จากที่ผู้เขียนสัญญาไว้ในบทความก่อนหน้านี้ “ตอนนี้ฉันมีเงินเก็บ “13 ล้านบาท” ขอบคุณ “Hay Day” ที่ทำให้มีวันนี้ - แนะนำเกมมือถือ” ว่าจะมาบอกเล่าจุดอื่น ๆ หรือโซนอื่น ๆ ในเกม “Hay Day” ให้อ่านกัน วันนี้มีเวลาและโอกาสเหมาะผู้เขียนก็เลยจะมาเล่าเกี่ยวกับ “โซนบ่อเลี้ยงปลา” ให้อ่านกันค่ะ และ 7 อย่างที่กำลังจะพูดถึงนี้ คือ “ณ. เลเวลที่ 112” นะคะ ไม่รู้ว่าในอนาคตทางเกมจะมีอะไรอัพเดทมาให้เราเล่นกันอีกบ้าง เพื่อน ๆ ที่เล่นเกม “Hay Day” กลุ่มเดียวกันกับผู้เขียน ล้วนให้ความเห็นไปในทางเดียวกันค่ะ ว่าเป็นโซนที่ “น่าเบื่อมาก” เพราะว่ากว่าจะได้เล่นตกปลาจะต้องทำ “เหยื่อล่อปลา” ทิ้งไว้ก่อน ซึ่งใช้เวลาในการทำนานหลายชั่วโมง และหลายครั้งที่พอทำเสร็จก็ลืมกลับมาตกปลาซะอย่างนั้น อีกอย่างจังหวะการดึงเบ็ดเพื่อตกปลาก็นาน กว่าปลาจะงับเหยื่อค่ะ เป็นสาเหตุให้ใครหลายคนไม่ค่อยเล่นกัน แต่สำหรับผู้เขียนมองว่าก็สนุกดีค่ะ เหยื่อล่อปลาเราทำทิ้งไว้ได้ ส่วนการทำเหยื่อล่อปลาก็สามารถขยาย “ความจุกล่องอุปกรณ์หาปลา” ได้มากขึ้นโดยการใช้ “ไอเท็มพิเศษ” ในการอัพเกรด หรือถ้าไอเท็มพิเศษใดมีไม่ถึง ก็สามารถใช้เพชรช่วยอัพเกรดได้ค่ะ ทีนี้เราก็ปล่อยให้เครื่องจักรทำต่อเนื่องไปได้เรื่อย ๆ หลังจาก 5 - 6 ชั่วโมงผ่านไป เรามีเวลาว่างจากการพักเบรค กลับมาเราก็จะมีเหยื่อล่อปลาไว้ใช้ 3 - 4 อันค่ะ ดังนั้นผู้เขียนถึงบอกว่า “เพชรสำคัญมาก ๆ ในเลเวลสูงขึ้นไป” ค่ะTips & Tricks: เพื่อน ๆ สามารถกดที่ “คุณลุง” (ตรงนี้ผู้เขียนขออภัยจริง ๆ ค่ะ คือไม่ทราบจริง ๆ ว่าคุณลุงชื่ออะไร) เพื่อดู “วิธีตกปลา” และ “วิธีจับลอบสเตอร์” ได้นะคะภาพจากผู้เขียน สำหรับโซนบ่อเลี้ยงปลา จะสามารถ “ปลดล็อค” ให้เริ่มเล่นได้ใน “เลเวลที่ 27” ค่ะ ภายในโซนประกอบด้วย “โรงนา, โต๊ะทำเหยื่อล่อ, กล่องอุปกรณ์หาปลา, เครื่องทำตาข่าย, เครื่องผลิตลอบสเตอร์, เครื่องผลิตขนเป็ด และบ่อเลี้ยงปลา” ไปดูรายละเอียดทีละอย่างกันเลยค่ะ1. โรงนา อธิบาย “โรงนา” กันสักนิดค่ะ คือเอาไว้สำหรับเก็บ “หนังสือตกปลาของฉัน” (My Fishing Book) ตรงนี้จะมีประวัติเกี่ยวกับชนิดของปลาหลายชนิดบอกไว้ว่าเราเคยตกปลาชนิดไหนได้บ้าง ใช้เหยื่อชนิดใด และน้ำหนักมากที่สุดที่เราสามารถตกได้ อ่อ เราสามารถกดที่ “รูปปลา” เพื่อดูลักษณะเฉพาะทางกายภาพที่ปลาชนิดนั้น ๆ ชอบได้นะคะTips & Tricks: ทุก ๆ ระดับของ “ขนาดน้ำหนักตัวปลา” ที่เราจับได้จะมีเพชรให้เป็นรางวัลค่ะ สังเกตุได้จาก “การกระพริบที่ตัวปลา” และเราสามารถกดรับเพชรได้ โดยระดับขนาดตัวปลาจะแบ่งเป็น “ระดับ บรอนซ์ (Bronze), ซิลเวอร์ (Silver), โกลด์ (Gold), และ แพลทินัม (Platinum)” และจะได้รับเพชรทุก ๆ ระดับที่ตกได้ ดังนั้น “หลังจากที่ได้ขนาดปลาถึงแต่ละระดับ” เรามักจะลืมเข้ามากดรับเพชรค่ะ ถ้าว่าง ๆ ให้เพื่อน ๆ กดสมุดเล่มนี้ และสังเกตุดูที่รูปปลานะคะว่ากระพริบไหม ปลาบางตัวที่ยังไม่เคยกดรับเพชร เลยซักครั้ง เราสามารถกดรับเพชรได้ 4 ทีในครั้งเดียวเลยค่ะ หรือจะกดรูปปลาทุกรูปไม่ว่าจะกระพริบหรือไม่ก็ได้ ไม่ว่ากันค่ะภาพจากผู้เขียน2. โต๊ะทำเหยื่อล่อ เหยื่อล่อปลา มีทั้งแบบธรรมดา และแบบที่ใช้การ์ดแต่ละสีมาทำค่ะ (การ์ดแต่ละสีก็ได้มาตามโบนัสต่าง ๆ นะคะ เล่นส่งสินค้าทางเรือ หรือเปิดหีบสมบัติเจอ) โดยเหยื่อแต่ละชนิดจะดักจับปลาหายากได้แตกต่างกันไปค่ะ และอย่างที่บอกไว้ตั้งแต่ต้นบทความ ว่าสามารถเพิ่มจุดทำเหยื่อได้ โดยใช้เพชร (เพชรจึงสำคัญมาก ๆ ) โดยจำนวนเพชรที่ใช้ จะเพิ่มขึ้นเป็นระดับ ๆ ตามช่องที่ต้องการ (เนื่องจากมีเพชรไม่เพียงพอจึงไม่ได้ลองด้วยตนเอง) จากที่เห็นของเพื่อนคือเพิ่มสูงสุดได้จำนวน 6 ช่องนะคะภาพจากผู้เขียน3. กล่องอุปกรณ์หาปลา สำหรับกล่องนี้เอาไว้เก็บเหยื่อล่อทุกชนิดค่ะ ตั้งแต่เหยื่อเอาไว้ตกปลา, เหยื่อเอาไว้ดักจับลอบสเตอร์ หรือเหยื่อไว้ดักจับเป็ด ค่ะ และ “การเพิ่มความจุกล่องอุปกรณ์หาปลา” ก็สามารถเพิ่มได้โดยใช้ไอเท็มพิเศษตามจำนวนที่เกมระบุไว้แต่ละระดับค่ะภาพจากผู้เขียน4. เครื่องทำตาข่าย เครื่องนี้ไม่มีอะไรยุ่งยากซับซ้อนค่ะ การทำอุปกรณ์แต่ละอย่างก็ใช้เวลาน้อย หรือมากตามแต่ผลลัพธ์จากการใช้ตาข่ายแต่ละชนิด และใช้สำหรับผลิตอุปกรณ์ดังต่อไปนี้ค่ะกับดักลอบสเตอร์ ผลผลิตคือ สามารถ “ดักจับลอบสเตอร์” ได้ เพื่อนำมาผลิตต่อในเครื่องทำลอบสเตอร์ที่พร้อมนำไปปรุงอาหารตาข่ายจับปลา ผลผลิตคือ สามารถจับปลาในจำนวนหลาย ๆ ตัวในครั้งเดียวตาข่ายปริศนา (ตาข่ายชนิดนี้จะต้องใช้เพชรร่วมผลิตด้วยนะคะ) ผลผลิตคือ สามารถจับปลาในจำนวนหลาย ๆ ตัว และจะจับ “ไอเท็มพิเศษ หรือของแปลก” ได้ในครั้งเดียวกับดับเป็ด ผลผลิตคือ เป็ด เพื่อนำมาผลิตต่อในเครื่องผลิตขนเป็ดภาพจากผู้เขียน และจาก Facebook fan page “Hay Day” (Thailand Official) 5. เครื่องผลิตลอบสเตอร์ จุดถัดมาคือเครื่องเล่นที่เสริมเข้ามาเมื่อถึงเลเวลสูงขึ้นมาอีก