รีเซต

ประวัติ คุณแดง สุรางค์ เปรมปรีดิ์

ประวัติ คุณแดง สุรางค์ เปรมปรีดิ์
EntertainmentReport2
14 กรกฎาคม 2566 ( 17:15 )
504

ประวัติ คุณแดง สุรางค์ เปรมปรีดิ์

"สุรางค์ เปรมปรีดิ์" ชื่อเล่น "แดง" คนในวงการบันเทิงเรียกว่า "คุณแดง" ประธานกรรมการมูลนิธิเรวดี เทียนประภาส อดีตผู้อำนวยการนิตยสารสตรีสาร และ ผู้อำนวยการใหญ่ ครูใหญ่ โรงเรียนเรวดี, อดีตผู้อำนวยการประกวดมิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์, อดีตผู้บริหาร บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด ผู้ดำเนินการออกอากาศสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7


คุณแดง สุรางค์ (นามสกุลเดิม: กรรณสูต) เกิดเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 ปัจจุบัน ณ กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรสาวคนสุดท้อง ของสุชาติ กรรณสูต (เสียชีวิตเมื่อ พ.ศ. 2501) และเรวดี เทียนประภาส (เสียชีวิตเมื่อ พ.ศ. 2513) มีพี่ชายสองคนคือ ชาติเชื้อ กรรณสูต (เสียชีวิตแล้ว) และพันโทชายชาญ เทียนประภาส (เสียชีวิตเมื่อ พ.ศ. 2523) ทั้งสองเป็นอดีตกรรมการผู้จัดการของช่อง 7 สี สุรางค์จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 จากโรงเรียนราชินีบน, ครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง เหรียญทองจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส (ยูซีแอลเอ) นครลอสแอนเจลิส มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา สุรางค์สมรสกับ ดร.ไพโรจน์ เปรมปรีดิ์ เป็นนักวิทยาศาสตร์เคมี ชาวไทย และ ประธานมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ และอดีตคณบดี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยไม่มีบุตรธิดาด้วยกัน ‪มีทายาทสืบสกุล 1 คน ชื่อว่า “ออน ชิชญาสุ์ กรรณสูต" ซึ่งเป็นบุตรสาวของพี่ชาย ชาติเชื้อ กรรณสูต โดยคุณแดง และ สามี ดร.ไพโรจน์ เคยมีโอกาสเลี้ยงดูมาตั้งแต่ยังเล็กจนเติบโต มีสายสัมพันธ์ผูกพันกับผู้เป็นอามาตั้งแต่เล็กเปรียบเสมือนลูกสาวของตน ปัจจุบันเป็นผู้ช่วยทำงานร่วมกับคุณแดงอย่างใกล้ชิด และ เป็นผู้ถือหุ้นบริษัทบางแห่งแทนคุณแดง‬ ‪ออน ชิชญาสุ์ กรรณสูต สำเร็จการศึกษาจบปริญญาโทด้านมัลติมีเดียที่ London College of Printings จากประเทศอังกฤษ‬ ‪ปัจจุบันเป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัท จันทร์ 25 จำกัด รวมทั้งเป็นอดีตผู้จัดการ กองประกวด มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ ตั้งแต่ปี 2012 จนถึงปี 2018‬


ปัจจุบันคุณแดง เป็นที่ปรึกษาให้บริษัทด้านสื่อโทรทัศน์สร้างสรรค์คุณภาพ, เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่บริษัทด้านอสังหาริมทรัพย์ และบริษัทด้านสื่อเทคโนโลยี, รวมถึงมีธุรกิจในเครืออีกบานตะไทที่คุณสุรางค์ ร่วมถือหุ้นและร่วมบริหารอยู่ด้วย และ งานด้านสังคม มุ่งทำงานด้านสังคมและการกุศล มอบทุนการศึกษาเด็กผู้พิการ/เรียนดี ทั่วทุกภูมิภาค ในนามมูลนิธิเรวดี เทียนประภาส โดยมอบทุนมาแล้วอย่างต่อเนื่องโดยตลอดเป็นประจำทุกปี และ สนับสนุนเครื่องมือการทางแพทย์ให้โรงพยาบาลต่างๆ พร้อมทั้ง ยังเป็นผู้สนับสนุนโครงการโตไปไม่โกง และ ต่อต้านการโกงทุกชนิด

