วันนี้ผู้เขียนเองในฐานะที่ประกอบวิชาชีพครูอยู่ ซึ่งก็ติดตามภาพยนตร์ของไทยมาหลายเรื่องในเรื่องที่มีครูอยู่ในเรื่อง เพื่อดูบทบาททางงวิชาชีพที่สังคมไทยแสดงออกมาผ่านภาพยนตร์ ซึ่งก็มีถึง 5 เรื่องที่เป็นภาพยนตร์น้ำดี ที่ทำให้ผู้ชมรวมถึงครูรู้สึกได้ถึง “เรื่องราวในชีวิตจริงของครู” และเป็นบทบาทครูที่เป็นต้นแบบครูดี ดูแล้วอิ่มเอมใจสุด ๆ จึงขอยกตัวอย่างภาพยนตร์ที่มี “ครู” เป็นตัวนำ หรือตัวขับเคลื่อนเรื่องราวส่วนใหญ่ของเรื่อง และตัวครูที่เป็นผู้อุทิศตนผู้เสียสละอย่างแท้จริง โดยผู้เขียนจะขอนำเสนอตาม ปี พ.ศ. ที่เข้าฉายดังนี้1. วัลลี ยอดกตัญญู วัลลีที่ได้เป็นภาพยนตร์ออกฉายครั้งแรก 9 มีนาคม 2528 ทำเป็นรูปแบบ CD ในปี พ.ศ. 2543 และ นำมาฉายซ้ำที่ผู้เขียนได้ดูผ่านในช่อง ไทยพีบีเอส ในปี พ.ศ. 2560 เรื่องนี้ขอบอกว่าดราม่า เรื่องราวชีวิตยอดนักสู้ จัดเต็มมาก ผ่านไปกี่ปีก็เสียน้ำตาให้เรื่องนี้การดำเนินเรื่อง : วัลลีเป็นเด็กนักเรียนที่ตั้งใจเรียน มีความกตัญญู สร้างจากเรื่องจริงของ เด็กหญิงวัลลี ณรงค์เวทย์ ซึ่งเรื่องเกิดตั้งแต่วัลลีอายุ 12 ปี ในปี พ.ศ. 2524 อยู่อาศัยกับแม่ พ่อและยายที่ตาบอดใน จ.สมุทรสาคร ซึ่งในเรื่องเราจะเห็นคนที่คอยช่วยเหลือวัลลี ให้กลับมามีชีวิตที่ดีขึ้น ก็คือ “ครู” ครูของวัลลีมีบทบาทสำคัญมาก เพราะในเรื่องเป็นครูประถม ที่จะต้องเข้าไปเยี่ยมบ้านนักเรียน คอยแนะแนวนักเรียน ซึ่งก็ทำให้เห็นว่า ครูคอยดูแลเอาใจใส่ และสนใจนักเรียนเข้าใจปัญหาของนักเรียน การดูทุนอาหารกลางวัน ให้นักเรียน จนกระทั่ง วัลลีผลการเรียนดีมาตลอดแต่ผลการเรียนตกเพราะเธอเริ่มมีปัญหามาเรียนสายเนื่องจากต้องหาอาหารป้อนข้าวป้อนน้ำให้บุพการี ซึ่งระยะทางจากบ้านมาโรงเรียน ไกลมาก ต้องเดินทางเท้า 8 กิโลเมตร ทุก ๆ วัน จนผลการเรียนตกไม่ผ่านเรื่องทุน ทำให้ ผู้อำนวยการโรงเรียน และครู ต้องเข้าช่วยเหลือ จากจุดเริ่มต้นหาทุนการศึกษา ของ ด.ญ.วัลลี และครอบครัว ซึ่งตอนนั้นบังเอิญมีนักข่าวท้องถิ่นรู้ และได้เผยแพร่ตีพิมพ์ลงข่าวหน้า 1 ในเวลาต่อมา เรื่องราวของ วัลลี ลูกกตัญญู โด่งดังไปทั่วประเทศไทยในยุคสมัยนั้น เรียกได้ว่าเป็นนักเรียนที่ตั้งใจเรียนมาก และทำหน้าที่ลูกที่ดีมาก และหนึ่งในตัวละครที่อดพูดถึงไม่ได้คือครู ที่คอยช่วยเหลือ ผลักดัน จนทำให้รู้ถึงปัญหาของนักเรียนจนนำไปสู่การแก้ไข ซึ่งการสัมภาษณ์ในหนังตอนสุดท้ายที่ ด.ญ.วัลลีตัวจริงมานั่งสัมภาษณ์ก็มาพร้อมครูประจำชั้นของเธอด้วยนั่นเอง2. โหมโรง ปี พ.