หากพูดถึง Wes Anderson (เวส แอนเดอร์สัน) ผู้อ่านหลายคนคงจะนึกถึง ภาพยนตร์ที่ใช้การเคลื่อนกล้องที่รวดเร็วแทนการตัดต่อที่ฉับพลัน หรือการถ่ายทำที่สมมาตรนี้อาจเป็นแค่ส่วนหนึ่งที่เป็นเหมือนลายเซ็นของผู้กำกับมากฝีมือคนนี้ เพราะที่จริงแล้วบทภาพยนตร์ก็เป็นส่วนตัวก็เป็นงานที่เขาถนัด ตามมาด้วย Mood & Tone ที่นับได้ว่าแค้ดูก็รู้ว่านี้แหละงานของ เวส แอนเดอร์สัน วันนี้ผู้เขียนจะพามารู้จักกับภาพยนตร์อีกเรื่องในหลายๆเรื่องของเขาอย่าง The Grand Budapest Hotel คดีพิสดารโรงแรมแกรนด์บูดาเปสต์ ที่ฉายบนจอเงินตั้งแต่ 2014 นับว่าเป็นภาพยนตร์ที่มีอายุพอสมควร วันนี้เราจะมารู้จักกับ สถาปัตย์แห่งการทำหนังความงามที่ซ้อนอยู่ในภาพยนตร์เรื่องนี้ จะว่าไปเรื่องผู้กำกับว่าต็าซแล้วทีมนักแสดงก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ผู้เขียนต้องหยิบยกมาไม่ว่าจะเป็น Ralph Fiennes รับบทเป็น M. Gustave / Mathieu Amalric รับบทเป็น Serge X. / F. Murray Abraham รับบทเป็น Mr. Moustafa / Jeff Goldblum รับบทเป็น Deputy Kovacs / Edward Norton รับบทเป็น Henckels / Saoirse Ronan รับบทเป็น Agatha / Tony Revolori รับบทเป็น Zero / Tilda Swinton รับบทเป็น Madame D. นับว่าขนขึ้นขบวนกันมามากมายเลยก็ว่าได้เล่าย่อๆเมื่อการตายของหญิงแก่ที่ร่ำรวยคนหนึ่งอย่าง Madame D. เกิดขึ้น ทำให้ตระกูลต้องวุ้นวายเพราะสมบัติของเธอนั้นมันมีมากมายมหาศาลจนนับไม่ได้เลยทีเดียว แต่แล้วเรื่องราวก็วายป่วงมากขึ้นเมื่อชายที่ได้มรกดของเธอกับเป็นชายที่ไม่ได้อยู่ในวงศ์ตระกูลอย่าง M. Gustave แต่เรื่องราวมันไม่ได้จบลงเช่นนั้นเพราว่าความวินาศสันตะโรกำลังจะตามเขามา เรื่องราวทั้งหมดจะเป็นอย่างไรต้องติดตาม“กล้องพร้อม นักแสดงพร้อม เทปเดิน…ซีน 1 คัท 1 เทค 1…แอ็กชัน”1 ซีน (Scene) คือ “ฉาก” ว่าด้วยเรื่องของฉาก / ภาพยนตร์ที่มีความเป็นเอกษณ์สุดๆของชายที่ชื่อ เวส แอนเดอร์สัน ที่ไม่ใช่แค่ความเป็น เวส แต่จริงๆแล้วภาพยนตร์เรื่องนี้โปรดักชันดีมากๆ ด้วยความที่โปรดักชันจัดสุดขนาดนี้เลยกลายเป็นว่า เวส ต้องเอาเลนส์ที่ให้ได้มุมกล้องกว้างที่สุดเท่าที่เขาจะหาได้เพื่อให้ได้ซึ่งความงามของภาพยนตร์เรื่องนี้ ธีมหลังของเรื่องถูกสร้างให้เป็นความยุโรปในเรื่องนี้ถือว่าทำออกมาได้ดีมากๆ อธิบายเรื่องราวได้อย่างไม่เคอะเขิน ที่ผู้เขียนบอกว่าภาพยนตร์เรื่องนี้นับว่าเป็น สถาปัตย์แห่งภาพยนตร์ เพราะเรื่องนี้ไม่ได้มีแค่งานโปรดักชันที่เด่นเท่านั้น