จำไม่ลืม! ซินดี้ สิรินยา เผยวีรกรรมบนรันเวย์ เกือบทำเครื่องเพชรมูลค่า 100 ล้านหาย ก่อนขึ้นโชว์! (มีคลิป)
ข่าวบันเทิงวันนี้
อยู่ในวงการบันเทิงมา 20 กว่าปี แถมเป๊ะเวอร์จนได้ชื่อว่าเป็นตัวแม่สุดเพอร์เฟ็กต์ สำหรับซูเปอร์โมเดลตัวแม่ "ซินดี้ สิรินยา บิชอพ" นอกจากงานในวงการบันเทิงแล้ว ซินดี้ยังเผยกับรายการ ต้มยำอมรินทร์ ผลิตโดย CHANGE2561 ได้เผยวีรกรรมบนรันเวย์ ที่จำไม่เคยลืมเพราะเกือบทำเครื่องเพชรมูลค่า 100 ล้านหาย ก่อนขึ้นโชว์ พร้อมอัปเดตโครงการ DontTellMeHowToDress เพื่อสังคมรณรงค์เกี่ยวกับสิทธิสตรีและเด็กขึ้นมาอีกด้วย บอกเลยว่างานนี้ทุกคนควรฟัง เพราะนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อสาว ๆ แล้ว คุณพ่อคุณแม่ก็จะได้แนวทางการเลี้ยงลูกที่ดีมาก ๆ จากเธออีกด้วย
ซินดี้เข้าวงการมาตั้งแต่อายุ13 เลยเริ่มมาจากอะไร ?
ซินดี้ : จริง ๆ แล้วตอนนั้นถ่ายโฆษณาชิ้นแรกตอนอายุ 13 ซึ่งก็มาแบบงง ๆ เมื่อก่อนอยู่พัทยาค่ะโตแล้วก็เรียนโรงเรียนที่พัทยา มีเพื่อนของคุณพ่ออีกที ซึ่งเมื่อก่อนคุณพ่อทำธุรกิจดำน้ำค่ะ เขาก็เหมือนมาถามว่า “เอ๊ะ ได้ข่าวว่ามีลูกสาวนี่ ดำน้ำได้ไหม? เราต้องการนางแบบที่ลงไปดำใต้ทะเลแล้วก็ถอดอุปกรณ์อะไรทุกอย่างแล้วก็ว่าย” มันเป็น TVC เขาต้องการที่จะโฆษณาว่ามันคือด้วยความที่มันใสมากเหมือนกับเราลงไปว่ายกับปลาใต้น้ำจริงๆซึ่งเมื่อก่อนไม่มี CG ไม่มีอะไรอย่างนี้ ก็ต้องลงไปว่ายจริงๆ ในทะเลค่ะ นั่นคือโฆษณาชิ้นแรกตอนอายุ 13 แล้วหลังจากนั้นเหมือนกับเราก็ได้ขึ้นชื่อว่าเป็น Under Water Talent คือใครที่ต้องการโฆษณาที่เกี่ยวกับดำน้ำว่ายน้ำอะไรในน้ำเนี่ย (ให้ใช้ซินดี้สิ)ก็เลยได้งาน จริงๆแล้วเป็นนางแบบโฆษณามาก่อนเลย ก่อนทุกอย่างเลย
ขอบคุณคลิปจากรายการ ต้มยำอมรินทร์
คือพอจากนางแบบเสร็จปุ๊บก็มาประกวดเวทีแรกในชีวิต แล้วก็มงลงเลย ?
ซินดี้ : ใช่ค่ะ
คือเวที Miss Thailand World ตอนนั้นมีแมวมองหรืออะไรมาทาบทามอะไรไหม?
ซินดี้ : ก็จะเป็นต่อยอดมาจากที่ซินดี้ถ่ายโฆษณาอยู่ในสังกัดอะไรอย่างนี้ค่ะ มีคนชวนค่ะ
แล้วเห็นเขาบอกว่าจริง ๆ ตอนนั้นน่ะมง เพราะว่าการตอบคำถามของพี่ซินดี้ สวนกระแสของการตอบคำถามยุคนั้นเลย?
