ดอยรวก : การสะท้อนสังคม การค้าประเวณี และการเล่าเรื่องผี ตอนที่ 1 “เต้นรำไปบนท่อนแขนที่อ่อนนุ่ม” เป็นหนังสือรวมเรื่องสั้นเล่มที่สองของนักเขียนหญิงรุ่นใหม่ ซึ่งประกอบไปด้วยเรื่องสั้นคัดสรรจำนวน 8 เรื่องที่เขียนถึงผู้หญิง ในบทบาทห“นนธี ศศิวิมล” น้าที่ ที่แตกต่างกันออกไป หลากหลายเรื่องราวที่สะท้อนให้เห็นถึงมุมมองต่าง ๆ เกี่ยวกับผู้หญิงและสภาพสังคมได้เป็นอย่างดี คุณนทธี ศศิวิมล เป็นนักเขียนที่มีผลงานต่อเนื่องนับจาก “กระต่ายตายแล้ว” เรื่องสั้นที่เข้ารอบนายอินทร์อะวอร์ดปี 2550 (ตีพิมพ์ในรวมเรื่องสั้นชื่อ สมภารระดับ 8) และยังมีหนังสือคุณภาพอีกน้อยเป็นผลงานระดับคว้ารางวัลจากเวทีต่าง ๆภาพถ่ายโดย pexels.com “ดอยรวก” เป็นหนึ่งในเรื่องสั้นในหนังสือรวมเรื่องสั้น “เต้นรำไปบนท่อนแขนอ่อนนุ่ม” ที่ได้รับรางวัลการันตีคุณภาพ การตั้งชื่อเรื่อง ดอยรวก มาจากชื่อสถานที่จริง บริเวณดอยรวกนี้ถูกเรียกว่าดอยรวกก็เพราะว่ามีกอไผ่รวกขึ้นอยู่เป็นดงมากมาย แต่กระจัดกระจายห่าง ๆ กัน และมีอีกชื่อเรียกว่า โค้งพันศพ เพราะเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง นับแต่มีการสร้างถนนสายตาก-แม่สอด เปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อประมาณปี 2513 หรือเกือบ 50 ปีมาแล้ว สมัยนั้นถนนสายตาก-แม่สอด คับแคบทำให้การเดินทางไม่สะดวก รถยนต์วิ่งเข้า - ออก ไปมาตาก - แม่สอด แบบวันเว้นวัน คือ เดินทางเข้า 1 วันออก 1 วัน เพราะรถยนต์จะสวนทางกันไม่ได้ รัฐบาลในสมัยนั้นภายใต้การนำของ จอมพลถนอม กิตติขจร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นชาวจังหวัดตาก ได้ใช้งบประมาณมาดำเนินโครงการก่อสร้างถนนสายนี้ เนื้อหาเฉพาะในเรื่องสั้น “ดอยรวก” จะนำเสนอเกี่ยวกับเรื่องราวของหญิงสาววัยกลางคน เธอเป็นครูในโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ และกำลังเดินทางกลับบ้านเกิดที่หมู่บ้านป่าโดน เธอเดินทางกลับบ้านโดยรถโดยสารคันเก่า พร้อมกับผู้ร่วมเดินทางอีก 2 คน คือเด็กหญิงวัยรุ่นสองพี่น้องจากประเทศเพื่อนบ้าน ฝั่งด้านตะวันตกที่ลักลอบเดินทางมาทำงานที่ประเทศไทย การเดินทางนั้นค่อนข้างลำบาก เพราะเป็นเวลากลางคืนอีกทั้งมีฝนตกหนักตลอดทาง ทำให้คนที่ด้านหลังรถนั้นหนาวสั่น ประกอบกับเส้นทางที่คดโค้งเกือบ 500 เมตร ด้านหนึ่งของถนนติดหน้าผาสูงชัน ส่วนอีกด้านเป็นหุบเหวลึกที่เป็นสุสานของรถเสียหลัก จำนวนหลายร้อยคันและหลายพันศพ….. จึงทำให้การเดินทางครั้งนี้น่าหวาดกลัวยิ่งนักภาพถ่ายโดย canva.com สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้คือ การสะท้อนบทบาทของผู้หญิงในแถบชายแดนของภาคเหนือที่มักเป็นเหยื่อของวงจรอุบาทว์คือ “การค้าประเวณี” โดยในเรื่องได้กล่าวถึงเด็กหญิงวัยรุ่นจากประเทศเพื่อนบ้าน 