แต่ฉากต่างๆกับการเล่นมุมกล้องในเรื่องก็ถูกปรับเปลี่ยนในมีปฏิสัมพันธ์กับตัวละครได้อย่างสวยงาม ภาพยนตร์ที่จะว่าดูง่ายก็ง่ายจะว่ายากก็ยาก เพราะเป็นภาพยนตร์ที่ไม่ได้เหมาะกับทุกคน ในฉากเราจะได้เห็นเรื่องราวของความหวานอด ขมกลืน รุ่งเรื่อง และล่วงโรย นี้คือความสิ่งที่สวยงามของภาพยนตร์เรื่องนี้ 2 คัท (Cut) คือ “มุม”ว่าด้วยเรื่องของบท / ถึงแม้ว่าภาพยนตร์จะมีบทที่ไม่ค่อยเข้าท่าเข้าทางเพราะ เวส แอนเดอร์สัน ได้รับแรงบันดาลใจจากนักเขียนท่านหนึ่งที่ชื่อ “Stefan zwieg” จึงมีความเป็นส่วนตัวอยู่ไม่น้อย ถึงแม้ว่าจะเป็นภาพยนตร์ที่จะไม่ค่อยเป็นที่นิยม แต่ก็โดนใจผู้เขียนอยู่อย่างไม่เคอะเขิน ด้วยความไม่สมเหตุสมผลมีความประเดประดังแต่ก็โดนใจ เพราะตัวละครสองตัวหลักอย่าง M. Gustave / Zero ซึ่งเป็นหัวหน้ากับลูกน้องแต่มีความสัมพันธ์เหมือน พี่ชายน้อยชายเสียมากกว่า การเล่าเรื่องราวที่ราวเร็ว แต่ก็มีเล่าเรื่องราวได้อย่างครอบคลุมเป็นอะไรที่ผู้เขียนชอบ ถึงบทจะไม่แข็งแรงแต่ภาพยนตร์ก็ไม่ได้น้อยหน้าเรื่องอื่นเลย บ่อยครั้งที่เราจะเป็นความเป็นครอบครัวในบทของ เวส แอนเดอร์สัน เรื่องนี้ก็เช่นกันนับเป็นอะไรที่น่าชื่นชมและตรงไปตรงมาอย่างที่สุด ด้วยเหตุนี้ภาพยนตร์เรื่องนี้จึงกลายเป็นสิ่งที่ทุกคนพูดถึง3 เทค (Take) คือ “จำนวนครั้งที่เล่น”ว่าด้วยเรื่องของตัวละคร / ตัวละครของ เวส แอนเดอร์สัน มีความเป็นเอกลักษณ์คือ เด็กมักจะทำตัวเป็นผู้ใหญ่ แต่ผู้ใหญ่มักจะทำตัวไม่ยอมโต เรื่องนี้ก็เช่นกัน ตัวละครในเรื่องมักจะมีความหอมหวานและขมขืนประปลายไปตามเรื่อง ก็สืบเนื่องมาจากบทของภาพยนตร์ที่ส่งผลมาจนทำให้ตัวละครของเรื่องแสดงออกได้อย่างน่าชื่นชม ด้วยความเป็น เวส เขามักจะนำเราเข้าไปสำรวจจิตใจและความไม่สมบูรณ์แบบของผู้คนและเรื่องนี้ก็เช่นกัน เขาทำมันอย่างนั้น The Grand Budapest Hotel เลยกลายเป็นภาพยนตร์ที่มีตัวละครที่มีคาแรกเตอร์ที่หลากหลายเล่าเรื่องราวได้อย่างสวยงาม ในความหอมหวานของวันวานและความขมขืนในปัจจุบัน นี้เองที่ทำให้ผู้เขียนหลงรักตัวละครในเรื่องนี้ ที่มีความบ้าๆบอๆและเล่นกับความเป็นมนุษย์ได้อย่างตรงไปตรงมา มันเป็นจุดที่ตรงกับผู้เขียนที่บางครั้งก็ทำตัวเป็นเด็กไม่ยอมโต ตลอดมาจนถึงทุกวันนี้มันตรงจนน่าหัวเราะในขณะที่รับชม ทีมนักแสดงเองก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เรื่องนี้สมบูรณ์แบบ เพราะเล่นออกมาได้ดีมากๆตรงกับคาแรกเตอร์ที่ได้รับจริงๆ 4 