ซินดี้ :เรื่องของการตอบคำถามก็จะมีเมื่อก่อนจะมีรอบที่เป็นถาม 10 คนสุดท้าย คำถามจะไม่เหมือนกันซินดี้จำได้ว่าเจอคำถามว่า “คิดยังไงกับเรื่องศัลยกรรม”ก็ตอบไปว่า “จริง ๆ แล้วมันเป็นสิทธิของทุกคน แล้วแต่ว่าเขาอยากจะเสริมอะไรตรงไหนยังไง แต่สำหรับซินดี้ซินดี้คิดว่าความสวยจริงๆมาจากภายในนะคะ” ว่าไป
ถ้าเป็นยุคนี้เราอาจจะชินกับคำว่าความสวยจากภายใน Inner Beauty inside out แต่อยู่ในยุคนั้น มันถือว่าเป็นแบบเป็นคำตอบที่จุดพลุ อันนั้น 10 คน แล้วรอบ 5 คนคำถามเดียวกันใช่ไหม ?
ซินดี้ : 5 คนคำถามเดียวกัน ก็มาแบบว่าถ้าต้องเลือกระหว่างเป็นผู้หญิงที่รวยที่สุดและเป็นผู้หญิงที่สวยที่สุดคุณจะเลือกอะไรและเพราะเหตุใดรวยสิคะ ไม่ได้ตอบอย่างนี้นะคะ แต่เหมือนกับคือเขาก็อาจจะ expect ว่าจะต้องพูดว่าสวยเหมือนประมาณว่าเราพูดว่าสวยจากภายในมาแล้วอะไรอย่างนี้ แต่อันนี้คือสวน ก็บอกว่าไม่ ขอรวยค่ะ ทุกคนก็โห้วววอย่างเนี้ย เสียงคนดู ซินดี้บอกว่าเดี๋ยวก่อนค่ะ “หลายคนคิดว่าเงินซื้อของได้หลายอย่างแต่ดิฉันคิดว่า เงิน ช่วยคนได้หลายคนค่ะ” ไม่รู้คิดแบบ ก็เลยรู้สึกว่าโอเคน่าจะทุกคนก็ เฮ้ อย่างเนี้ย
ซินดี้ สิรินยา และครอบครัว
แต่ว่าอีก หนึ่งบทบาทซึ่งต้องบอกว่าเป็นบทบาทที่ต้องยอมรับ นึกถึงพี่ซินดี้ก็นึกถึงความเป็นสุดยอดนางแบบของประเทศไทย ซูเปอร์โมเดล ?
ซินดี้ : ซินดี้จริง ๆ แล้วชื่นชอบอาชีพนางแบบมาก เป็น my first love เลย เพราะว่าเราโตมากับการที่เราเล่นซินดี้เป็นลูกคนเดียวแล้วสมัยนั้นพัทยาก็ไม่มีกิจกรรมอะไรเยอะมากอะไรอย่างนี้ ก็จะเอ็นเตอร์เทนตัวเองด้วยการ แบบทำแฟชั่นโชว์ให้พ่อแม่ดูหลังทานข้าวทุกคืนอะไรอย่างเนี้ย นั่งดูบัลเล่ต์เป็นชั่วโมง ชอบสรีระท่าทางอะไรอย่างนี้ค่ะ ก็เลยเป็นคนที่ชอบเรื่องของ Body awareness การใช้สรีระแล้วก็ร่างกายในการสร้างอารมณ์ต่างๆหรือว่าสื่อสารอะไรอย่างเนี้ย การเป็นนางแบบมันใช่ตรงนี้มากอะไรอย่างเนี้ยค่ะ
แต่ว่ามีการเดินแบบครั้งหนึ่งที่จำไม่ลืมตลอดชีวิตเพราะว่า เธอเดินแบบแล้วเนี่ย ทำเครื่องเพชรหายหลักล้าน ?
