คุณผู้อ่านคงรู้จักวรรณกรรมหนังสือชุดทั้ง 9 เล่มที่เขียนขึ้นโดย เซอร์อาร์เทอร์ อิกเนเชียส โคแนน ดอยส์ (อาร์เทอร์ โคแนน ดอยส์) ชื่อว่า Sherlock Holmes (เชอร์ล็อก โฮล์มส์) เป็นเรื่องราวของนักสืบอิสระนามว่า เชอร์ล็อก โฮล์มส์ เขามีเพื่อนสนิทซึ่งเรียกได้ว่าเป็นคู่หู คู่ห่วง อย่างนายแพทย์จอห์น เอช วัตสัน (หมอวัตสัน) โดยอาร์เทอร์ โคแนน ดอยส์ เล่าเรื่องในรูปแบบการตีพิมพ์จากบันทึกความทรงจำของหมอวัตสัน อดีตสังกัดกรมแพทย์ทหารบก เพราะหมอวัตสันคือผู้บันทึกเรื่องราวที่เกิดขึ้นทั้งหมดระหว่างเขากับเชอร์ล็อกในการสืบสวนคดี และเนื่องจากหนังสือชุดเชอร์ล็อก โฮล์มส์ ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายจากผู้อ่านที่มีความสนใจด้านวรรณกรรมสืบสวน สอบสวน จึงถูกดัดแปลงและเขียนต่อจากผู้สร้างสรรค์ผลงานหลาย ๆ ท่าน เช่น เขียนหนังสือต่อจากหนังสือชุดทั้ง 9 เล่ม สร้างเป็นภาพยนตร์ แม้กระทั้งดัดแปลงเป็นซีรีส์ศาสตร์แห่งการอนุมานของเชอร์ล็อก เป็นอีกหนึ่งความโดดเด่นที่อาร์เทอ โคแนน ดอยส์ ใส่เข้าไปในตัวละครการอนุมานคือการเชื่อมโยงข้อเท็จจริงและความเป็นได้โดยใช้หลักเหตุผลในการตัดสินใจ พูดง่าย ๆ ว่าคาดคะเนด้วยเหตุผลนั้นเอง ต้องอาศัยความสามารถขั้นสูงเพราะต้องใช้ความจำที่เป็นเลิศ ช่างสังเกต ขี้สงสัย ตั้งคำถามให้เป็น และสำคัญสุดเลยคือประสบการณ์ สำหรับเชอร์ล็อกแล้วจะเรียกว่าพรสวรรค์และพรแสวงควบคู่กันก็ได้ เขารักที่จะหมกมุ่นอยู่กับวิทยาศาสตร์และศึกษาเปรียบเทียบความรู้ใหม่ตลอดเวลา เชอร์ล็อกไม่เชื่อหรือปักใจกับข้อเท็จจริงทันทีแต่เขาจะตั้งคำถามและใช้ศาสตร์แห่งการอนุมานเพื่อหาคำตอบ การตั้งคำถามหรือความขี้สงสัยที่อาร์เทอร์ โคแนน ดอยส์ ใส่เข้ามาในตัวละครเชอร์ล็อก ทางปรัชญาเรียกว่าคุณสมบัติของนักวิมุตินิยม (Scepticism) คำสอนของนักวิมุตินิยมได้รับความนิยมสมัยกรีกโบราณและโรม เป็นยุคเกือบแรกเริ่มของการก่อกำเนิดนักปรัชญาเลยก็ว่าได้ โดยพวกเขาจะไม่เชื่อในสิ่งที่เห็นหรือสัมผัสว่าเป็นความจริงจนกว่าจะได้ตั้งคำถามหรือตั้งข้อสงสัย และพินิจพิจารณาด้วยใจที่เปิดกว้าง ไม่ยึดติดเพื่อได้คำตอบที่แท้จริง ถ้าใครได้อ่านหนังสือ รับชมภาพยนตร์หรือซีรีส์เกี่ยวกับเชอร์ล็อกมาบ้างจะทราบว่าเชอร์ล็อกไม่ได้อยู่นิ่งเขาตั้งคำถามและออกตามหาความจริงตลอดเวลา เช่น เรื่องดินตามจุดต่าง ๆ ของลอนดอน ยาพิษหลากหลายชนิดทั่วโลก แม้กระทั่งตำนานเรื่องเล่า อาร์เทอร์ โคแนน ดอยส์ ไม่ได้สร้างตัวละครขึ้นมาโดยปราศจากมูลเหตุเขาเพิ่มน้ำหนักให้ตัวละครมาเป็นอย่างดีสิ่งที่ได้จากการติดตามชีวิตของเชอร์ล็อก เราจะได้รับพฤติกรรมการอนุมานมาโดยไม่รู้ตัวแม้กระทั่งการก้มลงมองรองเท้าหรือกระเป๋าของคนรอบข้างและสวมบทเป็นเชอร์ล็อก คาดเดาว่าเขาไปทำอะไรที่ไหนกับใคร รวมถึงการอ่านหนังสือหรือรับข้อมูลจากภายนอกเราจะตั้งคำถามและขี้สงสัยว่าควรเชื่อหรือไม่ ดังเช่นนักวิมุตินิยมและเชอร์ล็อกได้ทำสรุปคุณสมบัติของนักวิมุตินิยมก็มีประโยชน์และมีความสำคัญต่อศาสตร์ต่าง ๆ จนถึงปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น การแทรกซึมอยู่ในพฤติกรรมของ เชอร์ล็อก โฮล์มส์ ทว่าการตั้งคำถามและตั้งข้อสงสัยควรเป็นทางสายกลางมากกว่าความสุดโต่งที่อาจนำมาซึ่งอันตราย ดังเช่นนักปรัชญาชื่อไพไร ชายผู้ซึ่งเป็นนักวิมุตินิยมสุดโต่งถึงขั้นมองว่ามนุษย์ไม่รู้อะไรเลย ทุกอย่างคือสิ่งที่จินตนาการขึ้น สัตว์กำลังจะเข้ามาทำร้าย ไพไรก็ยังคงยึดมั่นว่ามนุษย์ไม่รู้อะไรและสัตว์เป็นเพียงแค่จินตนาการ จากตัวอย่างของไพไรคือความสุดโต่งมากเกินไป แต่สำหรับตัวละครเชอร์ล็อกนั่นคือทางสายกลาง หลังจากอ่านหรือดูเชอร์ล็อก โฮล์มส์ จบคุณผู้อ่านอาจจะกลายนักมุตินิยมก็เป็นได้ สำหรับวันนี้ขอบคุณครับขอบคุณรูปภาพจาก Pixabayรูปภาพหน้าปก / ภาพประกอบ 1 / ภาพประกอบ 2 / ภาพประกอบ 3