เรื่องรักใคร่ ๆ อยู่คู่กับสิ่งมีชีวิตมายาวนานรวมถึงมนุษย์อย่างเราด้วย นวนิยายหรือบทประพันธ์รักนั่นเป็นเอกสารที่สื่อถึงประวัติศาสตร์ความรัก ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งที่ผู้เขียนถ่ายทอดออกมาสู่สายตาของเหล่าบรรดานักอ่านผู้มีจินตนาการเหลือล้น บทประพันธ์ของ อันเดร อะซีแมน ( Andre Acimen ) ชื่อว่า Call Me By Your Name ( เอ่ยชื่อคือคำว่ารัก ) เป็นอีกหนึ่งชิ้นงานอันบุคคลผู้ชื่นชอบเสน่ห์ของความรักที่แสดงผ่านตัวอักษรควรมีครอบครองเค้าโครงและรูปแบบหนังสือ ครั้งนี้นำหนังสือฉบับแปลโดย อารีรัตน์ ขีโรท ของสำนักพิมพ์คลาสแอคท์ มารีวิวนะครับ ในส่วนของหน้าปกนั้นทำออกมาได้สวยจับครั้งแรกรู้สึกถึงความย้อนยุคเข้ากับเนื้อหาในหนังสือแต่ข้อเสียคือขาดง่ายควรใช้อย่างระมัดระวัง กระดาษที่ใช้พิมพ์เนื้อหาสีถนอมสายตาไม่ขาวหรือหม่นมากเกินไปเมื่อแสงกระทบรู้สึกสบายไม่แสบตา แปลเป็นภาษาไทยได้สวยงามอ่านง่ายเพราะโดยปกติแล้วต้นฉบับใช้สำบัดสำนวนมากพอสมควรเพราะคุณอันเดร อะซีแมน ประพันธ์ย้อนกลับไปทศวรรษที่ 80 ดังนั้นใครกลัวว่าจะอ่านไม่รู้เรื่องหายห่วงเพราะผู้แปลใช้ภาษาไม่เก่ามากอ่านง่าย ชอบครับเรื่องย่อเรื่องราวทั้งหมดเกิดขึ้นที่ประเทศอิตาลี เริ่มจากพ่อของ เอลิโอ เด็กหนุ่มอายุ 17 ปี ได้เชิญ โอลิเวอร์ นักวิชาการอายุ 24 ปีชาวอเมริกัน มาช่วยงานด้านเอกสารและฝึกงานไปในตัว เขาทั้งสองเริ่มต้นด้วยความรู้สึกที่ไม่ดีต่อกันสักเท่าไหร่แต่ระยะเวลาหกสัปดาห์ที่ได้ใกล้ชิดกันทั้งคู่สร้างสายใยความสัมพันธ์อันแนบแน่นขึ้นมา ความรักของทั้งคู่เริ่มต้นได้อย่างไรและจะจบลงด้วยรูปแบบใดนั้น ขึ้นอยู่กับปลายปากกาของอันเดร อะซีเมน ครับ ต้องตามอ่าน...ความรู้สึกหลังอ่านจบ เนื่องจากบทประพันธ์ Call Me By Your Name ถูกดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ฉายในปี 2017 และกวาดรางวัลไปมากมาย ผมเป็นหนึ่งในบุคคลผู้ชื่นชอบภาพยนตร์เรื่องนี้และยังไม่เข้าใจในหลาย ๆ ฉากว่าตัวละครรู้สึกอะไรไม่ใช่ว่าภาพยนตร์ทำออกมาไม่ดีแต่บางฉากก็ยากเกินเข้าใจได้อย่างเช่นฉากลูกพีชในตำนานค่อนข้างตีความยากแต่เมื่อได้อ่านบทประพันธ์รู้สึกว่ากลับไปดูอีกรอบยิ่งรักภาพยนตร์มากขึ้น ดังนั้นหากใครดูภาพยนตร์แล้วยังไม่เข้าใจสามารถอ่านหนังสือเพิ่มเติมได้จะเข้าใจความรู้สึกของตัวละครแปลไทยใช้ภาษาที่อ่านง่ายอิงมาจากต้นฉบับให้กลิ่นอายความเป็นบทกวี เช่น ฉากอาบน้ำตอนที่เอลิโอและโอลิเวอร์ไปเที่ยวกรุงโรมด้วยกันก่อนโอลิเวอร์จะกลับอเมริกกา