2 คน ที่ลักลอบเข้ามาทำงานที่ประเทศไทย พวกเธอจะถูกนำไปขายและส่งต่อไปยังประเทศอื่น ๆ เหมือนเป็นสินค้า“เด็กสาวตรงหน้าดูน่ารักน่าเอ็นดูและสดใสสมวัยจนน่าใจหาย ฉันหวาดวิตกว่า ในอนาคตข้างหน้าอีกเพียงไม่กี่วัน ชีวิตการทำงานในไทยที่พวกเธอวาดหวังมันจะออกมาไหนรูปแบบไหน เด็กสาวหน้าตาแบบนี้ไม่ค่อยจะเหลือรอดไปทำงานโรงงาน หรือทำงานบ้าน เลี้ยงเด็ก…แต่เลวร้ายกว่านั้นนัก” และอีกเหตุการณ์ในเรื่องคือ คนขับรถได้ดัดแปลงรถเพื่อซ่อนเด็กผู้หญิงจากประเทศพม่าอีกจำนวนหนึ่ง ไว้ใต้พื้นรถโดยสาร “คนขับรถดึงเด็กสาวที่อายุไล่เลี่ยกับวรรณเพ็ญวรรณณาขึ้นมาทีละคน หนึ่งคน…สองคน…เด็กสาวเหล่านี้ยังคงใส่ชุดแบบพม่า นุ่งผ้าถุงยาวกรอมข้อเท้า เนื้อตัวขะมุกขะมอมเปื้อนคราบน้ำมันเครื่องเป็นคราบดำ และอ่อนระโหยจนไม่มีแรงยืน ต้องมานั่งกองอยู่ที่พื้น หายใจหอบรวยริน สามคน… สี่คน…และ… เฮ้ย! ฉิบหายแล้ว ตายห่าไปคนนึงว่ะ เสียงคนขับรถอุทานดังขึ้น” โดยสะท้อนให้เห็นความจริงของสะภาพสังคมที่ไร้คุณภาพ เสียดสีความเป็นมนุษย์ที่ทำร้ายมนุษย์ด้วยกันเหมือนเช่นสัตว์ป่าที่ล่าและฆ่ากันเอง ผู้หญิงมักตกเป็นเหยื่อของกระบวนการค้ามนุษย์ ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลของมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา เสนอรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์และปัญหาด้านนโยบาย กฎหมายในประเทศไทย ประจำปี 2559 - 2560 โดยในภาคเหนือของไทย พื้นที่ จ.เชียงราย จ.เชียงใหม่และ จ.พิษณุโลก อัตราส่วนผู้เสียหายจากการค้าประเวณียังคงสูงกว่าการค้ามนุษย์ประเภทอื่น ๆนอกจากประเด็นที่ได้นำเสนอในตอนที่แล้ว เรื่องนี้ยังมีประเด็นที่น่าสนใจเพิ่มเติมอีกเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของ “เจ้าที่รัฐ” ที่ปฏิบัติหน้าที่ในแถบชายแดน โดยเสียดสีเจ้าหน้าที่รัฐผู้ที่มีอำนาจในสังคม ที่มีส่วนรู้เห็นในการกระทำที่ผิดกฎหมาย มีส่วนในการทำร้ายเพศหญิง และมีส่วนสนับสนุนให้เกิดกระบวนการค้ามนุษย์ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้วงจรอุบาทว์ของการค้ามนุษย์นี้ยังคงมีอยู่ในสังคม โดยสะท้อนให้เห็นสะภาพสังคมที่เน่าแฟะได้อย่างชัดเจน! เช่น “พี่ ไหน ๆ ก็ไหน ๆ นะ คือผมจ่ายเงินให้หมวดอู๋แล้วนะ เมื่อตอนไปเจอกันที่แม่สอดน่ะ ผมบอกแล้วว่าวันนี้ผมจะขนของ ผมเป็นเด็กบ้านพี่เชียรนะ หมวดอู๋เขารู้จัก พี่ลองโทรถามดูก็ได้แล้วนี่เขาไม่อยู่หรอ เจ้าหน้าที่ทั้งหมดมีท่าทีไม่พอใจขึ้นมาทันที เฮ้ย มึงลองโทรหาพี่อู๋ซิ มันจ่ายแล้วจริงหรือเปล่า ไอ้ห่าเอาไปแล้วก็ไม่บอก กะอมไว้คนเดียวรึไงวะเนี่ย” ความน่าสนใจอีกอย่างหนึ่งของเรื่องนี้คือ กลวิธีเล่าเรื่องผีจากสถานที่อาถรรพณ์ คือ ดอยรวก