ความเชื่อท้องถิ่นเกี่ยวกับ บั้งไฟพญานาค ถูกส่งต่อกันมาหลายชั่วอายุคน ที่ก่อเกิดเป็นความศรัทธาของชาวหนองคายกันมากมาย ความเร้นลับและมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้นตรงกันทุกปีในคืนวันออกพรรษา กลายเป็นสิ่งที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ถึงหลักการทางวิทยาศาสตร์จนกระทั่งทางฝั่งลาวได้ร่วมกันสร้างปฏิบัติการบั้งไฟพญานาค โดยตั้งใจให้คงไว้ถึงความศรัทธาของคนท้องถิ่น แต่ คาน เลือกที่จะปฏิเสธกับภารกิจนี้ เกิดเป็นความขัดแย้ง ที่ทำให้ทั้งสองฝ่ายต้องเลือกระหว่างทำให้ทุกคนได้รู้ถึงความจริง หรือคงไว้ซึ่งความศรัทธาบนความหลอกลวงภาพยนตร์ 15 ค่ำ เดือน 11 ออกฉายในปี พ.ศ.2545 โดยได้นำเรื่องราวความเชื่อท้องถิ่นนี้มาสร้าง และได้กลายเป็นภาพยนตร์ที่มีเรื่องราวเกิดขึ้น จนถูกชาวหนองคายประท้วงไม่ให้ออกฉาย เพราะถือว่ามีการบิดเบือนเนื้อหาเกี่ยวกับบั้งไฟพญานาค แต่ขณะเดียวกัน ก็เป็นภาพยนตร์ที่ดำเนินเรื่องให้ผู้ชมได้คิดถึงความศรัทธาที่ยืนอยู่บนหลักการของความจริง จนทำให้การออกฉายในครั้งนั้น เต็มไปด้วยทั้งเสียงวิจารณ์ก่นด่าและเสียงชมเชยจากผู้ชม ที่เข้าไปรับชมในโรงภาพยนตร์ จนเกิดการเรียกชื่อนี้สั้น ๆ เพียงว่า 15 ค่ำ ก็เป็นอันเข้าใจว่าหมายถึงภาพยนตร์เรื่องนี้ต่อมาไม่นานหลังจากออกฉาย กระแสเริ่มไปในทิศทางเชิงบวกมากขึ้น มีการพูดถึงและรับชมกันอย่างต่อเนื่อง ไม่เว้นแม้แต่ จ.หนองคาย ที่เป็นประเด็น ก็ยังมีคนเข้าไปรับชมกัน และต่างพากันยกยอถึงความยอดเยี่ยมของเนื้อเรื่องในภาพยนตร์เรื่องนี้ ที่ได้ชวนให้ตั้งคำถามและจัดการกับระบบความเชื่อท้องถิ่นดั้งเดิม จนอาจจะถือได้ว่าเป็นภาพยนตร์ที่ส่งอิทธิพลต่อสังคมไทยในระดับหนึ่งแม้จะมีเรื่องประท้วงเกิดขึ้น แต่ในปีนั้นภาพยนตร์ก็ทำรายได้ไปถึง 55 ล้านบาท และยังได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากรางวัลสุพรรณหงส์ครั้งที่ 12 เมื่อปี พ.ศ.2546 โดยเรื่องนี้เป็นผลงานกำกับเรื่องแรกของ จิระ มะลิกุล ที่ได้ทำให้เขากลายเป็นผู้กำกับแถวหน้าของวงการภาพยนตร์ไทยในเวลาต่อมา อีกทั้งยังทำให้นักแสดงท่านอื่น ๆ ในเรื่องได้กลายเป็นแถวหน้าของวงการและเพื่อพิสูจน์ถึงความศรัทธาและวัฒนธรรมท้องถิ่นของชาวหนองคาย ก็สามารถรับชมทางออนไลน์ได้ โดยคลิกที่นี่เพื่อรับชมความยอดเยี่ยมของภาพยนตร์เรื่องนี้ และมันอาจจะทำให้ศรัทธาที่ถืออยู่ ได้ถูกตั้งคำถามบนหลักการของความจริงก็ได้