โดยเอลิโอตั้งคำถามเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์และร่างกายว่า "ผมไม่ต้องการความลับ ไม่ต้องการฉากกั้น ไม่ต้องการอะไรมาขวางระหว่างเรา ผมแทบไม่รู้เลยว่าเมื่อผมเพลิดเพลินกับความพึงพอใจต่อความซื่อตรง ซึ่งรัดตรึงเราให้แนบแน่นมากขึ้นในแต่ละครั้งที่สาบานว่าร่างกายของฉันคือร่างกายของนายนั้น คงเป็นเพราะผมเองก็เพลินจุดตะเกียงดวงจิ๋วของความละอายอย่างไร้ข้อกังขาให้ลุกโชนขึ้นใหม่นั่นเอง..." จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่าผู้แปลพยายามเขียนให้อ่านง่ายที่สุดแต่ยังคงความเป็นกวีของต้นฉบับไว้ตัวละครไม่ได้สื่อสารออกมาตรง ๆ แต่ใช้วิธีพรรณนาหรือเปรียบเทียบ ถ้าเราอ่านตั้งแต่ต้นบริบทของตัวละครจะค่อย ๆ สร้างกรอบความคิดให้กับผู้อ่านทีละนิดเพื่อที่จะได้เข้าใจวิธีการสื่อสารของตัวละครฉะนั้นแล้วไม่ต้องกลัวว่าจะอ่านยากหรือไม่เข้าใจ โดยเฉพาะคนที่ชื่นชอบบทประพันธ์รักแนวปรัชญา บทกวี นักคิด ต้องชอบหนังสือเล่มนี้แน่นอนมุมความรักที่ผมได้จากหนังสือเล่มนี้จับใจมากโดยเฉพาะฉากที่พ่อคุยกับเอลิโอช่วงท้ายเล่ม ทำให้ผมมองเห็นความสวยงามของความรักไม่ว่ามันจะสุขหรือทุกข์เราต่างก็เคยได้รัก พวกเราเป็นมนุษย์ย่อมมีความรู้สึกฉะนั้นแล้วหากช่วงเวลาใดที่เรามีความรักก็ซึมซับความรักและปล่อยอารมณ์ให้โลดแล่นไปในทุ่งนภาอันกว้างใหญ่แต่ถ้าหากวันใดเราต้องผิดหวังก็จงภูมิใจว่ายังมีความรู้สึกและเคยได้รัก อย่าปล่อยให้เวลาสูญเปล่า วันนี้ร่างกายยังเยาว์ ผิวพรรณเต่งตึงเรี่ยวแรงยังไม่ตกก็จงใช้และเต็มที่ไปกับชีวิตหากวันหนึ่งเราอ่อนโรยราแล้วจะย้อนกลับไปคงไม่ทันกาลและใครที่ไม่เคยดูภาพยนตร์แต่จะอ่านหนังสือก็ย่อมได้เพราะในหนังสือละเอียดมากไม่ตกหล่นแน่นอน ความรักในบทประพันธ์มันลึกซึ้งบางครั้งต้องพักเพราะรู้สึกเขิน แนะนำให้อ่านถ้าชอบบทประพันธ์ความรักที่สวยงามและการกล่าวถึงยุค 80 คุณอันเดร อะซีแมน ทำให้ผู้อ่านอย่างเราเห็นภาพว่าบาร์สำหรับเที่ยวกลางคืนหรือกิจกรรมอดิเรกของวัยรุ่นทางตอนเหนือของอิตาลีช่วง 80 ทำอะไร และความรักของเอลิโอและโอลิเวอร์ สวยงามเพราะเขาบอกรักกันผ่านดนตรีและปรัชญาชีวิต ถ้าเพื่อน ๆ สนใจสามารถสั่งซื้อทางออนไลน์ได้นะครับเพราะหนังสือน่าจะผลิตน้อยลงแล้ว สำหรับวันนี้ขอบคุณครับรูปภาพหน้าปก / ภาพประกอบ 1 / ภาพประกอบ 4 โดยผู้เขียนขอบคุณรูปภาพประกอบที่ 2 / ภาพที่ 3 / ภาพที่ 5 / ภาพที่ 6 จาก YouTube ช่อง Sony Pictures Classics