ซินดี้ : เรื่องมันมีอยู่ว่า ยังไม่ได้เดิน กำลังอยู่หลังเวทีกำลังจะเดิน จำได้เลยว่าอยู่ที่โรงแรมโอเรียนเต็ลด้านหลังเวลานางแบบก่อนที่จะเดินไปบนเวที เมื่อก่อนเขาจะจัดในบอลรูมนะคะ ก็มีแบบแขกคุณหญิงคุณนายนั่งทานดินเนอร์อะไรอย่างเนี้ย นางแบบก็จะออกมาเดินเฉิดฉาย ๆ เราก็อยู่ข้างหลัง ซึ่งข้างหลังกับข้างหน้าคนละเรื่องกันเลยนะคะ ข้างหลังก็จะแบบวุ่นวายมากมีแบบเด็กเสิร์ฟวิ่งไปวิ่งมากาฟงกาแฟ เราก็ต้องแบบพยายามทำตัวเล็กๆแล้วก็รอที่จะขึ้นเวที แล้วก็พี่อุ๋มเนี่ยแหละ คุยกับพี่อุ๋ม จำได้ว่าเครื่องเพชรนี่คือแบบเป็นร้อยล้านอะค่ะ ตรงนี้ก็แผง ตรงนี้เป็นต่างหูนะคะ ข้างละเม็ด เม็ดก็ประมาณเม็ดฮอลล์น่ะ ใหญ่กว่าฮอลล์น่ะ ประมาณนี้ค่ะ ก็คุยกันแบบ “ซินดี้เพชรหาย” ก็บอกหะอะไรนะ? “เพชรหาย แกจับตรงนี้สิ”แล้วก็ข้างนี้คือมีเม็ดนึงอยู่ อีกข้างเป็นหูโบ๋ คือมันหลุดออกไปจาก setting เลยอ่ะ หลุดออกไประหว่างที่ซินดี้กำลังจะรอเดินที่นี่ก็แบบ “หะหายยย” แล้วด้วยทุกคนก็แบบ มันหายมันไม่ใช่เรื่องเล็กๆเลยนะ Securityแค่ไปห้องน้ำก็ไม่ได้ เขาล้อมตัวทุกอย่างตรงนั้นเลย แล้วโชว์มันกำลังโชว์อยู่อะ ซึ่งซินดี้น่าจะประมาณอีกประมาณ 5 คนหลังจากคนที่อยู่บนเวทีอะ แล้วทุกคนก็แบบ “เดี๋ยวๆๆๆหยุดๆๆๆ” นั่นก็โชว์กันไป ทุกคนก็แบบหาเม็ดเพชรเม็ดนี้อยู่ที่มันหล่น หาไม่เจอหาไม่เจอฉันก็แบบโอมายก๊อดทำยังไงดีอย่างนี้ค่ะ ไปสักพักก็หันไปมองพี่อุ้ม “พี่อุ้ม ทำยังไงดี” “อะ ๆ งั้นถอดก่อน ถอดต่างหู อย่างน้อยยูก็มีตรงนี้ (สร้อยเพชร) ยูก็ออกไปเดินอย่างนี้ก่อน” ระหว่างที่ถอดพี่อุ้มก็แบบ “แกชุดอ่ะ” ซินดี้ก็มองลงไป แล้วชุดซินดี้มันเป็นแบบเกาะอก มันก็จะมีแบบแถบขึ้นมา “แกลองดูข้างในดิ เผื่อมันมีมันอาจจะหล่นลงไป”ซินดี้ก็แบบ “อะไร อยู่ตรงไหน? อะลองดู” ล้วงลงไปเจอ!!! แล้วก็เป็นท่าอย่างเนี้ย(หยิบเพชรจากในชุดขึ้นโชว์) “พี่อุ๋มอยู่ตรงนี้” เท่านั้นแหละ Security ก็มาแบบ ok ครับ และพอไปปุ๊บเนี่ย โคโรกราฟก็แบบ “ซินดี้ไป” พอดีเป๊ะเลย แล้วก็เดินออกไปมือไม้แบบสั่นเหมือนเราช็อกอะ แต่เดอะโชว์มัสโกออน
แต่ว่าจริง ๆ แล้วทำมาหลากหลายเยอะแยะมากมายเต็มไปหมด แต่ว่าตอนนี้เนี่ยต้องบอกว่าอีก หนึ่งบทบาทก็คือ ณ วันนี้เนี่ยกลายเป็นแม่ของสาวประเภทสองในประเทศไทยไปแล้ว เพราะว่าเป็น Beauty Mom ให้กับเวที miss tiffany universe มาต่อเนื่องมาหลายปีแล้ว ?
ซินดี้ : เป็นเมนเทอร์ด้วย เป็นพี่เลี้ยงด้วย เป็นคนที่ช่วยสอน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเนี่ยบทบาทบทของเราคือถ่ายทอดประสบการณ์สิ่งที่เราลองผิดลองถูกมาแล้ว คอยปั้นช่วยให้น้อง ๆ ไปในทางที่เป็นตัวของตัวเองมากที่สุด สามารถแสดงความเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองมากที่สุด และนี่คือหนึ่งอีกหนึ่งโอกาสภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมค่ะ
อีกหนึ่งบทบาทซึ่งอันนี้เป็นเรื่องที่น่าชื่นชมมาก ในบทบาทของการเป็นนักขับเคลื่อน ?