นับเป็นนักธุรกิจสตรีที่ประสบความสำเร็จมากท่านหนึ่ง และเป็นที่นับหน้าถือตา เคารพนับถือศรัทธาของผู้คนมากมาย และ เหล่าลูกศิษย์ทั้งหลาย รวมทั้งเป็นมหาเศรษฐีนีที่มีมูลค่าทรัพย์สินรวมกว่า 3 หมื่นล้านบาทมีบ้านพักเก่าแก่อยู่ที่ประเทศอังกฤษ และ คฤหาสน์หรูบนเขาใหญ่ และ อนึงจากบทสัมภาษณ์ของ สุรางค์ เปรมปรีดิ์ ทางนิตยสาร a day ว่า เป็นคนที่มีความชื่นชอบการอ่านหนังสือเป็นสำคัญ ชอบอ่านทุกชนิด ชอบคิดค้นคว้า รวมถึง การชื่นชอบอ่านนวนิยายตั้งแต่วัยเรียน จนมาเป็นผู้อำนวยการนิตยสาร สตรีสาร ทำให้ได้รู้จักคุ้นเคยกับนักเขียนมากหน้าหลายตา และ เป็นแฟนผลงานนักเขียน/นักประพันธ์นามปากกา ว.วินิจฉัยกุล/แก้วเก้า ของรองศาสตราจารย์ คุณหญิง วินิตา ดิถียนต์ เป็นนักประพันธ์นวนิยายชาวไทย และ ประภัสสร เสวิกุล ซึ่งหากใครรู้จักตัวตนจะทราบว่า คุณแดง มีบุคลิกภาพโดดเด่นซึ่งลักษณะเป็น “ครู” ยิ้มง่าย ใจดี เป็นมิตรกับทุกคน และ มีความเมตตาสูง ไม่ค่อยดุ แต่ไม่ค่อยเอ่ยปากชมใครง่าย ๆ และ เป็นคนหัวสมัยใหม่ ก้าวหน้า แต่ติดมีความผู้ดีที่เจ้าระเบียบ เรียบร้อย พูดจาสุภาพ ชัดถ้อยชัดคำ รู้กาลเทศะ และ ไม่ชอบคนที่แต่งกายโป๊หรือไม่เรียบร้อย

ด้านสามารถการเรียน จบเกียรตินิยมอันดับ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ได้รับการยกย่องสอบได้ที่ 1 ทุกวิชาประจำห้อง

