รวมความเชื่อและตำนานแห่งพระโขนง ก่อนพบกับ "แดง พระโขนง"
• ในภาพยนตร์นางนาก ฉบับของ นนทรีย์ นิมิบุตร ได้เซ็ตให้เรื่องราวเกิดขึ้นในช่วงรัชกาลที่ 4 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการร่ำลือตำนานจริงของแม่นากพระโขนง โดยได้มีเหตุการณ์สุริยคราสเต็มดวงเกิดขึ้น “สุริยุปราคา (ร.4) ที่หว้ากอ 18 สิงหาคม พ.ศ.2411 ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 9” ซึ่งตามตำนานความเชื่อของไทยคือ ราหูอมดวงอาทิตย์ทำให้ชาวบ้านต้องมาตีเกราะเคาะไม้เพื่อขับไล่ความชั่วร้าย เคยปรากฎว่านางนากพระโขนง เป็นบุคคลที่ชาวบ้านในยุคสมัยราวๆ 2420 รู้จักกันมากที่สุด จาก พระนิพนธ์ของม.จ.หญิงพูนพิศมัย ดิศกุล เรื่อง “ชีวิตและงานของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ”
• เรื่องราวของสมเด็จโต ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับผีแม่นาค ปรากฎอยู่ใน หนังสือชีวประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์โต ที่เขียนเมื่อ พ.ศ. 2473 โดยมหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา (สอน โลหะนันทน์) อดีตข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ ระบุว่าท่านได้เป็นผู้ปราบผีแม่นากและสะกดวิญญาณไว้ในชิ้นส่วนกะโหลกที่ต่อมาทำเป็นปั้นเหน่งหัวเข็มขัด
• ชื่อของพ่อมาก พระโขนง ผัวของแม่นากนั้น เพิ่งจะมาปรากฎในละครร้องของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ที่ระบุชื่อตัวละครว่า นายมาก ซึ่งหลังจากละครถูกแสดงกลายเป็นกระแสโด่งดังทำให้ต่อมาใช้ชื่อสามีของแม่นากว่า พ่อมาก นั่นเอง
• เรื่องของแม่นาคห้อยหัวในวัดมหาบุศย์นั้นมาจาก คำบอกเล่าของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่เล่าว่า ตอนท่านอายุราว 10 ขวบ ผู้ใหญ่พาไปวัดมหาบุศย์ ที่ศาลาการเปรียญไม้มีรอยเท้าเปื้อนโคลนติดอยู่บนเพดาน ซึ่งร่ำลือกันว่านั่นเป็นรอยเท้าของแม่นาค
• เพลงกล่อมลูกของแม่นาคที่ได้ยินทุกวันนี้มาจากเพลงกล่อมลูกในเวอร์ชั่นภาพยนตร์ นางนากของ นนทรีย์ นิมิบุตร ประพันธ์ดนตรีโดย ชาติชาย พงษ์ประภาพันธ์ ซึ่งเป็นการทำดนตรีประกอบภาพยนตร์เรื่องแรกด้วย ซึ่งเพลงกล่อมลูกฉบับนี้กลายเป็นธีมประจำตัวแม่นากมายาวนานกว่า 20 ปีเลยทีเดียว รวมถึงถูกนำมาใช้ในภาพยนตร์แดง พระโขนงด้วย
----------------------------------------------------
>> ดูหนังออนไลน์ได้ที่ Movie.TrueID <<
หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับทรูไอดีสามารถเข้าไปได้ที่ TrueID Help Center เป็นช่องทางใหม่ที่ให้ข้อมูลและการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นเกี่ยวกับทรูไอดี คลิกเลย >> https://bit.ly/3xEgdAa