หรือฉายาโค้งพันศพที่คร่าชีวิตคนมากมายจากอุบัติเหตุนับครั้งไม่ถ้วน โดยเล่าตามตามแบบฉบับของคุณนทธี ศศิวิมล ซึ่งเคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า “เราชอบเรื่องผี เรื่องสยองขวัญ ถ้าไม่กลัวผี อ่านเรื่องผีไม่สนุกหรอก ตื่นเต้น เร้าใจไง พอเขียนมาก ๆ จนในมโนชัดมาก เราก็อินจนกลัว เขียนแล้วก็ต้องจินตนาการว่าคนอ่านจะเห็นเป็นยังไง ไม่ฟุ้งเกินไป เพราะคนอ่านรับรู้ได้ว่าเพ้อเจ้อเกินเส้น พอไม่เชื่อก็ไม่อิน” ซึ่งการเล่าเรื่องผีนั้นทำให้ผู้อ่านรู้สึกสนุกสนาน ตื่นเต้น เนื่องจากเป็นการเล่าเรื่องที่ใช้ภาษาสื่อให้ผู้อ่านเกิดจินตนาการตาม ได้อย่างชัดเจนจนเกิดความรู้สึกร่วมไปกับเหตุการณ์ เช่น “รายที่หนักสุดและยังมีชีวิตรอดมาเล่าได้คือคนขับรถเก๋งคนหนึ่ง ที่เมื่อขับผ่านดอยรวกก็เห็นคนจำนวนมากยืนเรียงแถวยาวเหยียดอยู่สองริมฝั่งฟากถนน และทุกคนต่างยื่นมือออกมาโบกเพื่อให้เขาจอดรถ มือเหล่านั้นขาวซีดและไร้ชีวิตชีวา แต่บางมือก็ชุ่มโชกไปด้วยเลือดสด ๆ เขาตกใจจนขาดสติและเสียการทรงตัวพลัดตกจากไหล่ถนนไปในเหวด้านข้าง เขาว่าบุญบารมีที่เขาทำมายังพอมีอยู่บ้าง จึงช่วยให้รถของเขาติดค้างอยู่ที่กอไผ่รวกขนาดใหญ่ก่อนที่จะลงไปกระแทกพื้นเหวด้านล่าง” นอกจากนี้ยังทำให้ผู้อ่านได้ลุ้นตลอดเรื่องว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นกับตัวละคร โดยตอนจบ ของเรื่องก็น่าหดหู่ยิ่งนัก หญิงสาววัยกลางคนตัวละครเอกของเรื่องนั้นถูกฆาตกรรม เพราะเหตุว่าพาเด็กหญิงพม่าที่ถูกนำมาค้าประเวณีไปแจ้งตำรวจ ซึ่งเป็นสายให้กับกระบวนการค้ามนุษย์ การจบเรื่องตอนท้ายจบด้วยสิ่งที่ตัวละครร้องขอกับผู้อ่าน สลับกับเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเธอ “ ถ้าคุณพบผู้หญิงวัยกลางคนแต่งตัวสุภาพเรียบร้อย ท่าทางไม่มีพิษไม่มีภัย เดินทางเข้ามาหาคุณ… ‘เออ ๆ ช่างมันเหอะว่าแต่จะทำยังไงกับอีป้านี่ล่ะ’ และถ้าเธอขอติดรถคุณไปลงที่หมู่บ้านป่าโดนแล้วละก็… ‘มึงจะเก็บมันไว้ทำแม่มึงไหมละ กูให้’ ช่วยรับเธอขึ้นรถไปด้วยเถอะนะ เธออยากกลับบ้านเต็มที…” โดยรวมแล้วเรื่องสั้นเรื่อง “ดอยรวก” เป็นเรื่องราวที่สนุกไปกับการจินตนาการ มีการใช้ภาษาและการเล่าเรื่องที่น่าสนใจ สร้างความตื่นเต้นให้กับผู้อ่าน และเป็นวรรณกรรมสะท้อนสภาวะของสังคม เหตุการณ์ หรือความจริงบางอย่าง ที่อาจเกิดขึ้นจริงในสังคมได้เป็นอย่างดี ทำให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกค้างในใจแล้วเอาไปคิดต่อ พร้อมทั้งทำให้ผู้อ่านและคนในสังคมได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวที่รอการแก้ไข วันแล้ววันเล่า…หมายเหตุ : ภาพที่ใช้ประกอบในบทความไม่ได้เกี่ยวข้องกับภาพสถานที่ถูกกล่าวถึงในบทความภาพถ่ายโดย canva.comภาพถ่ายโดย พรประภา