ความสามารถพิเศษด้านดนตรี เปียโน

ด้านกีฬา กอล์ฟ, เทนนิส, ปิงปอง

ด้านงานอดิเรก เป็นนักอ่านตัวยง หนังสือนวนิยายทั้งไทยและต่างประเทศ

ประวัติการทำงาน

โรงเรียนเรวดี/นิตยสารสตรีสาร/ช่อง 7 สี

สุรางค์เริ่มงานครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2510 โดยเป็นผู้รับใบอนุญาต และผู้จัดการโรงเรียนเรวดีของมารดา (จนกระทั่งโรงเรียนปิดทำการสอน เมื่อปีการศึกษา 2553)[2] และถัดมาในปี พ.ศ. 2511 เป็นครูใหญ่ของโรงเรียนอีกตำแหน่งหนึ่ง (จนถึงราวปี พ.ศ. 2523) ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2513 เข้ารับตำแหน่ง ผู้อำนวยการนิตยสารสตรีสาร (ปิดตัวลงเมื่อ ปี พ.ศ. 2539) ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2524 เธอเข้าทำงานในช่อง 7 สี เริ่มเป็นผู้บริหารใหญ่ช่อง 7 ควบตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายรายการ เปรียบได้กับเป็นกรรมการผู้จัดการช่อง 7 เนื่องจากมีสิทธิ์ขาดอำนาจในตัดสินใจเพียงผู้เดียว (จนถึง พ.ศ. 2542)[ต้องการอ้างอิง] จากนั้นเมื่อปี พ.ศ. 2537 ขึ้นเป็นกรรมการรองผู้จัดการบริษัทฯ อีกตำแหน่งหนึ่ง และเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทฯ แทนชาติเชื้อผู้เป็นพี่ชาย ที่ล้มป่วยลงด้วยอาการอัมพาต นอกจากนี้ ยังรักษาการในตำแหน่ง ผู้จัดการฝ่ายข่าวของสถานีฯ อีกตำแหน่งหนึ่ง (ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541-ปี พ.ศ. 2545) แต่เกิดเหตุการเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารงานครั้งใหญ่อีกครั้งในปี พ.ศ. 2542 เนื่องจากการขึ้นมาอยู่ในตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ เพียงในนามเท่านั้น แต่ไม่มีสิทธิ์ขาดอำนาจตัดสินเพียงผู้เดียว การพิจารณาและอนุมัติผ่านทางบอร์ดคณะกรรมการบริหารช่อง 7 ร่วมตัดสิน และ เป็นไปทางนโยบายของทางบอร์ดช่อง 7 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 จึงถือเป็นช่วงยุคนาย กฤตย์ รัตนรักษ์ เริ่มเข้ามามีบทบาทภายในช่อง 7 เป็นต้นมา จัดระบบการบริหารในรูปแบบบอร์ดคณะกรรมการพิจารณาร่วมบริหารและตัดสินใจผ่านบอร์ดคณะกรรมการช่อง 7 อนุมัติ โดยมีผู้บริหารใหญ่จากฝั่ง นาย กฤตย์ รัตนรักษ์ ตัดสินใจ การบริหารงานช่อง 7 ตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา อยู่ในรูปแบบบอร์ดคณะกรรมการพิจารณาร่วมบริหารและตัดสินใจ ไม่ใช่เพียงแค่คุณแดง เท่านั้น ทำให้หลายๆคนเข้าใจผิด ไม่ทราบเกี่ยวกับการบริหารภายในช่อง รวมถึงสื่อต่างๆที่ลงข่าวเกิดความเข้าใจผิด และ เหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีกครั้งคือเมื่อปี พ.ศ. 2549 มีการปรับเปลี่ยนผู้บริหารใหญ่ภายในช่อง 7 โดยเป็นเหตุให้คุณแดงถูกตัดสิทธิ์ออกจากบริหารงานด้านละครโทรทัศน์ช่อง 7 เป็นแค่การอยู่ในตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ และ การออกหน้าสื่อเท่านั้น แต่บทบาทภายในไม่ได้เป็นการบริหารของคุณแดง

ในช่วงการบริหารของคุณ สุรางค์ เปรมปรีดิ์ นับเป็นความประสบความสำเร็จอย่างสูงสุดของสถานีโทรทัศน์ ช่อง 7 ภายใต้การบริหารและวิสัยทัศน์ที่ทันสมัย และ ความสำเร็จด้านผู้นำละครโทรทัศน์ นโยบายการผลิตละครโทรทัศน์ยึดการเคารพบทประพันธ์เป็นหลักทุกเรื่อง ไม่บิดเบือนแก่นบทประพันธ์

ในช่วง พ.ศ. 2529 - 2542 นับเป็นสมัยคุณแดง สุรางค์ เปรมปรีดิ์ หลังจากได้ถอยห่างโดยมีการตั้งบอร์ดคณะกรรมการบริหารช่อง 7 ขึ้นมาแทนที่ ตระกูล “กรรณสูต” มาสู่ “รัตนรักษ์” ตั้งแต่ พ.ศ. 2542 ผ่านผู้บริหารของกลุ่มกรุงศรี ด้วยขณะนั้น บทบาทคุณแดงเป็นเพียงผู้ร่วมบริหาร และ ดำรงอยู่ตำแหน่งใน กก.ผจก. เท่านั้น จนถึง พ.ศ. 2548 ตามที่มีกระแสข่าวลือว่า คุณแดงวางมือเด็ดขาด เพราะอันเนื่องมาจาก ปี 2548 กฤตย์ รัตนรักษ์ เข้ามากุมบังเหียนทุกฝ่ายในช่อง 7 บัดนั้นเป็นต้นมา