ซินดี้ : ทั้งขับเคลื่อน ทั้งพยายามเป็นกระบอกเสียง นักขับเคลื่อน รณรงค์สิทธิสตรี
จริง ๆ สิทธิสตรีมันมีหลายแง่มุมที่เรามองแล้วก็แตะอยู่ ?
ซินดี้ : ใช่ แต่ว่าหลัก ๆ ซินดี้จะดูในเรื่องของต่อต้านความรุนแรงต่อเด็กและผู้หญิงในทุกรูปแบบนะคะ ต่อต้านมายาคติที่ส่งผลให้มีการไม่เท่าเทียมกันระหว่างเพศนะคะ แล้วก็รณรงค์ให้มีการคุยกับลูกเรื่องเพศตั้งแต่อายุเนิ่นๆ เพื่อที่เราจะปลูกฝังพื้นฐานในการมีความสัมพันธ์ที่มันอยู่บนพื้นฐานการให้เกียรติกันอย่างนี้ค่ะ
อันนึงซึ่งถือว่าเป็นโครงการหรือว่าเป็นแฮชแท็กที่ตอนนั้นแบบว่ามีคนแชร์กันแล้วแฮชแท็กขึ้นแบบเทนนิ่งอยู่เยอะมากยาวนานพอสมควรเลยนั่น ก็คือ DontTell Me How To Dress มันจะแปลเป็นไทยว่าอะไรดี ?
ซินดี้ : “อย่ามาบอกให้ฉันแต่งตัวแบบไหน” ณ ตอนนั้นเรามีอะไรที่เหมือนแบบต้องพูด ต้องระบายความในใจนะคะ จริงๆไปอ่านหนังสือพิมพ์ในช่วงก่อนเทศกาลสงกรานต์ในปี 2018 นี่ทำมาเกือบจะ 2 ปีครึ่งละ แล้วไปสะดุดกับเฮดไลน์ที่บอกว่า “ถ้าไม่อยากโดนคุกคามก็อย่าแต่งตัวโป๊” ซินดี้ก็แบบ เอ๊ะ!!ยังไง? เดี๋ยวก่อนนะ ก็เลยอ่านไป นึกว่าในข่าวก็จะมีแบบออกมาตักเตือนฝ่ายที่คิดจะไปกระทำความรุนแรงหรืออะไรอย่างนี้ แต่ไม่เลยคือให้งดแต่งตัวโป๊แล้วคุณจะไม่โดนคุกคาม ซึ่งซินดี้เจอค่ะ เจอกับตัวเลย ตอนอายุ 17 เนี่ยเพิ่งตั้งตำแหน่งหมาดๆเลยหลังจากที่ได้ตำแหน่งเนี่ย ก็ไปเที่ยวปาร์ตี้สงกรานต์ตอนกลางวันนี้แหละค่ะ แล้วก็เจอผู้ชาย 5 คนมาแบบเขาก็เป็นแก๊งนะ แล้วเราก็ใส่แบบเสื้อยืดกางเกงสามส่วนกางเกงยีนส์อะไรอย่างนี้คือไม่เกี่ยวกับการแต่งตัว อย่างไรก็ตามเหตุการณ์นั้นมาทำให้ซินดี้หยิบโทรศัพท์ขึ้นมาแล้วระบายความในใจ “คิดได้แค่นี้จริงๆเหรอคะที่จะหยุดปัญหานี้”
นี่เป็นมุมหนึ่งเท่านั้นที่เธอทำอยู่นะ แต่ในมุมที่ย้อนกลับไปอยู่ในบ้านกับบทบาทของความเป็นแม่ เพราะเมื่อสักครู่นี้ออกไปฟาดฟันข้างนอกกับโลกมนุษย์ยุทธจักรมากมาย กลับไปบ้านเนี่ยมีคนบอกว่าเป็นคุณแม่ที่เลี้ยงลูกแบบกฎบัญญัติ 12 ประการของบ้าน?
