ในปี 1896 ท่ามกลางอากาศอันหนาวเหน็บในเมืองนิวยอร์ก ตำรวจพบร่างเด็กชายคนหนึ่งกลางสะพานวิลเลียมส์เบิร์ก สวมเพียงชุดชั้นในสตรีเนื้อบาง ร่างถูกผ่าจนเห็นอวัยวะภายในทั้งหมด เบ้าตากลวงโบ๋ และอวัยวะเพศถูกตัดมายัดไว้ในปาก คดีวิปลาสนี้ทำให้ตำรวจพุ่งเป้าไปที่ฆาตกรซึ่งน่าจะเป็น "โรคบ้า" ทีโอดอร์ รูสเวลต์ ผู้บัญชาการตำรวจขณะนั้นจึงต้องขอความช่วยเหลือจากเพื่อนเก่าอย่าง ลาสโล ไครซ์เลอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชมือหนึ่งของประเทศให้มาช่วยสืบหาคนร้ายแบบลับ ๆ ก่อนที่จะมีเหยื่อรายต่อไปด้วยความที่เนื่อเรื่องมีฉากอยู่เมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว แน่นอนว่าวิทยาการทางด้านนิติวิทยาศาสตร์อาจจะยังไม่ก้าวหน้ามากนัก บางเรื่องถ้าเป็นอย่างในยุคนี้เราสามารถคิดว่าแค่ใช้วิธีนั้นวิธีนี้ก็สืบเจอตัวคนร้ายแล้ว บางทีอาจจะจับฆาตกรได้ตั้งแต่บทแรกด้วยซ้ำ แต่นี่แหละคือความโดดเด่นของนิยายเล่มนี้ ความที่เราไม่รู้มากนักแม้จะมีหลักฐานมากมายก็ตาม ทำให้การสืบสวนมุ่งเน้นไปที่การวิเคราะห์พฤติกรรมคนร้ายและชำแหละมันออกมาเป็นสมมุติฐาน เพื่อที่จะได้เข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงความวิปลาสนั้น ผ่านสามตัวละครหลักคือลาสโล ไครซ์เลอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวช จอห์น สกายเลอร์ มัวร์ นักข่าวอาชญากรรมและซารา ฮาเวิร์ด เลขาไฟแรงในกรมตำรวจนิวยอร์กในยุคก่อนศตวรรษที่ 20 ผู้ซึ่งป่วยด้วยโรคด้วยอาการทางจิตเป็นบุคคลแปลกแยก และจัดเป็นพวกนอกคอกในสังคมดังนั้นผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชศาสตร์จึงถูกเรียกว่า คนนอกหนังสือเล่มนี้ยังได้ถูกนำไปสร้างเป็นซีรีย์ในชื่อเดียวกันและฉายผ่านทาง Netflix (ถ้าใครดูซีรีย์แล้วความรู้สึกค้างก็มาอ่านหนังสือต่อได้) ซึ่งหากใครชื่นชอบซีรีย์ Mindhunter ที่อยู่ในหมวดหมู่เดียวกันแล้ว ก็คงจะชื่นชอบหนังสือเล่มนี้ได้ไม่ยาก เพราะวิธีการสืบสวนของสองเรื่องนี้คล้ายคลึงกันมาก นั่นคือการวิเคราะห์สภาพจิตใจของฆาตกรเพื่อจำกัดลักษณะคนร้าย โดยจะตั้งสมมุติฐานขึ้นมาจากทฎษฎีจิตวิเคราะห์ต่าง ๆ ที่ปรากฏตลอดทั้งเรื่อง ให้คนอ่านคิดตาม และด้วยการแปลจากคุณนันทวัน เติมแสงสิริศักดิ์ก็ทำให้เราเข้าใจง่ายและอ่านหนังสือ 550 หน้านี้จบโดยไม่ติดขัดแน่นอน โดยรวมแล้วเป็นหนังสือที่เหมาะสำหรับนักสืบทั้งหลายผู้คลั้งใคล้การวิเคราะห์จิตใจและอาชญากรรม หนังสือเล่มนี้จะไม่ทำให้คุณผิดหวังแน่นอน รูปภาพที่ 1,2 โดยผู้เขียนขอบคุณรูปภาพจาก Netflix รูปภาพที่ 3