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2554 กฤตย์ รัตนรักษ์ ประธานกรรมการบริหารช่อง 7 บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด ออกคำสั่งแต่งตั้งให้ ศรัณย์ วิรุตมวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการ ขึ้นรักษาการในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ซึ่งสุรางค์ดำรงอยู่ โดยให้มีผลตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 สุรางค์จึงพ้นจากทุกตำแหน่งของสถานีฯ นับแต่นั้น แต่ในทางเป็นจริง คุณ สุรางค์ ได้พ้นจากอำนาจการบริหารภายในช่อง ไปก่อนหน้านั้นนานมาแล้ว เพียงแค่มีชื่ออยู่ในตำแหน่งเท่านั้น และ มีเหตุที่มา คุณแดงสุรางค์ มีเจตนาที่ไม่ต้องการจะต่อสัญญามาก่อนหน้านั้น ตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2549 แต่บอร์ดบริหารช่อง วิงวอนให้ต่อสัญญาไปก่อนช่วงนั้น 

คุณสุรางค์ เปรมปรีดิ์ ตามข้อมูลอันทราบมาว่าเป็นพันธมิตรธุรกิจหลากหลายบริษัท เช่น เป็นพันธมิตรธุรกิจกับ กลุ่มบริษัท บริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด, บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ปัจจุบัน สิงห์ คอร์เปอเรชั่น , นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) และ เป็นผู้สนับสนุนหลัก รายการเสน่ห์กีฬา และ รายการสปอร์ตกูรู (ซึ่งร่วมกับบริษัท สปอร์ตทิปส์ จำกัด ผู้ผลิตรายการ) และ Miss Universe Thailand ทางช่อง 3 และ เป็นผู้สนับสนุนกลุ่มงานที่คุณสุรางค์มีส่วนร่วม ฯลฯ , กลุ่มบริษัท “เคพีเอ็น” (KPN) และ เป็นหุ้นส่วนใหญ่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ Grand Marnez Khaoyai โครงการบ้านพักตากอากาศสไตล์ฝรั่งเศส สุดหรูหรา บนเขาใหญ่ และ เป็นพันธมิตรธุรกิจกลุ่ม บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (สามี ดร.ไพโรจน์ เปรมปรีดิ์ ประธานกรรมการบริษัท กันตนา แอนิเมชั่น จำกัด)
และเนื่องจากมีสายสัมพันธ์กับผู้จัด ฉลอง ภักดีวิจิตร ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดการชักนำทายาทอาหลอง เข้ามาเป็นผู้ผลิตละครโทรทัศน์ทางช่อง 3 โดยผ่านทาง คุณแดง เป็นผู้พิจารณาเรื่องจัดวางนักแสดงและนำเสนอช่อง

การประกวดนางงาม


สุรางค์แถลงข่าวการจัดประกวดนางงาม ภายใต้ชื่อ มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ (Miss Universe Thailand) เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2555 โดยมีสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 เป็นผู้ถ่ายทอดการประกวดรอบสุดท้าย, เอ็กแซ็กต์และซีเนริโอ เป็นฝ่ายออกแบบและจัดสร้างเวทีประกวด, บริษัท สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เป็นฝ่ายประชาสัมพันธ์การประกวด และจังหวัดพิษณุโลก เป็นสถานที่เก็บตัวของผู้เข้าประกวด ซึ่งผู้ชนะการประกวดเวทีนี้ จะได้สิทธิเป็นผู้แทนประเทศไทย ไปเข้าร่วมประกวดนางงามจักรวาล (Miss Universe) ตามที่สุรางค์เป็นผู้รับสิทธิดังกล่าวอย่างถูกต้อง จากองค์การนางงามจักรวาล (Miss Universe Organization)[4]

อนึ่ง ก่อนหน้านี้ มีการมอบสิทธิในการส่งผู้แทนประเทศไทย เข้าประกวดนางงามจักรวาลเป็นครั้งแรก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 ให้แก่ชาติเชื้อ กรรณสูต โดยชาติเชื้อ ในนามช่อง 7 สี ร่วมกับสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย จัดประกวดภายใต้ชื่อนางสาวไทย จนกระทั่งชาติเชื้อเสียชีวิต องค์การนางงามจักรวาล จึงสนับสนุนให้สุรางค์เป็นผู้รับสิทธินี้ต่อไป โดยมีช่อง 7 เป็นผู้ดำเนินงานจัดการประกวดเรื่อยมา มี พลากร สมสุวรรณ เป็นผู้จัดการการประกวด รับผิดชอบการจัดการประกวด และเมื่อปี พ.ศ. 2543 สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย นำการประกวดนางสาวไทย ไปจัดร่วมกับสถานีโทรทัศน์ไอทีวี (หลังจากไอทีวีปิดตัวเมื่อ พ.ศ. 2550 ก็ย้ายไปจัดร่วมกับโมเดิร์นไนน์ทีวี บมจ.อสมท) ช่อง 7 สีจึงเปลี่ยนมาใช้ชื่อมิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส มาจนถึงปี พ.ศ. 2554[5]

