กล่าวถึงหมอลำแล้ว หลายคนคงนึกถึงศิลปะการแสดงที่เป็นสื่อให้ความบันเทิงของคนในภาคอีสาน ซึ่งมีทั้งการร้องเพลงในหมอลำซิ่งหรือหมอลำร่วมสมัย การแสดงละครเล่าเรื่องในหมอลำเรื่องต่อกลอน หรือแม้แต่การเล่าเรื่องเดี่ยวในหมอลำพื้น ก็นับว่าเป็นบทบาทของหมอลำที่หลายคนระลึกถึง ภาพจาพ Facebook หมอลำศิลป์อีสานแต่เชื่อหรือไม่ว่าในอดีตหมอลำนั้นไม่ได้ถูกจำกัดบทบาทไว้แค่การแสดงเพื่อความบันเทิงเท่านั้น หากแต่ยังหมายรวมถึงการเป็นสื่อในเชิงภูมิปัญญาการเมือง การปกครอง และการรักษาโรค บทความนี้จะนำท่านผู้อ่านไปรู้จักกับบทบาทของหมอลำกับการรักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วย ในบริบทของคนอีสานในอดีต ที่เป็นมากกว่าสื่อความบันเทิงภาพจาก Facebook หมอลำศิป์อีสานหมอลำรักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วยหมอลำประเภทนี้จะเกี่ยวข้องกับความเชื่อพิธีกรรมของแต่ละกลุ่มชนในแต่ละท้องที่ เช่น ในกลุ่มชนลาวกาวหรือลาวดาวจะมีการรำผีฟ้าเพื่อรักษาโรค การรำผีฟ้านั้นจะอาศัยผู้อาวุโสในหมู่บ้านที่เป็นหมอลำผู้สืบทอดเชื้อสายผีฟ้าหรือผีแถนมาเป็นผู้ครอบครูและทำการร้องรำอยู่ ณ บริเวณบ้านของผู้ป่วย โดยมีแคนเป็นเครื่องดนตรีประกอบการร้องรำส่วนในหมู่ชนกลุ่มผู้ไทก็จะมีการร้องรำรักษาโรคเรียกว่าหมอเหยา ซึ่งการรำของหมอเหล่านี้ก็จะแตกต่างจากการรำผีฟ้าตรงที่มีเครื่องดนตรีมาเพิ่มอีก 2 ชนิดคือปี่ภูไทและซอกระบอกไผ่ ทั้งภาษาที่ใช้ในกลอนลำยังเป็นภาษาผู้ไทยอีกด้วยภาพจาก Facebook หมอลำศิลป์อีสานการรำรักษาโรคนี้ มาจากความเชื่อเรื่องเกี่ยวกับจิตวิญญาณและขวัญของผู้ป่วย โดยมีความเชื่อว่าผู้ป่วยทุกคน เกิดจากขวัญหรือจิตวิญญาณของเขาไปอยู่ที่อื่นหรือหลุดหายไป จึงจำเป็นต้องนำหมอลำใหญ่และหมอลำผีฟ้า มารำเพื่อเรียกขวัญของผู้ป่วยกลับมาอีกนัยหนึ่ง การรำเพื่อรักษาโรคนี้ เป็นการช่วยให้ผู้ป่วยมีขวัญและกำลังใจที่ดีเนื่องจากในการรำจะต้องอาศัยญาติพี่น้องที่สืบเชื้อสายหรือผู้ที่อยู่ใกล้เคียงมารวมกันที่บ้านของคนป่วยมีการร้องรำทำเพลงเพื่อคลายความโศกเศร้าคลายความเหนื่อยล้านั่นเอง