ในปี 1997 เกิดวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย วิกฤติครั้งนี้ทำให้คนตกงานเป็นจำนวนมาก ILO ILO ในขณะนั้นเป็นเมืองที่ยากจนแห่งของประเทศฟิลิปปินส์ ทำให้แรงงานจำนวนหนึ่งเลือกที่จะเดินทางออกไปทำงานนอกประเทศ “เทอรี่” ตัวละครหลักเธอเลือกเดินทางไปประเทศสิงคโปร์ในฐานะแม่บ้านของครอบครัวชนชั้นกลาง ที่อาศัยอยู่ห้องตึกแถว ในขณะนั้นประเทศสิงคโปร์ก็เผชิญกับภาวะกลัดกลุ้มของเศรษฐกิจ หัวหน้าครอบครัวที่เธอต้องไปทำงานให้เป็นอดีตเซลล์แมนที่ตกงาน ต้องรับจ้างเป็นยาม และปกปิดไม่ให้ครอบครัวรู้ ภรรยาที่ท้องใกล้คลอดเป็นเสมียนบริษัทเอกชน หน้าที่ของเธอคือพิมพ์จดหมายเลิกจ้าง และบ่อยครั้งที่ต้องลางานเพื่อไปรับฟังปัญหาของ “เจียเล่อ” ที่โรงเรียน เธอจึงจำเป็นต้องจ้างแม่บ้านเพื่อหวังว่าจะช่วยแบ่งเบาภาระ แต่เจียเล่อไม่ค่อยชอบ เทอรี่ คอยหาเรื่องกลั่นแกล้งสารพัดเทอรี่ เข้ามาอยู่เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวจีนสิงคโปร์และยังเข้าใจสถานการณ์ของครอบครัวนี้ และทำหน้าที่แม่บ้านเป็นอย่างดี ตลอดระยะเวลาที่อยู่เราเห็นบ้านเมืองของสิงคโปร์ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจผ่านสายตาของแม่บ้านคู่นี้ทั้งการรักษาภาพลักษณ์ของครอบครัวตนเองในตระกูลใหญ่ การปลูกฝังความมีระเบียบวินัยตั้งแต่สถาบันครอบครัว โรงเรียน คนกระโดดตึกฆ่าตัวตายจากความตึงเครียด แม้แต่สายตาของเด็กชายวัย 10 ขวบก็มองเป็นเรื่องปกติ แรงงานต่างชาติที่เข้ามาทำงานเพื่อหวังรายได้เพิ่มพูนในเมืองเศรษฐกิจแห่งนี้ เมื่อความเหงาก็คืบคลานใจเข้ามา เสียงเพลงจากเครื่องเล่นพกพาก็พอบรรเทาได้บ้างระหว่างการทำงาน สาเหตุที่แท้จริงของการมาเป็นแม่บ้านเนื่องจากเธอเป็นเสาหลักของครอบครัวที่ต้องเลี้ยงดูลูกหลังจากทำงานเสร็จเธอมักโทรทางไกลเพื่ออยากจะคุยกับลูกด้วยความคิดถึง แต่การทำงานจนค่ำก็ทำให้ทุกครั้งที่เธอโทรลูกก็หลับแล้ว เราได้เห็นการดิ้นรนของคนในยามวิกฤติเมื่อได้ข่าวว่าเธอต้องส่งเงินเพิ่มให้ทางบ้าน เธอต้องหาแหล่งรายได้เสริมเป็นช่างทำผมซึ่งได้คำแนะนำจากเพื่อนแรงงานตรงข้ามห้อง เธอต้องเผชิญกับการกดราคาชั่วโมงการทำงาน และต้องแอบทำงานในเวลากลางวันในอีกมุมหนึ่งพ่อแม่ของเจียเล่อก็ต้องต่อสู้ ความหวังของผู้เป็นพ่อคือการเล่นหุ้น ในขณะที่แม่เข้าร่วมธุรกิจเครือข่าย ทางด้านของเจียเล่อที่ไม่ประสากับปัญหาก็มีงานอดิเรกเกี่ยวกับการเก็งหวย เขาจะตัดกระดาษหนังสือพิมพ์ที่ประกาศผลสลากไว้และจดสถิติ ซึ่งพ่อเขาก็เคยถูกหวยที่ลูกชายเก็งไว้เหมือนกันความสัมพันธ์ของเทอรี่กับเจียเล่อดีขึ้น แต่ความสัมพันธ์ของเขากับแม่กลับแย่ลง ในขณะที่ภรรยารับรู้ปัญหาการตกงานของสามีมาตลอด เธอเก็บเรื่องนี้เอาไว้ และพยายามหาทางแก้ด้วยตัวเธอเองทำให้ความสัมพันธ์ของเธอและลูกห่างเหิน จนรู้สึกว่าเทอรี่เข้ามากีดกันการทำหน้าที่แม่ ในวันเกิดของเจียเล่อ พ่อได้ให้ของขวัญเป็น “ลูกเจี๊ยบ” และซื้อไก่ทอดของโปรดเขา แทนคำขอโทษที่โยนของเล่น “ทามาก็อตจิ” ทิ้งไปแต่ลูกเจี๊ยบในวันนั้นได้ผ่านการเติบโตจนเป็นอาหาร เครื่องเซ่นไหว้ แต่ภาพของไก่บนโต๊ะอาหารครั้งนี้ได้เปลี่ยนความคิดของเจียเล่อไป เขามองและพูดว่า “ผมอยากเลี้ยงมันไว้” มุมมองที่เขามีต่อไก่เปลี่ยนไป และมุมมองที่มีต่อเทอรี่มีมีความหมายมากกว่าผู้มารับใช้หรือควบคุมเขาหนังถ่ายทอดภาพของตัวแทนครอบครัวชนชั้นกลางที่ต้องดำเนินชีวิตท่ามกลางเศรษฐกิจ ประเด็นของหนังอยู่ที่วัฏจักรชีวิตมีทั้งเกิด มีการตาย การวางสัญลักษณ์ทั้งแม่ที่ท้องแก่ใกล้คลอด ชีวิตของไก่ แม้เทอรี่จะสามารถทำหน้าที่แม่บ้านได้ดี แต่พวกเขาไม่มีเงินที่จะจ้างเธอต่อ ของขวัญที่เธอได้รับคือสิ่งหนึ่งที่ตอบรับว่าเธอเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว หนังเรื่องนี้ Base on True Story ของผู้กำกับ โดยแม่บ้านของเรื่องเป็นชาวฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นประเทศที่ส่งออกแรงงานไปทำงานต่างประเทศเป็นจำนวนมากจนอาจกล่าวได้ว่าเป็นเสาค้ำเศรษฐกิจของประเทศ อีกประเด็นที่ ILO ILO สะท้อนออกมาได้อย่างน่าสนใจก็คือ ความไม่เชื่อใจกันเพราะมองว่าคนไม่เท่ากันตั้งแต่วันแรกที่ เทอรี่ เข้ามาในบ้าน สิ่งที่แม่ทำก็คือการยึด ‘พาสปอร์ต’ มาเก็บเอาไว้เพื่อแสดงอำนาจของนายจ้างในขณะที่เจียเล่อที่ไม่ถูกชะตากับเทอรี่ตั้งแต่แรกที่ทั้งคู่ต้องมีความสัมพันธ์แบบผู้นำและผู้ตามต่อกัน เจียเล่อก็ชิงบทผู้ก่อกบฏก่อนเลย คือการออกคำสั่ง เพื่อกันตัวเองไม่ให้ตัวเองถูกควบคุม และชิงลงโทษเธอก่อน ทำให้เรื่องราวถึงตำรวจ ในที่สุดเธอก็เปิดประเด็นได้ด้วยการโต้ตอบอย่างมีชั้นเชิง “ฉันมารับใช้ ไม่ได้มาให้ใครแกล้ง” แต่สิ่งที่สำคัญที่เธอทำให้ความสัมพันธ์ของทั้งคู่ดีขึ้นคือ “การปกป้อง” ในแบบที่ยอมรับเขาเป็นส่วนหนึ่งของเธอ ภาพหน้าปกจาก Official Websiteภาพประกอบจาก ILO ILO 爸媽不在家 Official Trailer