สวัสดีค่ะ วันนี้เราจะมาแนะนำเทคนิคที่จะช่วยให้คนที่อยากเริ่มต้นในการเต้นและอยากเต้นเป็นแต่ไม่รู้จะเริ่มยังไงดีมาแชร์ให้ได้อ่านกันค่ะ บอกก่อนว่าเทคนิคเหล่านี้เราเคยเอามาใช้กับตัวเองและเอาไปสอนเพื่อนที่ไม่มีพื้นฐานการเต้นเลยให้กลายเป็นคนที่เต้นได้มาแล้ว เลยคิดว่าถ้าเอามาแชร์ให้ทุกได้อ่านคงจะช่วยให้หลายคนเข้าใจและเริ่มต้นฝึกฝนตัวเองได้ถูกจุดมากยิ่งขึ้น ก่อนอื่นอยากให้ทุกคนเตรียมสิ่งสำคัญให้พร้อมกันก่อนเลย คือ ร่างกาย จิตใจ และเสียงดนตรีค่ะ หากพร้อมแล้ว เราไปเริ่มกันเลย!เทคนิคที่ 1 'การนับจังหวะ' การนับจังหวะเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับคนที่เพิ่งเริ่มต้นในการเต้น การเต้นที่ดีก็ควรเต้นให้ตรงตามจังหวะ ถ้าหากเราเต้นเหลื่อมจังหวะอาจจะดูเหมือนว่าเราไม่ได้เต้นกับเพลง ๆ นั้นอยู่จริง ๆ โดยเฉพาะถ้าเต้นพร้อมกันหลายคนแล้วมีคนหนึ่งเต้นเหลื่อมจังหวะขึ้นมาจะดูเหมือนว่าเต้นไม่พร้อมกันทันที อีกอย่างคือถ้าเราเข้าใจการนับจังหวะจะทำให้เราแกะท่าเต้นตามคลิปต่าง ๆ ได้ง่ายและเข้าใจได้เร็วยิ่งขึ้น ซึ่งส่วนมากแล้วนักเต้นมักจะนับจังหวะอยู่ที่ 1 ถึง 8 จังหวะ แต่ความยากง่ายก็จะขึ้นอยู่กับความเร็วของจังหวะ จังหวะย่อยในเพลง หรือท่าเต้นนั้น ๆ เช่นการนับแบบ 1 2 3 4 5 6 7 8การนับแบบ 1 และ 2 และ 3 และ 4 และ 5 และ 6 และ 7 และ 8การนับแบบ 1 2 และ 3 4 5 6 และ 7 8จะเห็นว่าการนับจังหวะจะไม่ตายตัวและการนับจะขึ้นอยู่กับจังหวะของท่าเต้นที่ผู้ออกแบบท่าเต้นได้คิดขึ้นมา ซึ่งส่วนมากเพลงที่นับในแบบแรกนั้นมักจะมีความง่ายเพราะมีจังหวะที่ไม่ซับซ้อน วิธีการฝึกคือให้ทุกคนลองปรบมือตามเพลงหรือนับเลขออกเสียงเวลาเต้นไปด้วยจะช่วยให้เราเต้นตรงจังหวะมากขึ้นค่ะ เทคนิคที่ 2 'ศึกษาแนวการเต้นที่ชอบ'การศึกษาแนวการเต้น บางคนอาจจะคิดว่ามันไม่สำคัญหรือคิดว่าแค่เราแกะท่าและเต้นตามไปก็พอแล้วแต่อยากบอกว่าจริง ๆ การศึกษาและทำความเข้าใจถึงที่มาที่ไปและศึกษาการใช้สัดส่วนร่างกายในการเต้นท่าต่าง ๆ นั้นมีผลต่อการเต้นเราอย่างมาก ยกตัวอย่าง คือ สมมุติเราอยากเต้นแนวแว็กกิ้ง ก็ให้ศึกษาว่าท่าเบสิกของแว๊กกิ้งมีอะไรบ้าง ก็จะพบว่าการเต้นแนวนี้จะชอบใช้ส่วนของต้นแขนในการออกแรงเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นส่วนนี้เป็นส่วนที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษเวลาเต้น และถ้าหากเรารู้ในจุดนี้ก็จะสามารถพัฒนาการเต้นแนวนี้ได้ถูกจุดและเต้นดูสวยงามยิ่งขึ้น นอกจากนี้การดูวิดีโอหรือไปงานที่มีการโชว์เกี่ยวกับการเต้นแนวนั้น ๆ ก็ถือว่าเป็นการศึกษาได้เช่นกัน เพราะเราจะเห็นและซึมซับถึงอินเนอร์ของนักเต้นไปด้วย เวลาเราเต้นสีหน้าท่าทางของเราก็จะออกมาอย่างเป็นธรรมชาติ และเผลอ ๆ อาจจะได้ไอดอลคนใหม่มาเป็นต้นแบบให้เรามีแรงผลักดันตัวเองได้มากยิ่งขึ้นอีกด้วยเทคนิคที่ 3 'การเตรียมพร้อมร่างกาย'การเต้นก็เหมือนกีฬาประเภทหนึ่งที่ก่อนลงฝึกซ้อมหรือลงสนามจริงต้องเตรียมร่างกายให้พร้อมเพื่อดึงศักยภาพที่ร่างกายเรามีเอาออกมาให้ได้มากที่สุด รวมถึงยังช่วยลดอาการบาดเจ็บหลังเต้นได้ด้วย ซึ่งในที่นี้เราขอแยกการเตรียมพร้อมร่างกายออกเป็น 4 ประเภทประเภทที่ 1 คือ การอบอุ่นร่างกาย : สิ่งนี้ควรทำเป็นอันดับแรกเพราะเป็นเหมือนการปลุกร่างกายให้ตื่นเพื่อที่จะทำท่าอื่น ๆ ต่อไป เช่น การวิ่ง การกระโดดตบ เป็นต้นประเภทที่ 2 คือ การกระตุ้นกล้ามเนื้อ : เช่น การแพลงค์ การสควอช การซิทอัพ เป็นต้น สิ่งนี้ช่วยให้กล้ามเนื้อในส่วนต่าง ๆ มีความแข็งแรงมากขึ้น เวลาเราเต้นท่าไหนก็จะดูแข็งแรง ควมคุมตัวเองได้ดียิ่งขึ้น และอย่างที่บอกไปว่าการเข้าใจในแนวการเต้นที่ชอบนั้นก็จะทำให้เรารู้ว่าเวลาเพิ่มกล้ามเนื้อต้องเพิ่มตรงจุดไหน อย่างที่ยกตัวอย่างไปว่าการเต้นแว๊กกิ้งเน้นที่ต้นแขน ฉะนั้นท่าที่กระตุ้นกล้ามเนื้อในส่วนของต้นแขนจึงต้องทำมากเป็นพิเศษประเภทที่ 3 คือ การยืดร่างกาย : เช่น การยืดขาเอื้อมมือแตะ การเอียงตัวยกแขน เป็นต้น การทำสิ่งนี้ช่วยให้ร่างกายมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ซึ่งจะเป็นส่วนที่นักเต้นบัลเล่ต์มักให้ความสำคัญ เพราะท่าเต้นต้องมีการฉีกขาประเภทที่ 4 คือ การแยกสัดส่วนร่างกาย : หรือมักจะเรียกกันว่า 'Isolation' คือ การบังคับให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายไปตามทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่าย ๆ คือ การเต้นท่าเวฟตัว การเต้นลักษณะนี้คือการใช้สัดส่วนหน้าอก หน้าท้อง สะโพก ไปตามทิศทางด้านหน้าเรียงไปตามลำดับ ซึ่งการแยกสัดส่วนร่างกายนั้น มีตั้งแต่หัว ไหล่ ลำตัว สะโพก แขน ขา หากฝึกก็จะช่วยให้เราเข้าใจการใช้ร่างกายมากขึ้น ถ้าหากทำบ่อย ๆ ก็จะทำให้เต้นได้ยืดหยุ่นมากขึ้น และถ้าใครอยากมีไลน์เต้นที่สวยมากขึ้นการฝึกแยกสัดส่วนนั้นช่วยได้แน่นอนแต่ทั้งนี้แต่ละอย่างก็ต้องค่อย ๆ ทำตามที่ร่างกายเรารับไหว ถ้าเราหักโหมในส่วนของการอบอุ่นร่างกายมากเกินไปอาจจะทำให้เราเต้นต่อไม่ไหวเลยก็เป็นได้ค่ะเป็นยังไงกันบ้างคะกับบทความนี้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่อยากจะพัฒนาทักษะในการเต้นไม่มากก็น้อยนะคะ สุดท้ายอยากฝากไว้ว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับการเต้นคือ 'การฝึกฝน' หากเรารู้เทคนิคทุกอย่างแต่เราไม่ลงมือ ยังไงการเต้นก็ไม่มีทางพัฒนาค่ะ แม้แต่นักเต้นเก่ง ๆ ระดับโลกทุกวันนี้เขาก็ยังพัฒนาทักษะของเขาอยู่ตลอด เพราะฉะนั้นอย่าหยุดฝึกฝนนะคะ เป็นกำลังใจให้คนที่รักการเต้นทุกคน สู้ ๆ ค่ะ เครดิต ภาพปก เครดิต ภาพที่ 1 , ภาพที่ 2 , ภาพที่ 3 , ภาพที่ 4