สวัสดีค่ะ อู๊ดสีชมพูมารีวิว ภาคต่อของหนังสะท้อนปัญหาความรุนแรงของนักเรียนอาชีวะ อย่าง "4 KINGS 2" หนังที่สานต่อความปังจากภาคแรกได้ดีทั้งการแสดง คำวิจารณ์ทางเชิงบวก กระแสและรายได้เรื่องราวจะเป็นอย่างไร ไปติดตามกันค่ะ ชื่อเรื่อง : 4 Kings II หรือ 4 Kings 2ภาคก่อนหน้า : 4 KINGS อาชีวะยุค 90แนว : นีโอ-ทัวร์, ดรามา - อาชญากรรมเข้าฉายในโรงภาพยนตร์เมื่อ 30 พฤศจิกายน 2566ความยาว 139 นาทีหมายเหตุ : เนื้อหามีการเปิดเผยเนื้อเรื่อง เรื่องย่อhttps://www.youtube.com/watch?v=Kv2rtntu_oQดำเนินเรื่องต่อจากภาคที่แล้ว แต่มาเน้นที่ สองสถาบันอาชีวะอย่าง "กนก" และ "บุรณพนธ์" รวมทั้งเปลือยชีวิตอีกมุมของ "ยาท เด็กบ้าน"เรื่องราววลุกลามยิ่งขึ้นเมื่อ "ตุ้มเม้ง กนก" ถูกฟันจนมือขาด กลายเป็นผู้พิการ กลุ่มเพื่อนรักนำทีมโดย "บ่าง กนก" จึงแค้นใจเป็นอย่างมาก เขาจะเอาคืนแทนเพื่อนให้สาสม ซึ่งในที่เกิดเหตุพบสมุดของโรงเรียนอาชีวะบุรณพนธ์ตกอยู่ ซึ่งความขัดแย้งที่ลุกลามบานปลายนี้ เกิดมาจาก "ยาท เด็กบ้าน" ที่ทำให้นักศึกษาอาชีวะสองสถาบันเข้าใจกันผิด นักแสดงแหลม-สมพล รุ่งพาณิชย์ รับบทเป็น "บ่าง กนก" นักเรียนอาชีวะ โตมาในสลัมเดียวกับยาท เด็กบ้าน ทั้งสองเคยสนิทกัน แต่เมื่อต่างคนต่างโต ก็แยกย้าย ต่างชีวิต ต่างอุดมการณ์บ่าง นั้นรักเพื่อน รักสถาบัน รักปืนที่เป็นสมบัติชิ้นสุดท้ายของพ่อที่ตายไปแล้ว ไม่ต่างจากนักศึกษาอาชีวะคนอื่น ๆ เขารักมากจนละเลยพี่สาวที่ทำงานงก ๆ หาเงินจุนเจือครอบครัวและคอยวิ่งเต้นหาเงินประกันตัวเวลาบ่างถูกจับตัวละครนี้ออกมาแว๊บ ๆ ในภาคแรก ที่ผู้เขียนจำได้คือฉากคอนเสิร์ต เพราะเขาเป็นแกนนำของกนก หนังเรื่องนี้เป็นเรื่องแรกของพี่แหลม ซึ่งทำได้ดีนะคะ บทนี้เกิดมาเพื่อพี่เขาจริง ๆ การใช้เสียงแสดงอารมณ์ ความหนัก-เบา สมกับเป็นนักร้อง จี๋-สุทธิรักษ์ ทรัพย์วิจิตร รับบทเป็น "รก บุรณพนธ์" แกนนำของบุรณพนธ์ ด้วยพื้นฐานครอบครัวเขาน่าจะไปเจอสังคมที่ดีกว่านี้ เพราะพ่อแม่มีฐานะแต่รกดันหัวไม่ดี จึงต้องเบนเข็มมาเรียนอาชีวะ ซ้ำยังใช้ความรุนแรง สร้างความอับอายให้พ่อแม่ เวลามีเรื่อง เขามักถูกปล่อยตัวออกมาคนแรก ๆ เพราะที่บ้านมีกำลังจ่ายได้ทันทีความที่พ่อแม่เป็นนักธุรกิจ เมื่อเขาเกิดมาแล้วไม่เป็นอย่างที่คาดหวัง จึงไม่ได้รับความใส่ใจ ความรักจากพ่อแม่ แม้กระทั่งอ้อมกอด เหมือนสินค้าที่ตกเกรด รอวันโละทิ้ง ทำให้รกพยายามสร้างภาพตบตาเพื่อนว่าครอบครัวตัวเอง เต็มไปด้วยความรัก ความอบอุ่น ความเข้าใจถือเป็นการดู จี๋ เล่นบททรงอย่างแบด ครั้งแรกสำหรับผู้เขียน โดยรวมทำได้ดีกว่าที่คิดไว้มากเลยค่ะ ทำถึงทุกอารมณ์ทั้งรุนแรง เจ็บแค้น อับอาย เสียใจ พยายามเข้มแข็ง โกหกหน้าตาย รวมทั้งการแก้แค้นแบบคนเสียสติ ดูแล้วอินตาม ทู-สิราษฎร์ อินทรโชติ รับบทเป็น "เอก บุรณพนธ์" เพื่อนสนิทของรก พัฒนาการของตัวละครนี้จากภาคที่แล้วคือ ปรับปรุงตัวได้ดีขึ้น ช่วงแรกยังคงร่วมปะทะกับอริต่างสถาบัน ไปทุกคอนเสิร์ตที่เพื่อนชวน แต่พอเกิดเหตุรุนแรงซ้ำขึ้น ทำให้เขาคิดได้และตัดสินใจเลิกใช้ความรุนแรง หันมาโฟกัสที่การตั้งใจเรียนให้จบเพียงอย่างเดียวตัวละครนี้ไม่ได้มีฉากแสดงอารมณ์พีค ๆ หรือมีปมปัญหาชีวิตเท่ากับตัวละครอื่น แต่เราว่าเขาแสดงบทที่นิ่ง ๆ ไม่ฉูดฉาดได้ดีค่ะ บิ๊ก D Gerrard หรือ อุกฤษ วิลลีย์ บรอด ดอนกาเบรียล รับบทเป็น "ยาท เด็กบ้าน" ตัวละครนี้มีพัฒนาการจากภาคที่แล้วคือ มีความเป็นมนุษย์มากขึ้น เราได้เห็นเขาในอิริยาบถอื่น เห็นมุมดี ๆ ของเขาที่ต้องแบกรับภาระดูแลคุณตาแท้ ๆ ที่ถูกลูกหลงจากเด็กอาชีวะตีกัน จนกลายเป็นผู้พิการติดเตียง ทำให้ชีวิตของเขาต้องมืดมน ผันตัวเองเข้าสู่เฉดสีเทาเพื่อเอาชีวิตรอดและเป็นศาลเตี้ยพิพากษาพวกเด็กอาชีวะให้รุนแรงสาสมความรุนแรง โรคจิต ของยาท ทวีความรุนแรงมากขึ้น จากภาคที่แล้ว แต่ลุคเขาในภาคนี้ กลับดูดีขึ้น เป็นผู้เป็นคนมากขี้น ยามไม่ต้องเผชิญหน้ากับเด็กช่าง เขาคือคนปกติคนหนึ่ง รักครอบครัว รักคนมีพระคุณ เป็นมิตรกับคนในสลัม ส่วนโมเมนต์พิเศษที่ได้แสดงมิติทางอารมณ์คือ ตอนเผชิญหน้ากับ บ่าง กนก เด็กอาชีวะที่เขาเกลียดแต่มันดันเป็นเพื่อนรักของเขา ตัวละครนี้เวลาดีก็ดีจนใจหายเวลาร้ายก็โหดสุด ๆ ไปเลย ทำถึงมาก ท็อป-ทศพล หมายสุข รับบทเป็น "ตุ้มเม้ง กนก" เพื่อนสนิทของบ่าง ตัวละครนี้คือชนวนเหตุสำคัญที่ทำให้ กนก และ บุรณพนธ์ ต้องมาห้ำหั่น ตีรันฟันแทง เพื่อกอบกู้ศักดิ์ศรีที่ถูกเหยียบย่ำฉากโดนฟัน ท็อปเล่นได้โอเคค่ะ มีทั้งความกลัวตายผสมความงงว่าคนที่ฟันเขาคือใคร ฟันทำไม รวมทั้งสีหน้า เสียงร้อง แสดงความเจ็บปวดก็คือสมจริงพาร์ทดรามาต่าง ๆ ทำได้ดี