว่าวันนั้นได้กินไอติมไหมได้แค่ว่าเจ็บ และไม่เข้าใจว่ามันเกิดอะไร
หลังจากนั้น แพรไม่เคยวิ่งออกไปซื้อไอติมอีก และโตมาเป็นคนที่ไม่ชอบใส่กระโปรง ไม่ชอบถ้ามีใครมาถูกตัวโดยที่เราไม่รู้ตัว และมีความกลัวและระแวงถ้าเจอผู้ชายแปลกหน้าถึงแม้วันนี้จะโตแล้วและเข้าใจว่าเหตุการ์ณบางอย่างในวันนี้ไม่ได้เกี่ยวกับวันนั้น...แต่
มันก็เป็นความรู้สึกแบบอัตโนมัติที่เกิดขึ้นเอง ที่พูดมาทั้งหมด เพราะจากเหตุการณ์ที่เจอนี้ทำให้รู้แจ้งจากใจตัวเองเลยว่า
เด็ก "ไม่รู้" ว่าสิ่งที่เขากำลังเจออยู่มันคืออะไร
เด็ก "ไม่รู้" ว่าอะไรคือความเหมาะสม หรือไม่เหมาะสม
เด็ก "ไม่รู้" ด้วยซ้ำ ว่ามัน โอเค หรือไม่โอเคสำหรับตัวเขาใครบอกหรือสอน แต่ที่เกิดขึ้นแน่นอนคือความรู้สึกบางอย่างที่เด็กคนนั้นไม่เข้าใจในวันนั้น จะส่งผลกับเขามาจนโตไม่ทางใดก็ทางหนึ่งในวันที่เราเป็นผู้ใหญ่ และมีความเข้าใจในโลกมากขึ้น ก็อยากให้เรานึกถึงจิตใจของเด็กให้มากๆเพราะเขากำลังเรียนรู้ ทั้งที่เราตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจมันจะส่งผลอะไรบางอย่างกับเด็กคนนึงได้ทั้งนั้นค่ะ และอย่าเอาบรรทัดฐานของตัวเอง ไปเทียบกับเด็ก ว่าถ้าเราโอเคแบบนี้ เด็กก็ต้องโอเคเหมือนกัน