มาร์จาน กำลังรอขึ้นเครื่องบิน ณ สนามบินแห่งหนึ่งในประเทศฝรั่งเศส เธอได้หวนคิดถึงช่วงชีวิตที่ผ่านมา เธอเติบโตในครอบครัวปัญญาชนหัวก้าวหน้า ในช่วงค.ศ. 1978 ณ กรุงเตหะราน ประเทศอิหร่านเกิดการปฏิวัติอิสลาม***มีการเปิดเผยส่วนสำคัญของภาพยนตร์***เหตุการณ์โค่นล้มพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี นำโดยกลุ่มประชาชน นักศึกษาที่ไม่พอใจการบริหารงาน แม้ว่าโครงการของชาห์จะได้รับการยอมรับในระยะแรก ซึ่งทำให้อิหร่านเจริญขึ้น แต่ผลจากการปฏิวัติขาว คือ คนในราชวงศ์และข้าราชบริพารใกล้ชิดได้รับที่ดินมหาศาล สถานที่บันเทิงหลั่งไหลเข้ามา ทำให้ฝ่ายอนุรักษนิยมและฝ่ายศาสนาไม่พอใจอย่างยิ่ง นอกจากนี้ผลประโยชน์กลับตกอยู่ในกลุ่มชนชั้นสูงและกษัตริย์ กลุ่มอนุรักษ์นิยมขับไล่กษัตริย์ชาห์ลงจากบัลลังก์ และสถาปนาตนเองเป็นรัฐอิสลามการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เป็นสาเหตุของสงครามอิหร่าน-อิรัก อิรักเข้ามารุกราน นำโดย ซัดดัม ฮุสเซน ใช้จังหวะในช่วงที่อิหร่านมีการเปลี่ยนผู้นำมาเป็นโอกาสในการเข้าโจมตีด้วยขีปนาวุธ อิหร่านในตอนนั้นต้องเผชิญกับช่วงเปลี่ยนผ่านทั้งข้อบังคับภายใต้กฎหมายอิสลาม และสงครามกลางเมือง ครอบครัวของมาร์จานจึงตัดสินใจส่งเธอเรียนต่อที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรียชีวิตในวัยเด็กของมาร์จานก็เหมือนเด็กทั่ว ๆ ไปที่มีความคิดจากการหล่อหลอมของผู้ใหญ่ จากเดิมที่เธอเลือกจะเข้าข้างกษัตริย์ชาห์เพราะเธอถูกสั่งสอนมาจากโรงเรียนว่าพระองค์ทรงถูกเลือกโดยพระเจ้าจากเบื้องบน พ่อของเธอได้เล่านิทานชวนสยองที่ว่าความสวยงามเป็นแค่หน้าฉาก ภาพนิทานที่พ่อเล่าชวนให้นึกถึงคุกที่ขังลุงของเธอที่เคยภาคภูมิใจว่านักโทษการเมืองนั้นคือวีรบุรุษ เธอจึงเปลี่ยนความเชื่อและยังลอกเลียนแบบพฤติกรรมรุนแรงจากผู้ใหญ่ด้วยการยกพวกเพื่อน ๆ ไปตีเด็กผู้ชายวัยเดียวกันที่เป็นญาติกับกษัตริย์ชาห์ย่างเข้าวัยรุ่นเธอเลิกสนใจการเมือง หันมาชอบแต่งตัวตามสมัยนิยม ฟังเพลงร๊อค รัฐบาลอิสลามของอิหร่านจะมองสิ่งเหล่านี้เป็น ‘ความเสื่อม’ จากโลกตะวันตก แต่เด็กวัยรุ่นเหล่านี้ก็หามาครอบครองจนได้ เมื่อเธอเติบโตมาด้วยสิ่งบันเทิงและสัญลักษณ์ที่ไม่เข้าพวกอิสลาม ครอบครัวจึงเห็นว่ามาร์จานไม่เหมาะกับอยู่ที่นี่และสถานการณ์สงครามก็เลวร้ายจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้ชีวิตในยุโรปที่ให้อิสระในการแสดงออกกับเธอมากกว่า