สวัสดีคุณผู้อ่านครับ หลายท่านคงพอจะทราบบุคลากรเบื้องต้นที่ทำหน้าที่ในการสร้างภาพยนตร์กันอยู่บ้างแล้วใช่ไหมครับ ตำแหน่งที่รู้จักกันเป็นอย่างดีที่สุดก็คงจะเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ เพราะเป็นคนที่คอยรับหน้าและเป็นหัวเรือหลักของภาพยนตร์ ซึ่งจริง ๆ แล้วยังมีตำแหน่งอีกมากมายที่สำคัญสำหรับการจะสร้างภาพยนตร์ขึ้นมานะครับ บทความนี้ผมจึงอยากจะมาแนะนำคุณผู้อ่านให้ได้ลงลึกเพื่อไปรู้จักกับตำแหน่งต่าง ๆ และหน้าที่ของพวกเขาเหล่านี้ครับภาพโดย Waldemar BrandtStory Editor คัดเลือกเรื่องราวที่จะถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ (ซึ่งจะเป็นคนของทางสตูดิโอ) จะคอยวิเคราะห์บท อ่านบท อ่านหนังสือและพวกวรรณกรรมต่าง ๆ เพื่อค้นหาเรื่องราวที่มีศักยภาพพอที่จะนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์Writer/Screenwriter (นักเขียนบท) นำเรื่องราวที่ทางสตูดิโอเลือกมาต่อยอดเขียนเป็นบทภาพยนตร์Dialogue Coach (โค้ชการพูด) ติวนักแสดงให้พูดประโยค หรือ สำเนียงให้เหมาะสมกับบทบาท อย่างบางกรณีอาจจำเป็นต้องมีการใช้ภาษาท้องถิ่น โค้ชก็จะเข้ามาช่วยในเรื่องนี้ ซึ่งวงการภาพยนตร์ไทยจะคุ้นชินกับ Acting Coach (โค้ชการแสดง) มากกว่าCasting คัดเลือกนักแสดงที่เหมาะสมกับบทบาทตัวละคร มักจะเชิญนักแสดงที่มีศักยภาพมาอ่านบทภาพยนตร์บางส่วนและให้ทดลองเล่นดูเพื่อประกอบการคัดเลือกภาพโดย Joel MunizProducer เป็นผู้ดูแลควบคุมตลอดโปรเจคการสร้าง ประสานงานกำกับดูแลและควบคุมเรื่องต่าง ๆ เช่น การระดมทุน การว่าจ้างบุคลากรที่สำคัญ และการจัดจำหน่ายภาพยนตร์ มีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของการสร้างภาพยนตร์ตั้งแต่ขั้นตอนการพัฒนาไปจนจบโปรเจค จะเป็นคนจากสตูดิโอโดยตรงExecutive producer หากจะนิยามกันก็คือ โปรดิวเซอร์ที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในด้านเทคนิคกระบวนการสร้างภาพยนตร์ แต่มีบทบาทด้านการเงิน หรือ คอยรับรองว่าโปรเจคจะได้ไปต่อ หรือ ก็คือเป็นผู้อนุมัติงบในการสร้างภาพยนตร์นั่นแหละLine producer ผู้ประสานงานระหว่างสตูดิโอ/โปรดิวเซอร์ กับ ผู้จัดการกองถ่าย รับผิดชอบเรื่องการจัดการงบประมาณการสร้าง ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายรายวัน ซึ่ง production manager จะเป็นคนคอยรายงานค่าใช้จ่ายที่ต้องการในแต่ละวันให้กับ line producerProduction manager (ผู้จัดการกองถ่าย) ดูแลความเรียบร้อยและสิ่งต่าง ๆ ในกองถ่ายทำ ตั้งแต่เรื่องบุคลากร, เทคโนโลยี, งบประมาณ และเวลากำหนดการ ความรับผิดชอบหลักคือต้องทำให้การถ่ายทำอยู่ในตารางเวลาและอยู่ในงบประมาณที่ตั้งเอาไว้ รวมถึงดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายรายวัน ค่าตัวบุคลากร ค่าโปรดักชั่น ค่าเช่าอุปกรณ์แต่ละวัน ซึ่งทำงานภายใต้การดูแลของ line producer และคอยกำกับดูแลประสานงานกับ production coordinatorAssistant production manager (ผู้ช่วยผู้จัดการกองถ่าย) คอยช่วยงาน PM ดำเนินงานต่างๆให้ PM ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีการจ้างตำแหน่งนี้เฉพาะกองถ่ายภาพยนตร์ใหญ่ ๆ ของฮอลลีวู้ดเท่านั้นProduction coordinator (ผู้ประสานงานกองถ่าย) รับผิดชอบในการจัดการโลจิสติกส์ทั้งหมด ตั้งแต่การจ้างทีมงาน การเช่าอุปกรณ์และการนัดคิวนักแสดงProduction accountant จัดการเรื่องบัญชีการเงินภาพโดย Dương Trần QuốcLocation manager (ผู้จัดการสถานที่) กำกับดูแลเรื่องสถานที่ จะคอยอ่านสคริปต์แล้วตรวจว่าสถานที่แบบไหนบ้างที่ต้องใช้สำหรับถ่ายทำ และคอยรายงานกับ production mamager เรื่องงบประมาณ ค่าธรรมเนียมสถานที่ / ใบอนุญาตสำหรับการถ่ายทำLocation scout (หน่วยลาดตระเวน) คอยค้นหาสถานที่ ถ่ายภาพและจดบันทึกสถานที่ต่าง ๆ ที่น่าจะเหมาะสำหรับการถ่ายทำ ซึ่งบางครั้ง location manger ก็จะเป็นคนหาเอง (ควบตำแหน่งนี้ไปเลย)Script supervisor/Continuity person ติดตามการถ่ายทำ จดบันทึกในทุกช็อตคอยดูอุปกรณ์ประกอบฉาก บล็อกกิ้งนักแสดง และรายละเอียดต่าง ๆ เพื่อให้มั่นใจว่าทุกช็อตและทุกซีนจะมีความต่อเนื่องกัน ตำแหน่งนี้จะต้องคอยดูการเคลื่อนไหวของนักแสดง ทิศทางที่นักแสดงมองในช็อต การพูดหรือตอบสนองรวมถึงตำแหน่งของอุปกรณ์ที่ใช้ ช็อตต่อช็อต หากมีช็อตไหนที่ไม่ถูกต้องอย่างเห็นได้ชัดมาก ๆ จะต้องมีการแจ้งให้ผู้กำกับทราบและต้องมีการถ่ายช็อตนั้นใหม่ ยกตัวอย่างเช่น ในช็อตภาพกว้างนักแสดงมีการใส่หมวก แต่ในช็อตภาพแคบหมวกดันหายไปซะงั้น ก็จำเป็นต้องถ่ายแก้ในช็อตนี้ภาพโดย KAL VISUALSDirector (ผู้กำกับ) กำกับการสร้างภาพยนตร์ ผู้กำกับส่วนใหญ่มักจะมีอำนาจสูงสุดในกองถ่าย (แต่โปรดิวเซอร์ก็จะคอยคุมอยู่อีกที) โดยทั่วไปผู้กำกับภาพยนตร์จะรับผิดชอบในด้านความคิดสร้างสรรค์และอารมณ์ของหนัง คอยควบคุมให้หนังออกมาตรงตามที่จินตนาการภาพไว้จากบทภาพยนตร์ เป็นคนชี้นำทีมเทคนิคและนักแสดงเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์นั้น มีบทบาทสำคัญในการเลือกนักแสดง ทีมงาน สถานที่ถ่ายทำ รวมถึงคอยวางแผนการถ่ายทำ โดยการทำงานของผู้กำกับจะมีข้อจำกัดอยู่ไม่กี่เรื่อง เรื่องที่สำคัญคือเวลาและงบประมาณ ต้องถ่ายทำให้อยู่ในตารางเวลา และต้องสมดุลระหว่างความสร้างสรรค์กับงบประมาณให้ไปด้วยกันให้ได้ ซึ่งผู้กำกับก็จะถูกจ้างมาโดยโปรดิวเซอร์อีกที (นอกจากว่าผู้กำกับจะควบตำแหน่งโปรดิวเซอร์เองด้วย)วิธีการทำงานของผู้กำกับแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน บางคนอาจจะวางโครงร่างมาหลวม ๆ แล้วให้นักแสดงด้นสดตามที่อิมโพรไวส์ได้ ในขณะที่บางคนจะควบคุมทุกอย่างให้ทีมงานและนักแสดงทำตามที่ตัวเองต้องการแบบเป๊ะ ๆ บางคนก็เขียนบทเอง แต่บางคนก็ทำงานร่วมกับมือเขียนบท บางคนเลือกที่จะตัดต่อหนังด้วยตนเอง บางคนก็แต่งเพลงประกอบหนังเองด้วย...อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถและขอบเขตที่ทางสตูดิโอจะอนุญาตให้ทำได้ ส่วนใหญ่ผู้กำกับที่เลือกจะทำหลาย ๆ ตำแหน่งเองมักจะเป็นโปรเจคที่ตนเองรักและหวงมาก ต้องมี passion กับมัน ซึ่งหากภาพยนตร์ที่ทางสตูดิโอจ้างมากำกับเฉย ๆ ก็อาจจะแค่กำกับเสร็จแล้วก็จบกันไปมีหลายหนทางมากที่จะก้าวมาเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ บางคนเริ่มจากการเป็นนักเขียนบท, ช่างภาพ, นักตัดต่อ หรือแม้แต่นักแสดง และบางคนก็จบมาจากสถาบันสอนภาพยนตร์โดยตรงเลยFirst assistant director (1st AD : ผู้ช่วยผู้กำกับหนึ่ง) ช่วยให้ผู้กำกับทำงานได้สะดวกขึ้น คอยวางแผนกำหนดการถ่ายทำโดยแบ่งสคริปต์ออกเป็นส่วน ๆ และคอยประสานงานกับฝ่ายต่าง ๆ และเหล่านักแสดงให้เป็นไปตามตามที่ผู้กำกับต้องการSecond assistant director (2nd AD : ผู้ช่วยผู้กำกับสอง) คอยประสานงานระหว่าง Production maneger กับ 1st AD จะคอยทำงานร่วมกับนักแสดงและทีมงานและคอยจัดการเรื่องเอกสารซึ่งก็มีทั้ง call sheets (เอกสารที่ระบุว่าคิวนี้ใครจะต้องมาบ้าง ต้องมาถึงกี่โมง เข้าฉากกี่โมง ทำอะไรบ้าง เตรียมอะไรบ้าง), actor's time sheets (คิวนักแสดง), production report (จดบันทึกการถ่ายทำ) และจะคอยช่วยผู้ช่วยหนึ่งในการวางนักแสดงประกอบและคอยจัดการเรื่องฝูงชนที่อาจมีปัญหาต่อการถ่ายทำ (ผู้กำกับบางคนก็อาจจะไต่เต้าขึ้นมาจากการเป็นผู้ช่วยได้เหมือนกัน แต่ในส่วนของการเป็นผู้กำกับนั้นหลัก ๆ จะใช้ความคิดสร้างสรรค์ ในส่วนของผู้ช่วยจะเป็นการบริหารจัดการมากกว่า)อาจารย์สอนภาพยนตร์ของผมได้นิยามหน้าที่ของ 'โปรดิวเซอร์และผู้กำกับ' ไว้ว่าProducer ทำยังไงก็ให้หนังออกมาเสร็จDirector ทำยังไงก็ให้หนังออกมาดีภาพโดย William RouseDirector of photography (DoP/DP : ผู้กำกับภาพ) หัวหน้าแผนกทีมกล้องและทีมไฟ คอยทำงานร่วมกับผู้กำกับว่าต้องการให้ภาพออกมาในลุคแบบไหน DP จะตัดสินใจว่าควรใช้เลนส์ ฟิลเตอร์ แสงและจัดองค์ประกอบภาพอย่างไรเพื่อให้ออกมาสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของผู้กำกับCamera Operator ควบคุมกล้อง และถ่ายภาพตามที่ DP สั่ง ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว DP จะไม่ได้เป็นคนคุมกล้อง แต่บางครั้งสองตำแหน่งนี้ก็ทำควบกันได้ภาพโดย ShareGridFocus puller / First assistant camera (คนหมุนโฟกัส / ผู้ช่วยกล้องหนึ่ง) โดยทั่วไปจะรับผิดชอบในการบำรุงรักษากล้อง รวมถึงยังคอยเปลี่ยนเลนส์ แต่หน้าที่หลักคือต้องคอยหมุนโฟกัสให้กล้องโฟกัสตามระยะที่ถ่ายภาพภาพโดย Jakob OwensClapper loader / Second assistant camera (คนตีสเลด / ผู้ช่วยกล้องสอง) คอยเขียนข้อมูลลงสเลดและตีสเลด ในยุคที่ยังใช้กล้องฟิล์มกันอยู่จะทำหน้าที่คอยโหลดฟิล์มด้วย แต่เมื่อเปลี่ยนมาเป็นยุคดิจิทัลก็จะเป็นคนคอยจดบันทึกการถ่ายทำGaffer แผนกแสงไฟ รับผิดชอบในการจัดไฟสำหรับการถ่ายทำภาพโดย