Slate คือ ป้ายที่เขียนบอก ซีน คัท เทคว่าด้วยเรื่องของความหมาย / น่าสนใจไม่น้อยกับประเด็นตกผลึกกับคำว่า ไม่อาจหวนคืนนี้คือสิ่งที่ผู้เขียนได้จากเรื่องนี้ ความยิ่งใหญ่ของโรงแรมแกรนด์บูดาเปสต์ และการเล่าเรื่องราวในอดีตมาจนถึงปัจจุบัน สื่อให้เห็นถึงความไม่จีรังยั่งยืนของมนุษย์ได้อย่างไม่เคอะเขิน ไม่ใช้แค่การเล่าเรื่องผ่านธีมหลังอย่างโรงแรมแต่สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนชอบมากที่สุดคือ การเล่าเรื่องผ่านตัวละครเห็นได้เด่นชัด ถึงคำที่ผู้เขียนพูดถึงก่อนหน้า อดีตที่หอมหวานมักเป็นกับดักให้คนเราก้าวผ่านมันไม่ได้ นี้คือสิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนชอบใช่และภาพยนตร์เรื่องนี้ก็เป็นอีกเรื่องที่ตรงตามนั้น การเล่าเรื่องของ เวส แอนเดอร์สัน แม้จะตรงไปตรงมาแต่ก็ไม่ได้ทำให้เราเหล่าคนดูเข้าใจมันได้ในการชมแค่ครั้งเดียว สิ่งหนึ่งที่น่ากลัวคือคำว่าสงคราม ในเรื่องนี้เราจะเห็นได้ว่าสงครามนั้นเป็นสิ่งที่น่ากลัว ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลกลใดก็ตาม แต่ภาพยนตร์ก็ทำมันออกมาได้ดีจริงๆ ความขมขืนของชีวิตเมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงที่ล่วงโรย เราได้สัมผัสกับตัวละครที่ชื่อ Zero ที่เคยรุ่งโรจน์และมาถึงจุดที่ล่วงโรยได้อย่างตรงไปตรงมา อย่างไรก็ตามภาพยนตร์เรื่องนี้ก็นำเสนอได้อย่างน่าสนใจกับการเข้ามาสำรวจจิตใจมนุษย์และของผู้เขียนให้ฉุดคิดถึงเรื่องราวเหล่านี้ไม่มากก็น้อย 5 “คัท !!!!”ภาพยนตร์ที่เหมือนเป็น Picture book ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวที่น่าค้นหา หรือแม้แต่เรื่องราวของความสวยงามในส่วนของงานโปรดักชัน อย่างไรก็ตามภาพยนตร์เรื่องนี้ก็เป็นอีกเรื่องที่ผู้เขียนชอบมากๆไม่ว่าจะเป็น Mood & Tone หรือการแบ่งเรื่องราวออกเป็น Chapter มันยิ่งเป็นการตอกย่ำว่าภาพยนตร์เรื่องนี้เหมือนกำลังเล่นกับคนดูว่าคุณกำลังเปิดหนังสือเพื่ออ่านมันอยู่ เป็นภาพยนตร์ที่ใช้การเล่นภาพยนตร์ที่น่าสนใจ หากท่านใดที่มีแผ่นก่อนที่ภาพยนตร์จะเล่นจะมีตัวอักษรบอกเลยว่าให้ปรับขนาดของจองเป็นขนาด 16:9 และการเล่าเรื่องแต่ละยุคในภาพยนตร์ฉากในเรื่องหรือขนาดของเฟรมภาพจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นอะไรที่เจ๋งเอาเรื่องเลยทีเดียว ในเรื่องนี้ใช้มากถึง 3 ขนาดเท่าที่ผู้เขียนดูมา “ซึ่งต้องดูผ่านแผ่น DVD หรือ Blu-ray Disc เท่านั้นถึงจะได้ชมความงามแบบเต็มที่นี้” เฟรมภาพขนาดที่หนึ่งคือ 