มาร์จานต้องแปลกใจเมื่อชนชาติอื่นมองประเทศกำเนิดของเธอล้าหลัง น่ารังเกียจ เธออับอายเกินกว่าจะบอกใคร ๆ ว่าเธอมาจากอิหร่าน ชีวิตวัยรุ่นของเธอเริ่มต้นสร้างความสัมพันธ์แบบคู่รัก รักแรกจบลงเพราะอีกฝ่ายเป็นเกย์ รักครั้งที่สองต้องพ่ายแพ้ให้กับชายเจ้าชู้ หลังจากนั้นมาร์จานต้องกลับมารักษาตัวที่บ้านเกิดจากโรคถุงลมอักเสบและรักษาอาการซึมเศร้า อิหร่านในตอนนั้นเป็นเผด็จการมากขึ้นกว่าเดิม การประหารชีวิตจำนวนมากสำหรับความเชื่อทางการเมือง ในที่สุดเธอก็ไม่สามารถทนอยู่ในประเทศบ้านเกิดเธอได้อีกต่อไป เธอควรจะออกจากประเทศอย่างถาวรเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกเป้าหมายโดยเจ้าหน้าที่อิหร่านในฐานะผู้คัดค้านทางการเมือง หนังบอกเล่าเรื่องลายเป็นลายเส้นแอนิเมชั่นโดย มาร์จานผู้กำกับของเรื่อง ได้เล่ามุมมองขณะหนึ่งของชีวิตที่อิหร่าน แม้ตอนแรกที่จากบ้านเกิดไปเธอไม่อยากยอมรับว่าเป็นคนอิหร่าน แต่การเติบโตขึ้นทำให้รู้ว่าเธอรักที่นี่ เธอรักครอบครัว และไม่อายใครที่ต้องบอกจากเธอมาจากอิหร่าน หนังแอมิเมชั่นเรื่องนี้จึงถ่ายทอดออกมาในอีกมุมให้เห็นว่าประเทศนี้ไม่ได้ยินดีกับสงคราม ก่อนที่สุดท้ายตอนจบเธอตัดสินใจโบก Taxi กลับบ้าน ไม่กลับไปที่อิหร่านอีกตามที่สัญญากับครอบครัว เหลือไว้แค่เรื่องเล่าของวันที่คิดถึง ความรู้สึกหลังรับชมภาพยนตร์ภาพยนตร์เลือกที่ใช้โทนสีที่ชวนให้รู้สึกหม่นหมอง แต่เมื่อฟังน้ำเสียงที่บรรยายแล้วชวนให้เข้าใจได้ว่าความรู้สึกหม่นหมองคือการคิดถึงบ้านเกิด แม้ว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในอิหร่านทั้งการปฏิรูปศาสนาอิสลาม ทำให้การเมืองการปกครองเปลี่ยนไปในรูปแบบอนุรักษ์นิยม และความรุนแรงจากสงครามเป็นเหตุให้ครอบครัวของมาร์จาน หรือผู้กำกับของเรื่องไม่ต้องการให้เธออยู่ที่นี่แต่สาเหตุที่แท้จริงแล้วเธอรักบ้านเกิดมากจนเกินกว่าจะเห็นรูปแบบบ้านเมืองที่เป็นเช่นนี้ได้ ทำให้เธอไม่สามารถอยู่ที่บ้านเกิดของตนได้อีกต่อไป ผลงานชิ้นนี้จึงอาจจะเป็นการถ่ายทอดความรู้สึกในวัยเยาว์ผ่านภาพยนตร์แอนิเมชัน โดยเลือกที่จะสะท้อนเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในอิหร่าน เปรียบเสมือนภาพ Flashback จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นหนัง Coming of Age วัยเยาว์ในอิหร่านของเธอ ขอบคุณภาพประกอบจาก IMDBหนังเรื่องนี้จากค่าย: Sony Picturesสามารถสั่งซื้อแผ่น Blu-ray และ DVD ได้ที่ Official Website