Nik MacMillanProduction sound mixer / Sound recordist แผนกเสียงในกองถ่าย รับผิดชอบในการมิกซ์เสียงและบันทึกเสียงจากไมโครโฟน จะคอยตัดสินใจว่าจะบันทึกเสียงในแต่ละช็อตอย่างไร ไมโครโฟนแบบไหนที่เหมาะสมกับช็อตที่ถ่ายทำ และทำการตั้งค่าระบบเสียงBoom operator คนถือก้านบูม คอยยื่นไมโครโฟนจ่อไปให้ตรงกับทิศทางของนักแสดงเพื่อบันทึกเสียงพูดของนักแสดง คอยส่งข้อมูลให้ sound mixer จัดการหากมีเสียงรบกวนภาพโดย David CondreyProduction designer (ผู้ออกแบบงานสร้าง) ควบคุมและสร้างภาพลักษณ์ที่จะออกมาในภาพยนตร์ เช่น เสื้อผ้า, รูปลักษณ์, การแต่งหน้าของตัวละคร จะทำงานใกล้ชิดกับผู้กำกับเพื่อให้ออกตรงตามลุคหนังที่ต้องการArt director (ผู้กำกับฝ่ายศิลป์) คอยรายงานต่อ Production designer และกำกับดูแลศิลปินออกแบบโดยตรง อย่างพวก set designers, graphic artists, และ illustrators ทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้ประสานงานการก่อสร้างและศิลปินออกแบบ เพื่อดูแลรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับฉาก ซึ่งโดยทั่วไปก็จะดูแลงบประมาณและกำหนดการเวลาของแผนกศิลป์Set designer (ผู้ออกแบบฉาก) เป็นช่างเขียนแบบ ซึ่งมักจะเป็นสถาปนิกที่ต้องคอยดูโครงสร้างหรือพื้นที่ถ่ายทำIllustrator วาดแนวคิดการดีไซน์ออกมาเป็นภาพ เพื่อถ่ายทอดและสื่อสารแนวคิดของ production designer ออกมา บางครั้งก็จะได้รับเครดิตว่าเป็น concept artistsภาพโดย Mathias ArlundGraphic artist ออกแบบและสร้างองค์ประกอบกราฟิกทั้งหมด ตั้งแต่ป้ายโฆษณา, บิลบอร์ด, โปสเตอร์, โลโก้ ซึ่งมักจะทำออกมาหลาย ๆ แบบเพื่อให้ production designer เลือกภาพโดย ShlagSet decorator รับผิดชอบการตกแต่งฉาก ซึ่งรวมถึงเฟอร์นิเจอร์และวัตถุอื่น ๆ ทั้งหมดที่จะเห็นในภาพยนตร์Propmaster ค้นหาและจัดการอุปกรณ์ประกอบฉากทั้งหมดที่ปรากฏในภาพยนตร์ รวมถึงของที่นักแสดงจะต้องถือ หรือแม้แต่อาหารที่ใช้ในฉากด้วยWeapons master ช่างเทคนิคเฉพาะด้านเกี่ยวกับอาวุธปืน ส่วนใหญ่ต้องมีการฝึกอบรมและมีใบอนุญาตพิเศษCostume designer (นักออกแบบเสื้อผ้า) รับผิดชอบเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายของนักแสดงที่ใช้ในการถ่ายทำ และยังดูแลในส่วนของการออกแบบ วางแผน จัดการการผลิตเสื้อผ้าว่าจะใช้เนื้อผ้า สีผ้า และขนาดของเสื้อผ้าแบบไหน ซึ่งมันมีผลกับโทนหนังมาก จึงจำเป็นต้องทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้กำกับ ในโปรดักชั่นใหญ่ ๆ ก็มักจะมีผู้ช่วยอย่างน้อยหนึ่งคนภาพโดย Makhmutova DinaKey make-up artist วางแผนการออกแบบการแต่งหน้าสำหรับนักแสดงนำและนักแสดงสมทบ คอยดูแลเรื่องเมคอัพ และถ้ามีการใช้ SFX ก็จะมีการปรึกษากับ special effects makeupMake-up artist แต่งหน้าทำผมและเอฟเฟกต์พิเศษเพื่อให้ลุคออกมาที่ต้องการให้ปรากฎในหนัง คอยรายงานการทำงานต่อ Key make-up