1.85:1 Wide Screen เป็นฉากในปี 1985 เฟรมภาพขนาดที่สองคือ 2.4:1 Anamorphic เป็นฉากในปี 1965 และเฟรมสุดท้ายคือ 1.33:1 Academic เป็นในฉากปี 1932 สื่อให้เห็นถึงความใส่ใจของผู้กำกับว่า ในช่วงปีต่างๆนี้มีการใช้เฟรมภาพตามนี้มาก่อนโดยการเหลียกเลี่ยงการใช้ขาวดำเพื่ออ้างอิงว่ายุคนั้นภาพยนตร์ใช้สัดส่วนเฟรมภาพแบบนี้นับว่าเจ๋งมากๆ อีกอย่างคือการใช้สีและภาพได้สวยงามและจัดจ้าน นี้จึงเป็นเหตุให้ผู้เขียนนึกถึง Picture book ใครที่เป็นแฟนหนังสือสารคดีอย่าง national geographic มันเหมือนแบบนี้มากๆ และสิ่งหนึ่งที่พลาดไม่ได้คือภาพยนตร์เรื่องนี้ในหลายๆฉากไม่ใช่ฉากจริงแต่เป็นแบบจำลอง และจงใจให้เราเหล่าคนดูรู้เลยว่านี้คือแบบจำลอง เป็นอีกสิ่งที่น่าสนใจ เป็น gimmick ของ เวส แอนเดอร์สัน ที่ใส่เข้ามาในเรื่องนี้ชอบประโยคนี้ “ยังมีกลิ่นอายของอารยธรรมหลงเหลือในโรงฆ่าสัตว์อันป่าเถื่อนแห่งนี้ ซึ่งนั่นเคยเป็นที่รู้จักในนามมนุษย์” - M. Gustave(สิ่งหนึ่งที่คนดูอย่างผู้เขียนเห็นคือความตั้งใจของทีมผู้กำกับทีมนักแสดง คะแนนเต็มแบบไหนอย่างไรไม่ควรนำมาตัดสิน กับเรื่องของภาพยนตร์ , อนิเมะ , ซีรีส์ , แอนิเมชัน และเกม "คะแนนของคุณไม่ใช่คะแนนของใคร ที่สำคัญกำลังใจย่อมดีกว่าการตัดสินด้วยคะแนน" ผู้เขียนจะย้ำอยู่เสมอ สิบปากว่าไม่เท่าตาคุณเห็น ต้องชมเองให้ได้เท่านั้น)#จิปาถะและอรรถรสขอบคุณภาพประกอบจาก The Grand Budapest Hotel - ปก1 - ปก2 / 1 / 2 / 3 / 4 / 5 / 6 / 7 / 8 / 9 ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก End Credits ท้ายเรื่อง และการเป็นแฟนเดนตายผู้กำกับภาพยนตร์ , อนิเมะ , ซีรีส์ , แอนิเมชัน และเกม นักเขียนบทภาพยนตร์ , อนิเมะ , ซีรีส์ , แอนิเมชัน และเกม นักแสดงทุกท่านทีมสร้างภาพยนตร์ , อนิเมะ , ซีรีส์ , แอนิเมชัน และเกมทุกคนและบริษัทและค่ายผู้ผลิตภาพยนตร์ , อนิเมะ , ซีรีส์ , แอนิเมชัน และเกมและในวันนี้ก่อนจากกันไปบอกเราหน่อยว่าผู้อ่านเป็นแฟนภาพยนตร์เรื่อง The Grand Budapest Hotel : คดีพิสดารโรงแรมแกรนด์บูดาเปสต์ 2014 เพราะอะไร อย่าลืมกดติดตามเพื่อเป็นกำลังใจ แล้วท่านจะไม่พลาดเหล่าคอนเทนต์ใหม่ๆที่ทาง จิปาถะ และ อรรถรส จัดมาให้แบบ Exclusive เจาะลึกถึงวงการบันเทิงที่มากกว่าใคร หากคุณรักภาพยนตร์ รักซีรีส์ อนิเมะ แอนิเมชัน และเกม ที่เดียวที่ จิปาถะ และ อรรถรสจะฟังเพลงหรือดูหนัง ซีรีส์ใหม่สุดปัง โหลดเลยที่ App TrueID โหลดฟรี !