รีเซต

เรียนรู้ภาษาลู....ในคลับฟรายเดย์ ตอนความลับของมิ้นต์กับมิว

เรียนรู้ภาษาลู....ในคลับฟรายเดย์ ตอนความลับของมิ้นต์กับมิว
26 พฤศจิกายน 2557 ( 14:36 )
19.5K
1

 


         กระแสคลับฟรายเดย์ ตอน ความลับของมิ้นต์กับมิว มาแรง ทั้งความตลกและน่ารักของเนื้อเรื่องและตัวละคร โดยเฉพาะฉากที่มิวและเพื่อน เม้าท์ผู้ชายต่อหน้าด้วยภาษาแปลกหู ที่ชาวสีม่วงเรียกว่า ภาษาลู ทำให้ภาษาเทยที่ถูกปิดมานาน ถูกค้นหาในโลกโซเซียลเพื่อหาที่มาที่ไปของภาษา  วันนี้เราไปค้นหาข้อมูลมาให้ชมกัน

 

         ต้นกำเนิดของภาษาลู นั้นไม่มีที่มาที่ไปอย่างชัดเจน แต่ถูกส่งต่อกันมาด้วยความสนุกของการซ้อนตัวอักษรให้รู้กันเฉพาะกลุ่มเพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่าง บางทีก็กล่าวว่าเป็นภาษาของคนคุกที่ใช้คุยกันเป็นโค้ดลับ แต่ถูกเอามาใช้กันอย่างสนุกสนานด้วยเพศสร้างสรรค์ อย่างชาวสีม่วง

 

         ภาษาลู จะนำคำมาแยกออกทั้งพยัญชนะและเสียงแล้วนำมาสลับกับคำว่าลูโดยให้คำว่าลูเป็นตัวเริ่มต้น และการผสมคำนั้นจะให้ความสำคัญกับเสียงของคำที่ต้องการก่อนพยัญชนะที่ต้องการ ยกตัวอย่างเช่น

         เวลาจะพูดว่า ไป ภาษาลูก็จะพูดว่า ไลปู (มาจาก ลูไป แล้วผวน) ซึ่งต้องเติมคำว่า “ลู” ลงไปลงไปข้างหน้าทุกพยางค์

         อีกทั้งเวลาผวน ต้องคงรูปของสระเสียงสั้นเสียงยาวรวมทั้งเสียงของวรรณยุกต์ไว้ด้วย

          เช่นคำว่า เช่น แต่ว่า (คงความสั้นยาวของสระและเสียงวรรณยุกต์ไว้) ซึ่งเวลาเติม ลู ลงไปในคำว่า “แต่-ว่า” ก็จะได้คำว่า “ลูแต่-ลูว่า” แล้วผวนคำว่า “แหล่ตู่-หล้าวู่” นั่นเอง

         แต่ถ้าพยางค์นั้นมีตัวสะกดให้คงตัวสะกดนั้นด้วย

          เช่นคำว่า กินข้าว เมื่อเติม ลู ลงไปแล้วผวนแบบคงตัวสะกดเอาไว้ ภาษาลู ก็จะได้ว่า “รินกูนร่าวคูว”

        ในกรณีที่พยางค์นั้นมีสระเป็น อุ หรือ อู ให้ใช้ “ลี” วางหน้าพยางค์แล้วผวน

          เช่นคำว่า อยู่ไหม ภาษาลู เมื่อเปลี่ยนจาก สระ อุ หรือ อู เป็น ลี แล้วผวนก็จะว่า “หลู่หยี่ไหลหมู”

          ในกรณีถ้าพยางค์นั้นมีตัวสะกดที่เป็นวรรณยุกต์ และตัว “ร” และ “ล” จะเป็นเสียงสูงและต่ำ เวลาผวนจะต้องเปลี่ยนวรรณยุกต์ตรง “ลู” เป็น “ซู”

             เช่น ร้อนแรง ตามหลักที่มีตัว ร ภาษาลู ก็จะเปลี่ยนจากที่นำหน้าด้วย ลู เป็น ซู เมื่อผวนแล้วก็จะได้คำว่า “ซ้อนรู้นแซงรูง”

 

          หลายๆ คนอาจมองว่าภาษาลูอาจเป็นทำให้ภาษาไทยวิบัติ แต่แท้จริงแล้วภาษาลูอาจเปรียบเทียบเหมือนภาษา Pig Latin ที่มีมีวิธีการสร้างคำโดยสับเปลี่ยนตำแหน่งลำดับตัวอักษรของคำ และเพิ่มพยางค์ที่ไม่มีความหมายลงไป โดยพื้นฐานของ Pig Latin มีรูปแบบด้วยการนำอักษรตัวแรกของคำไปใส่ที่ตำแหน่งสุดท้าย และเติม -ay ต่อลงไป เช่น ouyay ankay alktay igpay Atinlay เท่ากับ You can talk Pig Latin

         กลุ่มคนที่ใช้ภาษาท้องถิ่นและมีคำชำนาญ ใช้วิธีการสร้างคำที่ซับซ้อนขึ้น โดนการนำสระหรือสระผสมตัวสุดท้ายไปใส่ไว้ที่ตัวแรก คำว่าา latin = Inlatay หรือนำสระ หรือสระผสมตัวแรก และส่วนที่เหลือไปใส่ไว้ที่ตำแหน่งแรก Latin = Atinlay คำแสลงทั่วไปสร้างจาก Pig Latin คำว่า amscry = scram และ ixnay = nix 

            ดูเหมือนเรื่องภาษาที่ใช้กันสนุกเฉพาะกลุ่มจะไม่ใช้เรื่องเล่นๆ อีกต่อไป เมื่อคนใช้กันมากขึ้น ภาษาลูอาจกลายเป็นภาษาที่เติบโตเหมือน Pig Latin ก็เป็นไปได้ ….นอกจากนี้อาจเข้าใจว่าภาษาทุกภาษามีการพลิกแพลง มีเกิดมีตายตลอดเวลาแล้ว ยังทำให้เห็นอีกว่า จินตนาการของคนนี่ไร้ขีดจำกัดจริง ๆ


 

ขอบคุณข้อมูลประกอบจาก

http://www.snc.lib.su.ac.th/snclibblog/?p=10622

http://men.mthai.com/gay/60481.html

 
 
ชมทีวีออนไลน์ช่อง GMM Channel แบบสดๆ ได้ที่นี่
ติดตามข่าวสารบันเทิงทีวีได้อีกช่องทาง
     Facebook.com/TVSociety