บริษัท จันทร์ 25 จำกัด


บริษัท จันทร์ 25 จำกัด จดทะเบียนจัดตั้ง เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2536 ด้วยทุนประเดิม 100,000 บาท มีกรรมการ 3 ราย และผู้ถือหุ้น 7 ราย (หลังจากนั้นปรับลดลง เหลือเพียง 3 ราย) ต่อมาวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2555 บริษัทฯ แจ้งเปลี่ยนรายชื่อผู้ถือหุ้นทั้งสามรายขึ้นใหม่ โดยสองในสามราย คือสุรางค์และไพโรจน์ผู้เป็นสามี โดยที่สุรางค์เข้าเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่แทนบุคคลเดิม จากนั้นในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555 บริษัทฯ แจ้งเปลี่ยนรายชื่อกรรมการเสียใหม่ โดยมีชื่อของสุรางค์ เข้ามาเพียงคนเดียว

พร้อมทั้งเปลี่ยนที่ตั้งสำนักงานแห่งใหม่ เป็นเลขที่ 108 ถนนประดิพัทธ์ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นที่ตั้งเดิมของโรงเรียนเรวดี และก่อนหน้านั้นก็แจ้งเป็นที่ตั้งของ บริษัท สปอร์ตทิปส์ จำกัด ของพิศณุ นิลกลัด ซึ่งสนิทสนมกับสุรางค์มานาน เนื่องจากเคยเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา ตั้งแต่สมัยที่ยังบริหารช่อง 7 สีอีกด้วย และยังแจ้งวัตถุประสงค์การจัดตั้งเพิ่มเติม เกี่ยวกับการประกอบกิจการจัดสร้าง และจัดจำหน่ายละคร และการแสดงอื่น รวมถึงการจัดงานประกวดต่างๆ[6] เพื่อรองรับการจัดประกวดมิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์

และวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556 บริษัทฯ เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 10,000,000 บาท พร้อมทั้งเพิ่มชื่อกรรมการอีกสองคน คือไพโรจน์ สามีของสุรางค์ และพิศณุ นิลกลัด และยังเพิ่มวัตถุประสงค์ การดำเนินธุรกิจบันเทิง ผ่านอินเทอร์เน็ตและสื่อสมัยใหม่ ดำเนินกิจการรับ-ส่งวิทยุและโทรทัศน์ รวมทั้งผ่านสายเคเบิล[6] [7]

ผลงานในนามผู้จัดภาพยนตร์


ในอดีตสร้างผลงานภาพยนตร์ โดยร่วมหุ้นกับ หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ซึ่งเป็นที่มาของ บริษัท พร้อมมิตร จำกัด ** ในปัจจุบันคุณแดง ได้ถอดหุ้นออกแล้ว วิมานมะพร้าว ในนามบริษัท กันตนา โมชั่น พิคเจอร์ จำกัด

ผลงานในนามผู้จัดรายการโทรทัศน์


รายการสปอร์ตกูรู - ร่วมกับ บริษัท สปอร์ตทิปส์ จำกัด ทางช่อง 3 HD
รายการเสน่ห์กีฬา - ร่วมกับ บริษัท สปอร์ตทิปส์ จำกัด ทางช่อง 3 HD

