ขอบคุณรูปภาพจาก https://www.matichon.co.th/entertainment/news_550436 ฉลาดเกมส์โกง (2017)เรื่องราวเกี่ยวกับครูพี่ลิน เด็กมัธยมปลายคนหนึ่งที่มีความอัจฉริยะในตัวเองและได้ใช้ความอัจฉริยะนั้นหากินในทางที่ผิด เพื่อหาเงินให้ได้เป็นกอบเป็นกำ เพียงจุดเริ่มต้นที่อยากจะช่วยเพื่อนให้ได้เกรดที่ดีเพื่อจะได้ร่วมกิจกรรมของทางโรงเรียนเท่านั้น แต่เมื่อเรื่องรู้ไปถึงพัฒน์แฟนของเพื่อนคนนั้น ทำให้การสอบกลายเป็นเครื่องมือในการหาเงินขึ้นทันที.....แม้ว่าหนทางในการโกงนั้นจะไม่ได้ประเจิดประเจ้อเสียขนาดนั้น แต่อย่างไรเสียมันก็ยังคงเป็นการโกง แต่มันสะท้อนความจริงที่ว่า มาตรฐานของการโกงคืออะไร? จุดไหนที่ควรเรียกว่าเป็นการโกง?ตัวหนังเองตีแผ่วงการศึกษาไทยได้มากพอตัว ทั้งเรื่องการรับเงินแป๊ะเจี๊ยะ การโกงข้อสอบที่เหมือนว่าทุกปัญหาการศึกษามีทางออกที่ ‘เงิน’ เป็นปัจจัยหลักอีกตัวละครหนึ่งที่น่าสนใจ คือ แบงค์ ที่เป็นคนฉลาดเหมือน ๆ กับลิน แต่ติดอยู่ที่ฐานะทางบ้านที่ไม่ค่อยดี ทำให้การกระทำหลาย ๆ อย่างยังติดขัดอยู่ และก็ต้องจับพลัดจับผลูมาร่วมมือกับพัฒน์(เพราะสถานการณ์ที่บีบบังคับ)สิ่งหนึ่งที่สัมผัสได้จากหนังเรื่องนี้คือ เงิน สามารถใช้แก้ปัญหาได้ในหลาย ๆ อย่าง ที่แบงค์ได้พูดไว้ตอนท้ายเรื่องก็ถูก ว่าเราจะอดทนเรียนกันจนจบเพื่อกินเงินเดือนเพียงหมื่นกว่า ๆ กันไปทำไม ในเมื่อเราสามารถหาเงินหลักล้านกันได้ตั้งแต่ตอนนี้ หลังจากนั้นก็เก็บเอามาคิดว่าถ้าต้นทุนการศึกษามันสูงขนาดนั้น เราจะอดทนไปเพื่ออะไรกัน แล้วถ้าเราเป็นลิน เราจะเลือกแบบเธอไหม??เราจะเหมือนแบงค์ตอนต้นหรือแบงค์ตอนปลายหรือเปล่า??ความเครียดที่ลินต้องเผชิญกับตัวเลขเงินในบัญชีมันดูคุมค่ากันแล้วหรือยัง และอย่างที่ลินบอกว่าสำหรับเธอเท่าไหร่มันก็ไม่คุ้มแล้ว มันอาจะจริงก็ได้ ..ความคุ้มคืออะไร?? ตรงไหนที่เงินถูกเรียกว่ามีค่า??ไม่ว่าจะคำพูดของลินหรือแบงค์ล้วนมีน้ำหนักด้วยกันทั้งนั้นฉากในห้องน้ำที่สุดแสนจะลุ้นระทึก ฉากในสถานีรถไฟที่แทบอยากจะวิ่งตามลินไปทุกฝีก้าว ฉากที่ลินร้องไห้กับพ่อตอนกลับมา ฉากแบงค์ที่เอาเสื้อ stic มาทำพรมเช็ดพื้น ฉาก....หลาย ๆ ฉากในเรื่องนี้ยังคงตราตรึงอยู่ในความทรงจำ แม้ไม่ได้สะกิดความรู้สึกมากมายอะไรในคราวเดียว แต่มันก็เหมือนน้ำซึมบ่อทรายที่มาให้ได้นึกถึงอยู่เรื่อย ๆหนังเรื่องนี้คงไม่ใช่ข้อสอบที่สุดท้ายแล้วเราต้องให้คะแนนกับมันเราต้อง ‘ตีค่า’ สิ่งอื่นไปอีกนานแค่ไหน?แล้วค่าที่เราให้นั้นมันคู่ควรแล้วหรือเปล่า?เพราะฉะนั้นแล้วจะไม่มีการให้คะแนนในเชิงตีค่าใด ๆ ทั้งสิ้น ของแบบนี้มันต้องให้คนดูตัดสินเองมันถึงจะถูก ..จริงไหม? “ถึงแกไม่โกง ชีวิตก็เหมือนจะโกงแกอยู่ดี”----------แบงค์