ศ. 2547 มีภาพยนตร์เข้าฉายที่เกี่ยวกับดนตรีไทย ซึ่งดัดแปลงมาจากเรื่องราวของ รองเสวกเอก หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ท่านคือหนึ่งในแรงบันดาลใจที่สร้างหนังเรื่องนี้ เป็นเรื่องที่ได้รับรางวัลมากมาย รวมไปถึงการเข้าชิง สาขาภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยมในการประกาศรางวัลอะแคเดมี ท่านคือตำนานดนตรีไทยการดำเนินเรื่อง : การเกิดและโตในครอบครัวดนตรีไทยของตัวเอก ซึ่งครูคนแรกคือพ่อของ หลวงประดิษฐไพเราะ นั่นเองที่คอยสอนในเรื่องของดนตรีไทยแม้ว่าในสมัยนั้นจะมีเครื่องดนตรีสากลเข้ามา แต่ก็ยังอนุรักษ์ไว้ และด้วยเหตุนี้เองก็ทำให้ท่านได้เป็นครูต่อมาสู่รุ่นลูก เรื่องนี้สอนให้รู้ว่าครูคนแรกคือพ่อแม่ หากการบ่มเพาะนิสัยที่ดี หรือความสามารถต่าง ๆ มีพ่อแม่คอยชี้นำก็จะส่งผลให้ลูกนำมาใช้และสืบทอดความเป็นครูสู่รุ่นต่อรุ่นต่อไป สืบสานอนุรักษ์ดนตรีไทยต่อไป3. มหาลัยเหมืองแร่ และในปี พ.ศ. 2548 ซึ่งภาพยนตร์ มหา'ลัยเหมืองแร่ซึ่งผู้ประพันธ์คือ อาจินต์ ปัญจพรรค์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ พ.ศ. 2534 เรื่องนี้ดัดแปลงมาจากชีวิตจริงของท่านการดำเนินเรื่อง : กล่าวถึง ตัวเอกของเรื่องที่เป็นคนที่เคยถูกรีไทร์ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการเรียนอยู่ชั้นปีที่ 2 ในตอนนั้นและต้องไปทำงานเหมือง ซึ่งการไปทำงานเหมืองก็ทำให้ท่านได้เรียนรู้ชีวิตจริง และนี่เองคือครูในชีวิตที่เวลาทำงานจะต้องใช้ประสบการณ์ของตนเอง ผ่านความผิดพลาด ความทุกข์ ความโศก แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้ท่านหยุด เพราะทุกอย่างคือ “ครู” ที่สอนให้ชีวิตได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ ครูในที่นี้หมายถึง ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ความอดทน ความเป็นมืออาชีพในการทำงาน แม้ว่าจะไม่ได้เรียนแล้วแต่ทุกคนไม่หยุดการเรียนรู้ในชีวิตจริง มีหลายสิ่งที่ต้องเรียนรู้และการเรียนรู้นี้เองที่มหาลัยที่ไหนก็สอนไม่ได้4. สามชุก ในปี พ.ศ. 2552 ภาพยนตร์เรื่องนี้เองที่อาจารย์ได้นำมาเปิดในคลาสเรียนของผู้เขียน ซึ่งเนื่องเรื่องมีความมุ่งมานะของครูต้นแบบมาก ๆ ทำให้นิสิตหลาย ๆ คนได้เขียนเรียงความส่งจากการดูภาพยนตร์เรื่องนี้ทำให้ ปลุกจรรยาบรรณวิชาชีพครู ได้ดีจริง ๆการดำเนินเรื่อง : ที่เริ่มจากนักเรียนหลายคนที่อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อคบเพื่อนไม่ดี แต่ก็มีครูคนหนึ่งคอยใส่ใจ คอยเอาตัวเองเข้าไปในเหตุการณ์ เข้าไปในชีวิตของนักเรียนเพื่อที่จะแก้ไขปัญหาเล่านั้น นั่นก็คือ ครูพินิจ ที่มี “จิตวิญญาณครู” อย่างเต็มเปี่ยม ในเรื่องเป็นเหตุการณ์ที่เจอกับนิเรียนที่ค่อนข้างเกเร มีเรื่องชกต่อย ขโมย ครูพินิจได้ สอน อบรม หลายต่อหลายครั้ง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความพยายามของครูพินิจ ที่ล้มเหลวหลายครั้งก็ไม่ย่อท้อที่จะให้ลูกศิษย์ได้ดี ซึ่งโปสเตอร์ชิ้นหนึ่งของหนัง ใช้ข้อความที่ว่า ครูหนึ่งคนที่มีลูกศิษย์ติดยามากที่สุด สะท้อนสังคมในสมัยนั้นได้ดีมาก ซึ่งครูพินิจไม่เพียงแต่สอนวิชาเรียนเท่านั้นแต่ยังเป็น ครูผู้ยกระดับวิญญาณมนุษย์ให้เด็กเหล่านั้นได้ดี5. คิดถึงวิทยา ผ่านมาหลายปีกับการไม่มีภาพยนตร์แนวตีแผ่นความจริงเกี่ยวกับชีวิตครูจนมาถึงเรื่อง คิดถึงวิทยาในปี พ.ศ. 2559 ภาพยนตร์ที่เรียกได้ว่ากระแสตอบรับดีมาก 100 ล้าน โดยเป็นภาพยนตร์ที่สร้างจากเรื่องจริงของ โรงเรียนเรือนแพ ของ ครูมาดสามารถ สุทะ ที่ทาง จีทีเอช ได้หยิบยกขึ้นมาทำการดำเนินเรื่อง : ซึ่งในเรื่องแสดงความมุ่งมั่นของครูมาก ๆ ที่พกทั้งจิตวิญญาณความเป็นครู ความตั้งใจที่จะสอนเด็กในพื้นที่ทุรกันดาน มอบชีวิตทั้งหมดให้กับการเป็นครูผู้ให้ คิดถึงสภาพที่ห่างไกลบ้าน อีกทั้งยังแสนไกลในการเข้าไปสอน ต้องไปเริ่มต้นชีวิตใหม่อย่างโดดเดี่ยว แต่ด้วยใจที่รักนักเรียนก็พยายามสอนทุกอย่าง เพราะที่นี่ไม่มีครูมาสอนเป็นปีแล้ว ทำให้ครูคนนี้อุทิศตนเพื่อเด็ก ๆ เดินทางไปสอน ในโรงเรียนที่ไม่มีแม้กระทั่งไฟฟ้า และเด็ก ๆ ก็ตั้งใจพยายามเรียน จนไปในทางสายอาชีพประสบความสำเร็จ สร้างอาชีพที่ดีเพื่อฟื้นฟูสภาพความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น ให้เจริญขึ้น สอนให้เด็กรู้จักการใช้ชีวิต การปฏิบัติเพื่อให้ประกอบอาชีพได้ โดยที่ทุกอย่างไม่ได้ยึดตามตำราเรียนทั้งหมด โดยในระหว่างนั้นเป็นสิบปี แฟนของครูครูมาด ก็ยังรอคอยด้วยความคิดถึงและเรื่องนี้ก็จบอย่างสวยงามที่คนรักของครูก็ยังรอคอยและเชื่อมั่นในตัวครูคอยสนับสนุนเขาให้ได้ทำงานที่รัก เรียกได้ เรียกได้ว่าเรื่องนี้มีทั้งความสนุก โรแมนติก ความรักครบรสมากจากทั้ง 5 เรื่องที่ผ่านมา จะสังเกตได้ว่าวิชาชีพหนึ่งที่คอยผลักดันให้สังคม คือวิชาชีพครู ครูที่มีจิตวิญญาณความเป็นครู ส่งผลให้นักเรียนมีอนาคตที่ดี ซึ่งส่งผลต่อสังคม และประเทศมาก ๆ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าคนที่ทำอาชีพ "ครู" มีส่วนในการขัดเกลาสังคมให้เป็นคนดีภาพที 1-2 และภาพปกโดยผู้เขียน, ภาพที่ 3 และภาพปกจาก flickr, ภาพที่ 4 และภาพปกจาก Poster Official, ภาพที่ 5 และภาพปกจาก Poster Official, ภาพที่ 6 และภาพปกจาก Poster Official Facebook