ซินดี้ : กฏบัญญัติ 12 ประการนี่มาจากเด็กๆค่ะ เราทำงานแบบครอบครัว เพราะมีอยู่ช่วงนึงที่เขาแบบไปเที่ยวไปเมกากัน แล้วก็เหมือนแบบถ้าไม่อยู่ใน scheduleที่แบบธรรมดาอะไรอย่างนี้บางทีก็มีการปล่อยปะอะไรอย่างนี้ เขาก็เหมือนแบบวันนั้นตีกันมากเป็นพิเศษ เถียงกันอยู่นั่น ซินดี้ก็แบบ “หยุดเดี๋ยวก่อน ไม่โอเคแล้วมามี้ไม่ชอบ สิง่ที่ลูกทะเลาะกัน”จับมานั่งเลย เอเดนฝั่งนี้ เลล่าฝั่งนี้ เอากระดาษมาแล้วก็ดินสอมาคนละแท่ง ไม่ได้แบบนี้มามี้ไม่โอเค เราไม่มีการให้เกียรติซึ่งกัน เถียงกันแบบไม่ใช่ มาเราจะเรามาตั้งกฎใหม่เรามี Family rules อะไรบ้าง? ไหนได้เลล่าลองยกตัวอย่างมาซิ หนูคิดว่ากฏที่เราควรมี ที่จะเป็นพื้นฐานของการที่จะ treat ตัวเองคืออะไรบ้าง “ไม่ตีกันค่ะ” เขียนลงไปเลยค่ะไม่ตี เอเดนมีอะไรคะ “ไม่โกหก” ดีมากลูกไม่โกหก ต่อๆอย่างนี้ ได้มา 12 กฎ มีห้ามพูดแทรก มีห้ามตี ห้ามโกหก ห้ามมีความลับที่ไม่ดีช่วยกัน จะให้ร้องไหม เราทำเป็นเพลงด้วย
วิธีการเลี้ยงลูกแบบนี้ทำให้เดือนหน้าเขาจะคลอดหนังสือ เกี่ยวกับเรื่องการเลี้ยงลูก
ซินดี้ : ใช่คำว่าคลอดเลยนะคะ มันเป็นการผสมผสานการเลี้ยงลูกกับโครงการที่ทำมาอย่างต่อเนื่อง เรื่องสิทธิในเนื้อตัวร่างกาย ซึ่งพอเราทำมาสัก 2 เกือบ 3 ปีแล้วเราเข้าใจเลยว่าปัญหาความรุนแรง หรือปัญหาไม่เท่าเทียมกันระหว่างเพศเนี่ย มันมาจากตั้งแต่เด็กเลยอะคะ มันคือการปลูกฝังเยาวชน ที่นี้ถ้าเราไม่อยากจะมีปัญหาตอนที่โตแล้วเนี่ย สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรที่จะคำนึงถึงแล้วก็ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากมันต้องเริ่มจากที่บ้าน ก็เลยคลอดหนังสือออกมาชื่อ “ร่างกายของหนู หนูดูแลเองได้”แล้วมันเป็นการ์ตูนนะคะ มันคือออกแบบมาให้พ่อแม่อ่านกับเด็ก ประมาณ 5 ขวบถึง 8 ขวบ เป็นการ์ตูนเล่าเรื่องโดย พี่สาวคนหนึ่งและน้องชายคนหนึ่งแล้วก็น้องหมาพูดถึงร่างกายของเราเนี่ยสุดยอดมากเลยมีเอาอวัยวะอะไรบ้าง? ก็ไปถึงเรื่องของอวัยวะทุกส่วนของร่างกายมีชื่อที่ถูกต้องของมัน ส่วนไหนที่เป็นของหนูนะคะแล้วหนูมีสิทธิ์ที่จะพูดเมื่อมีอะไรที่หนูรู้สึกว่า ไม่โอเค ไม่สะดวกสบาย เหมือนประมาณปลูกฝังให้ลูกเนี่ยเข้าใจตัวเอง สิทธิในเนื้อตัวร่างกายของตัวเอง แล้วก็กล้าที่จะพูดขึ้นมา สัมผัสที่ดีสัมผัสที่ไม่ดีคืออะไร คือมันเป็นเพศศึกษาในแบบที่ไม่น่ากลัว friendly แต่สำคัญมากๆก็เลยอยากจะให้คุณพ่อคุณแม่เป็นลุกขึ้นมา คิดว่าอย่าปล่อยให้เรื่องนี้ เรื่องเพศเนี่ยเป็นเรื่องที่ปล่อยให้คุณครูพูดถึงหรือให้คุณหมอมาสอนลูก ไม่มีใครรู้จักลูกของคุณได้ดีเท่าตัวคุณเอง แล้วเรื่องนี้เป็นเรื่องปัญหาใหญ่ของสังคมไทยเลยล่ะค่ะ เราต้องเป็นคนที่หันกลับมามองว่าสิ่งที่เรากำลังสอนลูกในทุกวันนี้คืออะไร? หรือสิ่งที่เราไม่ยอมพูดกับลูกเลยเนี่ย มันน่ากลัวมาก