ขอขอบคุณ ภาพโดย drshohmelian จาก https://pixabay.com/th/photos/2530982/นับว่าเป็นเรื่องน่าทึ่งอย่างมากที่คน ๆ หนึ่งยืนพูดอยู่หน้าเวที แต่เขาสามารถสะกดให้คนนับร้อยหรือนับพันฟังเขาเพียงผู้เดียว เพราะอะไร ทำไม เขาถึงทำเช่นนี้ได้การที่จะเป็นนักพูดนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะจะต้องฝึกการพูดคนเดียวจนชำนาญ ไม่ให้มีอาการประหม่าซึ่งจะต้องใช้เวลานานพอสมควร อีกทั้งยังมีองค์ประกอบหลาย ๆ อย่างที่ทำให้นักพูดกล้าที่จะพูด และกล้าแสดงออกในขณะยืนอยู่บนเวทีต่อหน้าคนเป็นจำนวนมาก หากว่าไม่เจ๋งจริงก็คงต้องพบกับความล้มเหลว จนไม่กล้าที่จะเป็นนักพูดอีกต่อไป เอาเป็นว่าถ้าเราอยากจะเป็นนักพูดสะกดคนฟังได้ละก็ควรทำดังนี้ ขอขอบคุณ ภาพโดย JOESPH จาก https://pixabay.com/th/photos/542726/1.มีความมั่นใจในตัวเอง เรื่องนี้ต้องฝึกให้ชินโดยหัดพูดเพียงคนเดียวต่อหน้ากระจก พูด ๆ ไปจนรู้ว่าทำได้แล้ว มีความมั่นใจในตัวเอง ไม่สั่น ไม่เกร็งก็จะต้องขึ้นสู่เวทีจริง อาจจะเริ่มต้นจากการเป็นวิทยากรรับเชิญในงานเล็ก ๆ ก่อน แต่ก่อนที่จะขึ้นเวที เราจะต้องดูความเรียบร้อยของเสื้อผ้า หน้าผม ว่าดูดีหรือยัง เมื่อรู้ว่าโอเคแล้ว ความมั่นใจก็จะตามมาหลังจากเป็นพิธีกรรับเชิญในการพูดหลาย ๆ ครั้งจนรู้สึกว่าเราทำได้แล้ว ไม่มีอาการเคอะเขิน หรือพูดเสียงสั่น จึงเริ่มขึ้นเวทีที่ใหญ่ขึ้น2.เมื่ออยู่บนเวทีต่อหน้าคนเป็นจำนวนมาก ให้ทำตัวตามสบาย อย่าเกร็ง ยิ้มทักทาย ยกมือไหว้ และโบกมือให้ผู้ฟัง เริ่มต้นกล่าวคำว่าสวัสดีด้วยเสียงดังฟังชัด อักขระ คำควบกล้ำชัดเจน เพื่อแสดงความเป็นกันเองกับผู้ฟัง เราจะต้องเล่นกับผู้ฟังด้วยคำถาม ว่าทำไมถึงมาฟังเราพูด จากนั้นชี้ไปที่ใครก็ได้ที่นั่งอยู่ในห้องนั้น เมื่อเขาลุกขึ้นตอบ เราก็จะให้รางวัล เพื่อเป็นของที่ระลึก เช่น หมอนนุ่ม ๆ ตุ๊กตาสัตว์นิ่ม ๆ ผ้าห่มผืนเล็ก หมวก ฯลฯ3.เริ่มเข้าสู่หัวข้อที่เราจะพูด ซึ่งก่อนหน้านั้นเราทำการบ้านมาแล้วว่าจะพูดเกี่ยวกับอะไร ( สำหรับการเป็นนักพูดนั้นแบ่งออกเป็นพูดแนววิชาการ หรือวาไรตี้ แต่ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงการพูดแบบวาไรตี้เพื่อความบันเทิง)การพูดแนววาไรตี้ที่มีแต่ความบันเทิง เราจะเน้นความฮาเป็นหลัก เพื่อให้คนฟังรู้สึกมีความสุข คลายเครียด ได้ยิ้ม ได้หัวเราะ4.เราจะต้องนำเรื่องที่ทันสมัย และเป็นที่กำลังเป็นที่ความสนใจจากผู้คนมาพูด ไม่ว่าจะเป็นข่าว เรื่องฮิตและฮอตของวงการบันเทิง เพลงดัง ๆ ขอขอบคุณภาพโดย Mohamed_hassan จาก https://pixabay.com/th/illustrations/พูดในที่สาธารณะ-ลำโพง-คน-การ์ตูน-3159217/5.ระหว่างพูดเกี่ยวกับหัวข้อต่าง ๆ เราก็จะแทรกมุกตลกเป็นระยะ ๆ หรือนำบางท่อนบางตอนของเพลงดังที่ได้รับความนิยมมาแทรกเข้าไป6.รู้จักจังหวะในการพูด ถ้าเรากำลังเข้าสู่ช่วงพีคเกี่ยวกับเรื่องตลกให้ผู้ฟังได้รับรู้ เราอย่าเผลอหัวเราะก่อนที่จะถึงช่วงนั้น (เพราะเรารู้มาก่อนแล้วว่าเรื่องนี้ตลกมาก) หรือพูดไปด้วย หัวเราะไปด้วย คนฟังจะเกิดอาการงงและเบื่อ7.อย่าพูดเยิ่นเย้อ หรือพูดซ้ำไปซ้ำมา โดยวนแต่เรื่องเดิม ๆ คนฟังจะเบื่อแล้วไม่อยากฟังเราพูดอีก8.กำหนดเวลาในการพูด ว่าแต่ละครั้งที่ขึ้นเวที เราจะใช้เวลาในการพูดแค่ไหน ถ้าเราเป็นมือใหม่สมัครเล่น การพูดนานเกินไปจะไม่ดี เอาแค่พอเหมาะพอควร แล้วส่งไม้ต่อให้นักพูดคนอื่นทำหน้าที่นี้ต่อไป9.หลังจากพูดจบ เราตบท้ายด้วยการขอโทษผู้ฟัง ถ้าหากว่าการพูดในครั้งนี้มีข้อบกพร่อง และโอกาสหน้าจะทำให้ดีกว่านี้ตัวอย่างนักพูดที่ประสบความสำเร็จและเป็นนักพูดอันดับ 1 ของประเทศก็คือ คุณอุดม แต้พาณิชย์ ไม่ว่าเขาจะไปพูดที่ไหน หรือเดี่ยวไมโครโฟนกี่ครั้งก็ได้รับความนิยมจากผู้คนอย่างล้นหลาม ผู้เขียนเองเคยฟังคุณอุดมเดี่ยวไมโครโฟนก็รู้ว่า เขามีเทคนิคในการพูดแพรวพราว นอกจากความตลกแล้วยังหยิบยกเรื่องใกล้ตัวเข้ามาแทรกให้เกิดความฮา และเรียกเสียงหัวเราะจากผู้ฟังได้เป็นอย่างดีถ้าเราอยากเป็นนักพูดเพื่อความบันเทิงให้ประสบความสำเร็จละก็ เราจะต้องฝึกให้หนัก และดูตัวอย่างนักพูดที่ประสบความสำเร็จว่าเขาทำกันอย่างไร แต่อย่าเลียนแบบ จงเป็นตัวของตัวเอง และหาอัตลักษณ์ของตัวเองให้เจอ เมื่อทำได้ดังที่กล่าวมา คุณจะเป็นนักพูดที่ประสบความสำเร็จจรรยา เลิศพงษ์ไทย