ก็คือเครื่องทำ “กุ้งลอบสเตอร์” (Lobster Tails) หลังจากหลายชั่วโมงผ่านไปเราจะได้ลอบสเตอร์ส่วนหางปอกเปลือกแล้วพร้อมใช้งาน นำไปประกอบอาหาร จุดนี้เป็นอีกจุดที่ใช้เวลาในการผลิตนานมาก ๆ เลยค่ะ ตั้งแต่ขั้นตอนการดักจับก็ว่าใช้เวลาหลายชั่วโมงแล้ว ยังต้องมารอการผลิตที่นานอีก จึงกลายเป็นของหายากอย่างหนึ่งค่ะ ผลผลิตที่ได้สามารถนำไปผลิตอาหารหลากหลายชนิด เช่น ซุปลอบสเตอร์ หรือซูชิลอบสเตอร์ ก็ได้ มีหลายเครื่องผลิตที่ต้องการลอบสเตอร์ค่ะ6. เครื่องผลิตขนเป็ด เครื่องผลิตขนเป็ดใช้เวลานานแบบเดียวกันกับ “เครื่องผลิตลอบสเตอร์” เลย และขนเป็ดเป็นของหายากเช่นกันค่ะ ผลผลิตที่ได้สามารถนำไปผลิต “ผ้าห่ม, หมอน หรือหมวก” ก็ได้ค่ะ หรือบางครั้งก็จะมีออเดอร์แบบขอซื้อเฉพาะขนเป็ดอย่างเดียวก็มีค่ะภาพจากผู้เขียน7. บ่อเลี้ยงปลา บ่อเลี้ยงปลาน่าจะถือว่าเป็นจุดที่สำคัญที่สุดของโซนนี้แล้วค่ะ (ก็ถ้าไม่มีบ่อเลี้ยงปลาแล้วจะตกปลายังไงละเน๊อะ หุหุ) หยอกกันเล่นนะคะ เมื่อเริ่มเปิดโซนนี้ได้ ทางเกมจะให้บ่อมาไม่กี่บ่อเองค่ะ จากนั้นก็ให้เราทยอย “ขยายบ่อเลี้ยงปลา” ด้วยการใช้ “ไอเท็มพิเศษ” ตามจำนวนที่เกมต้องการ เช่น “โฉนดที่ดิน, ค้อนไม้, หมุดหลักเขต” อย่างละ 12 ชิ้น เป็นต้นค่ะ ยิ่งบ่อที่ลึกขึ้นไป ก็จะมีความต้องการไอเท็มพิเศษจำนวนมากขึ้นตามแต่ละบ่อค่ะ Tips & Tricks: บางครั้งหากโชคดี หรือในแต่ละเทศกาล ทางเกมจะมี “แจกของขวัญพิเศษ” ลอยอยู่เหนือน้ำก็มีค่ะ เพื่อน ๆ สามารถแตะที่กล่องของขวัญเพื่อรับรางวัลกันได้เลยภาพจากผู้เขียน และจาก Facebook fan page “Hay Day” (Thailand Official) Tips & Tricks เล็กน้อยก่อนจบบทความสำหรับวันนี้นะคะ อย่างแรกเลย “เพชร” จะได้มาง่ายมาก ๆ ในตอนเริ่มต้นเล่นเกมส์ และช่วงเลเวลยังไม่สูงมาก แต่จะหายากมาก ๆ ในช่วงเลเวลสูง ๆ ดังนั้น หากเป็นไปได้เพื่อน ๆ จะต้องเก็บเอาไว้ใช้ในอนาคตจะดีกว่าค่ะ และอย่างที่ 2 เพื่อที่จะเก็บไอเท็มพิเศษ เช่น “โฉนดที่ดิน” หรือ “น๊อตสั้น น๊อตยาว ต่าง ๆ” ไว้เพื่อใช้ในอนาคต ซึ่งในอนาคตหายากมาก ๆ จะต้องให้ความสำคัญกับการเพิ่ม “ความจุโรงนา” เป็นอันดับต้น ๆ เลยค่ะ เอาไว้โอกาสหน้าผู้เขียนจะมาเล่าเรื่องโซนอื่น ๆ ให้ฟังกันอีกนะคะ ยังมีโซนน่าสนใจอีกเพียบเลยค่ะ :)อ่านบทความเกี่ยวกับเกม “Hay Day”: “ตอนนี้ฉันมีเงินเก็บ “13 ล้านบาท” ขอบคุณ “Hay Day” ที่ทำให้มีวันนี้ - แนะนำเกมมือถือ”