การ์ตูนเป็นศิลปะแขนงหนึ่งที่มีความโดดเด่นและเป็นตัวของตัวเอง ไม่ต่างจากศิลปะแขนงอื่นในบ้านเราเริ่มรู้จักการ์ตูนกันเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2460 รัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ แปลคำว่า Comic เป็นภาษาไทยว่า "ภาพล้อ" หลังจากนั้นทรงเขียนภาพล้อบุคคลตีพิมพ์ลงในวารสารดุสิตสมิต ทำให้หนังสือพิมพ์อื่นๆ หันมาตีพิมพ์ภาพการ์ตูนล้อการเมืองกันมากขึ้นจากนั้นในวงการการ์ตูนไทย ได้มีหลายเหตุการณ์เกิดขึ้น โดยสามารถแบ่งได้เป็น 4 ยุค ดังนี้(ภาพประกอบ - https://mgronline.com/onlinesection/detail/9610000051804)1-ยุคแรก เริ่มจากการเข้ามาของวิทยาการเขียนภาพแบบตะวันตก ซึ่งขรัวอินโข่ง (จิตรกรในสมัยรัชกาลที่ 3 - 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) ได้นำมาใช้เป็นคนแรกในการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังในลักษณะเหมือนจริง การ์ตูนในยุคนี้มีเอกลักษณ์คือ “ทีเล่น ทีจริง” ทั้งการนำไปใช้เพื่อความบันเทิง แสดงจุดยืนทางความคิด-ความเชื่อ และล้อเลียนบุคคลสำคัญจนสมัยรัชกาลที่ 6 ภาพล้อเลียนหรือการ์ตูนในเมืองไทยได้เป็นที่นิยมแพร่หลายมากขึ้น โดยเฉพาะแนวล้อเลียนการเมือง ซึ่งนักเขียนคนแรกที่เขียนการ์ตูนแนวนี้คือ ขุนปฏิภาคพิมพ์ลิขิตพอสมัยรัชกาลถัดมา วงการการ์ตูนซบเซาลง เนื่องจากพิษเศรษฐกิจจากนั้นในปี พ.ศ.2470 การ์ตูนได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการอ่านในสังคมเรา และยังเป็นส่วนหนึ่งในการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยบนหน้าหนังสือพิมพ์ จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ.2475(ภาพประกอบ - https://mgronline.com/celebonline/detail/9580000113267)2 - ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ทำให้วัฒนธรรมการอ่านหยุดชะงัก แต่หลังควันสงครามจางหายไป การ์ตูนไทยก็กลับมารันวงการอีกครั้ง ในยุคนี้ปรากฏนักเขียนการ์ตูนชื่อดังหลายคน เช่น ประยูร จรรยาวงษ์ (เจ้าของฉายา "ราชาการ์ตูนไทย") นักเขียนที่วาดได้ทั้งแนวตลกและล้อเลียนการเมือง และเหม เวชกรจวบจน พ.ศ.2495 หนังสือการ์ตูนเด็กเล่มแรก “ตุ๊กตา” ได้เกิดขึ้น และประสบความสำเร็จอย่างสูง ทำให้มีการ์ตูนเด็กออกมาอีกหลายเล่ม เช่น “ชัยพฤกษ์การ์ตูน” และในยุคนี้ยังนิยมวาดการ์ตูนเรื่อง บางเรื่องยาวนับร้อยหน้า ถือว่าเป็นยุคทองของการ์ตูนเรื่องทีเดียวราวปี พ.ศ.2510 อิทธิพลทางเศรษฐกิจของไทย ส่งผลให้การขยายตัวของอุตสาหกรรมการ์ตูนญี่ปุ่นเริ่มแพร่เข้ามา เป็นช่วงที่การ์ตูนในไทยมีความหลากหลาย ถูกนำไปใช้ในตำราเรียนเป็นครั้งแรก และยุคนี้เองที่การ์ตูนการเมืองเริ่มดุเดือด หลัง “เหตุการณ์ 14 ตุลา” ที่เป็นจุดกำเนิดของการ์ตูนอย่าง “ขายหัวเราะ” และการ์ตูนอีกหลายเรื่องที่มีรูปแบบเป็นการ์ตูนประเภทแก๊กและเรื่องสั้นจบในตอน(ภาพประกอบ - http://www.weloveshopping.com/shop/showproduct.php?pid=25132230&shopid=148102)3 - ยุคเงียบเหงาซบเซาช่วงปี พ.ศ.2520 - 2530 เป็นยุคตกต่ำของการ์ตูนไทย เนื่องจากสภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจ การ์ตูนไทยทำได้เพียงอยู่เงียบๆ ตามซอกหลืบ ราคาของความบันเทิงประเภทนี้ปรับลงมาอยู่ในระดับที่ไม่ทำให้ขนหน้าแข้งผู้อ่านร่วงอีกแล้ว ส่งผลให้เกิด "การ์ตูนเล่มละบาท"เนื้อเรื่องของการ์ตูนเล่มละบาทมีหลายแนว ทั้งผี, ชีวิต, นิทาน, ตลก, เซ็กซ์ โดยเฉพาะแนวผี ซึ่งเป็นความตื่นเต้นแบบง่ายๆ ที่ใกล้ชิดกับชาวบ้านได้มากที่สุด ทำให้การ์ตูนประเภทนี้ได้รับความนิยมอย่างสูง จนเรียกว่าเป็นหลายอย่าง (เกือบจะ “เป็นทุกอย่างให้เธอแล้ว…”) ทั้งตำนาน และสไตล์การ์ตูนที่มีลักษณะเฉพาะ ที่เรียกขานกันมาจนทุกวันนี้ รวมถึงผู้สร้างสรรค์ผลงานหลายท่าน (เช่น รุ่ง เจ้าเก่า, เพลิน, เทพบุตร, ชายชล ชีวิน, แมวเหมียว) ที่ยังคงคร่ำหวอดเป็นนักเขียนการ์ตูนคุณภาพระดับแนวหน้าอยู่(ภาพประกอบ - https://www.matichon.co.th/entertainment/news_488123)และสุดท้าย ยุคปัจจุบันตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 เป็นต้นมา การ์ตูนไม่ได้ผูกขาดว่าจะเป็นหนังสือสำหรับเด็กเท่านั้น ไม่ว่าคนรุ่นไหนก็สามารถอ่านได้ รวมถึงโลกออนไลน์ทำให้คนเข้าถึงได้ง่ายขึ้น แม้ว่าการ์ตูนต่างประเทศจะหลั่งไหลเข้ามา แต่นักวาดการ์ตูนไทยก็ออกไปสร้างชื่อเสียงในต่างประเทศเช่นกันขณะเดียวกันเริ่มมีการพัฒนาการ์ตูนไทยในรูปแบบคอมิคขึ้น จากกลุ่มคนที่มีประสบการณ์การอ่านการ์ตูนแนวมังงะ โดยตลาดของการ์ตูนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เน้นวัยรุ่น ในขณะที่การ์ตูนนิยายภาพแบบดั้งเดิมยังคงมีการผลิตอยู่เรื่อยๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะอิงกับตลาดระดับล่าง.อ้างอิงข้อมูลจากhttps://www.cartoonthai.in.th/library/detail/116ภาพหน้าปก - Pexels.com