artistSpecial make-up effects Artist (SFX makeup) มักจะทำงานกับโมเดลหรือโครงสร้าง ใช้เอฟเฟกต์แต่งหน้านักแสดง และทำอวัยวะเทียมที่ใช้ในการถ่ายทำHair stylist จัดแต่งทรงผมให้กับนักแสดงProduction Caterer จัดการดูแลอาหารทั้งหมดสำหรับกองถ่าย โดยต้องทำให้แน่ใจว่าอาหารที่จัดหาให้นั้นตรงตามความต้องการของนักแสดง (ซึ่งก็มักจะมีของพิเศษสำหรับดารา)Craft Services รับผิดชอบกาแฟเครื่องดื่มและของว่าง มักจะคอยเดินเสิร์ฟน้ำให้ทีมงานในกองถ่ายด้วยภาพโดย Peter StumpfPost-Production Supervisor รับผิดชอบกระบวนการทำงานในช่วง post production รักษาควบคุมคุณภาพและประสานงานการมิกซ์เสียง การทำกราฟิกส์และด้านเทคนิคอื่น ๆ ทั้งหมดFilm editor รับผิดชอบในด้านการนำภาพในแต่ละช็อตมารวมกันให้เกิดเรื่องราวร้อยเรียงกัน ซึ่งทำงานร่วมกับผู้กำกับหรือโปรดิวเซอร์ คอยเลือกช็อตที่ดีที่สุด ปรับจังหวะของหนังให้ออกมาเป็นภาพยนตร์ ซึ่งก็อาจจะตัดตามสคริปต์ แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะปรับแต่งต่างออกไปจากสคริปต์เดิม ด้วยเหตุผลทางด้านอารมณ์และจังหวะของหนังที่อาจจะทำให้ผู้ชมมีอารมณ์ร่วมมากขึ้น ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีผู้ช่วยคอยจัดการกับฟุตเทจและไฟล์งาน (ผู้กำกับบางคนอาจจะเป็น Editor เองด้วยเหมือนกัน)Cutter ตัดต่อตามที่ Film editor หรือ ผู้กำกับบอก (โปรดักชั่นในไทยส่วนมากจะใช้ Editor เป็นคนตัดไปเลย เพราะทุนสร้างน้อย แต่ในต่างประเทศ Editor จะคอยยืนสั่งเท่านั้น)ภาพโดย Danny FengColorist ย้อมสีภาพยนตร์ ปรับแต่งสีให้ออกมาสวยงาม หรือ ให้ได้ลุคโทนสีตามที่ผู้กำกับต้องการภาพโดย Tom PottigerSound designer รับผิดชอบในส่วนของการออกแบบเสียงให้กับภาพยนตร์ในขั้นตอน post productionSound editor รับผิดชอบในการประกอบและแก้ไขเอฟเฟกต์เสียงทั้งหมดในซาวด์แทร็กRe-recording mixer ปรับสมดุลเสียง ทั้งบทพูด เพลง และเสียงเอฟเฟกต์ จะเป็นคนจบงานเสียงในภาพยนตร์Music supervisor ประสานงานระหว่างการผลิตภาพยนตร์ และอุตสาหกรรมบันทึกเสียง เจรจาสิทธิ์การใช้งานสำหรับเพลงทั้งหมดที่ใช้ในภาพยนตร์Composer แต่งเพลง เขียนเพลงและ score สำหรับภาพยนตร์Foley artist สร้างเสียงที่ไม่สามารถบันทึกได้ในขั้นตอนถ่ายทำ มักจะเป็นเสียงจำพวกการขยับของร่างกาย เสียงเดิน เสียงฟ้าร้อง เสียงประตูลั่น(เอี๊ยด!) หรือแม้แต่เสียงชก เสียงเอฟเฟกต์แทบทุกอย่างที่เกิดขึ้นในภาพยนตร์...อย่างใน Jurassic Park ก็มีการใช้เสียงร้องของเต่ามาเป็นเสียงไดโนเสาร์ ภาพโดย K. Mitch Hodge ยังมีตำแหน่งยิบย่อยไปอีกเยอะพอสมควรนะครับ แต่ผมขอยกตำแหน่งหลัก ๆ มาเพียงเท่านี้ละกันครับ ทีมงานจะมากจะน้อยส่วนใหญ่มักจะขึ้นอยู่กับงบประมาณการสร้างนะครับว่าสามารถจ้างคนได้มากแค่ไหน หากเป็นหนังฟอร์มยักษ์ ก็อาจใช้คนมากถึง 100-200 คนต่อการสร้างภาพยนตร์หนึ่งเรื่องเลยล่ะครับภาพทั้งหมดจาก Unsplash