ผลงานในนามผู้จัดละครโทรทัศน์


สวรรค์เบี่ยง
ทองเนื้อเก้า
หนุ่มทิพย์
ปัญญาชนก้นครัว
เมียหลวง
คู่กรรม
อุบัติเหตุ
ขมิ่นกับปูน
ตะวันชิงพลบ
เชลยศักดิ์
วันนี้ที่รอคอย
คุณหญิงนอกทำเนียบ
มนต์รักลูกทุ่ง
ดาวพระศุกร์
น้ำเซาะทราย
น้ำใสใจจริง
ดั่งดวงหฤทัย (2539)
สะใภ้ปฏิวัติ
ทวิภพ (2537)
เสราดารัล
สายโลหิต
ขอหมอนใบนั้นที่เธอฝันยามหนุน
ด้วยแรงอธิษฐาน
รอยอดีต
อำนาจ
หุบเขากินคน
หักลิ้นช้าง
ฉันชื่อไสลา
คู่อันตรายดับเครื่องชน
ระย้า
แก้วกินนารี
ดาวคนละดวง
เพชรตัดเพชร
เรากับนายหัวใจเดียวกัน
ขอดเกล็ดมังกร
แม่โขง
ทอง5
สามดรุณ
ขุนทรัพย์แม่น้ำแคว
ล่าสุดขอบฟ้า
อังกอร์ 2
เหล็กไหล
ฝนเหนือ
ชุมแพ
เสาร์ ๕
ทัดดาวบุษยา
เถ้ากุหลาบ
บ่วงหงส์
จำเลยรัก
นิรมิต
ญาติกา
มงกุฎดอกส้ม
เบญจรงค์ห้าสี
ปอบผีฟ้า
เงิน เงิน เงิน
เกาะสวาทหาดสวรรค์
คือหัตถาครองพิภพ
มาเฟียตาหวาน
เงาะป่า
เมียหลวง (ในนามบริษัท ดีวันทีวี จำกัด ดูแลการผลิตโดย พรสุดา ต่ายเนาว์คง)
รักร้าย (ในนามบริษัท กันตนา เอฟโวลูชั่น จำกัด)
เงินปากผี (ในนามบริษัท กันตนา เอฟโวลูชั่น จำกัด)
แก้วกุมภัณฑ์ (ในนามบริษัท ดีวันทีวี จำกัด ดูแลการผลิตโดย พรสุดา ต่ายเนาว์คง)
ตุ๊กตาผี (ในนามบริษัท กันตนา เอฟโวลูชั่น จำกัด ดูแลการผลิตโดย สตางค์-ดิษย์ลดา ดิษยนันทน์)
ข้ามสีทันดร (2542 และ 2561)
ประกาศิตกามเทพ (ในนามบริษัท ดีวันทีวี จำกัด ดูแลการผลิตโดย พรสุดา ต่ายเนาว์คง)
ผมอาถรรพ์ (ในนามบริษัท ดีวันทีวี จำกัด ดูแลการผลิตโดย พรสุดา ต่ายเนาว์คง)
ทิวาซ่อนดาว (ในนามบริษัท กันตนา เอฟโวลูชั่น จำกัด ดูแลการผลิตโดย สตางค์-ดิษย์ลดา ดิษยนันทน์)
น้ำผึ้งขม (ผู้ผลิตโดยบริษัท เพ็ญพุธ จำกัด ดูแลและควบคุมการผลิตโดย อัษฎาวุธ เหลืองสุนทร)
เมียจำเป็น (ในนามบริษัท ดีวันทีวี จำกัด ดูแลการผลิตโดย พรสุดา ต่ายเนาว์คง)
อังกอร์ (ในนามบริษัท อาหลอง จูเนียร์ ดูแลการผลิตโดย บุญจิรา ภักดีวิจิตร)
ลิขิตแห่งจันทร์ (ในนามบริษัท อาหลอง จูเนียร์ ดูแลการผลิตโดย บุญจิรา ภักดีวิจิตร)
เป็นต้น

รางวัลที่ได้รับ


นักธุรกิจสตรีดีเด่นโลก ปี 2550 จัดโดย The Group executive agents for Leading Women Entrepreneurs
ศิษย์เก่าดีเด่นโรงเรียนราชินีบน
ศิษย์เก่าดีเด่น คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศิษย์เก่าเกียรติยศ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2550
สตรีไทยดีเด่น ปี 2553
รางวัลเกียรติยศด้านโทรทัศน์ ปี 2561 จัดโดย รางวัลนาฏราช

เครื่องราชอิสริยาภรณ์


พ.ศ. 2553 –  เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
พ.ศ. 2550 –  เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[8]
พ.ศ. 2549 –  เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 3 ตติยดิเรกคุณาภรณ์ (ต.ภ.)
พ.ศ. 2544 –  เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 5 เบญจมดิเรกคุณาภรณ์ (บ.ภ.)