ตัวละครนี้คือภาพแทนของคนที่กว่าจะคิดได้ก็เกือบหมดลมหายใจ แม้จะเสียมือไปข้าง อย่างน้อยมันก็ทำให้เขาคิดได้ ใช้มืออีกข้างเลือกทำในสิ่งที่ดีเพื่อตัวเองและครอบครัวหลายคนอาจติดใจว่า ตุ้มเม้ง อมอะไรไว้ไม่ยอมบอกเพื่อนว่ายาทเป็นคนฟัน ทำให้เรื่องราวบานปลายมุมนี้ผู้เขียนมองว่า หลังรอดตาย ตุ้มเม้งไม่เอาอะไรแล้ว ใจเขาเรียกหาแต่มือข้างที่ไม่มีวันต่อติด และการพาตัวเองออกจากสภาพแวดล้อมเลวร้ายกลับไปหาครอบครัวที่เขารัก และ ทราย-อินทิรา เจริญปุระ รับบทเป็น "บุ้ง" พี่สาวบ่าง กนก เธอคือช่างเสริมสวยสุดสู้ชีวิต ทำงาน ๆ งก ทั้งสุจริตและงานผิดกฎหมายอย่าง เอเยนต์ ค้ายาเสพติด เพื่อหาเงินมาส่งเสียน้องชาย ที่เป็นครอบครัวคนสุดท้ายของเธอนี่เป็นครั้งที่เท่าไหร่แล้วก็ไม่รู้ที่พี่ทราย รับบทคนจน โตมาในสลัม เป็นเสาหลักของครอบครัว เพิ่มเติมคือเป็นทรงเอ ซึ่งพี่เขาดีไซน์การแสดงในเรื่องนี้ได้แตกต่างดีล้างทุกภาพจำ สวมบทบุ้งได้ดี เป็นธรรมชาติ ทั้งการแสดงและไดอาล็อก ความขี้บ่น เจ้ากี้เจ้าการ ฟีลเป็นทั้งแม่ทั้งพี่สาว ดูเข้าที่เข้าทางไปหมด แม้แต่การเป็นช่างทำผมและแม่ค้า ก็ทำได้ดี ดูแล้วเชื่อว่าเป็นจริง ๆ ฉากดรามาคือทำถึงอยู่แล้ว ถือเป็นการส่งบทที่ดีให้ผู้แสดงร่วมในฉากนั้น ๆ มากเลยค่ะ ภาพรวมของหนังบทภาพยนตร์ยังสะท้อนเรื่องมิตรภาพ การก้าวข้ามพ้นวัย เพิ่มเติมคือขยายสเกลเรื่องครอบครัว เห็นหลายมุมมากขึ้นจากภาคก่อนหน้า รวมทั้งการขยายขอบเขตเรื่องการใช้ความรุนแรงของนักศึกษาอาชีวะที่มีผลกระทบกลายเป็นปัญหาสังคม มีคนนอกที่ได้รับผลกระทบ จนลุกขึ้นมาเป็นศาลเตี้ยพิพากษาพวกชอบใช้ความรุนแรงในที่สาธารณะ การกำกับ สำหรับหนังภาคต่อ ที่เรื่องราวและตัวละครสืบเนื่องกัน การได้ผู้กำกับและผู้เขียนบทคนเดิมมาสานต่อ ทำให้มีความต่อเนื่อง ไม่ต้องมาเอ๊ะในหลาย ๆ จุด งานภาพยังคงหม่น ดาร์กได้ใจทีมนักแสดงแคสมาได้โอเค เล่นเข้ากัน ทุกคนทำได้ดีในบทของตน ให้คะแนนภาพรวมของหนังภาคสอง 8/10 คะแนนรับชมทั้งสองภาคได้ทาง Netflix เครดิตภาพหน้าปกออกแบบใน canvaภาพประกอบหน้าปก 4kings อาชีวะ ยุค 90 : ภาพที่ 1 / 2ภาพประกอบเนื้อหา 4kings อาชีวะ ยุค 90 : ภาพที่ 1 / 2 / 3 / 4 / 5 / 6ลิงก์คลิปวิดีโอประกอบเนื้อหา 4kings Official : คลิปที่ 1 จะฟังเพลงหรือดูหนัง ซีรีส์ใหม่สุดปัง โหลดเลยที่ App TrueID โหลดฟรี !