รีเซต

"อั๋น-ฮารุ-ก้อย-ไอซ์" เผยการเลี้ยงลูกแบบไม่ตีกรอบ ทุกวันนี้มีลูกเป็นครู

"อั๋น-ฮารุ-ก้อย-ไอซ์" เผยการเลี้ยงลูกแบบไม่ตีกรอบ ทุกวันนี้มีลูกเป็นครู
CreateHatari
23 มีนาคม 2567 ( 13:15 )
60

เผยมุมมองการเลี้ยงลูกของ 4 คนดังในวงการบันเทิง อั๋น ภูวนาท , ฮารุ สุประกอบ , ก้อย รัชวิน และ ไอซ์ พาดี้ เลี้ยงลูกแบบไร้ขีดจำกัด ไม่ตัดสิน ไม่ตีกรอบใด ๆ ทั้งสิน ทุกวันนี้โลกเปลี่ยนพ่อแม่มีลูกเป็นครูสอนในบางเรื่องด้วยซ้ำ 

"อั๋น-ฮารุ-ก้อย-ไอซ์" เผยการเลี้ยงลูกแบบไม่ตีกรอบ ทุกวันนี้มีลูกเป็นครู

 

การที่มีลูกแล้วเราเป็นคนที่อยู่ในวงการก็คงมีคนสังเกตุว่าลูกจะเป็นดาราเหมือนพ่อแม่ไหม ใครเจอเรื่องนี้บ้าง ?

ฮารุ : เราจะเจอคำถามบ่อยมากๆ ว่าลูกไม้หล่นใกล้ต้นหรือเปล่า คนก็จะถามว่าลูกโตมาเหมือนพ่อหรือแม่อะไรยังไง ก็เหมือนกึ่งๆสร้างความกดดันให้กับเขา แต่ในมุมฮารุรู้สึกว่าลูกไม่จำเป็นต้องหล่นใต้ต้น ไม่ต้องหล่นไกลต้น หล่นในต้นของตัวเอง เขาต้องเลือกที่จะเป็นตัวของเขา เรามีหน้าที่ในการแค่ว่า ถ้าเขาเลือกเราสนับสนุนเขา

 

ในวันนี้คนเราสามารถเปลี่ยนอาชีพได้หลากหลายมาก อย่างพี่อั๋นก็ได้มีการสอนลูกผ่านทางโซเชียลก็มีบางที มีรายการด้วย ?

อั๋น ภูวนาท : จริงๆ ไม่ถึงขนาดตั้งหน้าตั้งตาว่าจะใช้ Social Media สอนเขา คือพี่รู้สึกว่ามันมาถึงยุคของสิ่งที่ไร้ขีดจำกัด พี่ไม่เชื่อของเขตจำกัดหรือการตีกรอบใดๆ ทั้งสิ้น รู้สึกว่าเราหน้าที่ของพ่อหรือแม่หรือผู้ปกครองคือสนับสนุนเขา ให้เขามีความพร้อมในทุกๆ ด้านให้มากที่สุดไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เพราะรู้สึกว่าตัวพี่โตมาเป็นแบบนั้น โตมาโดยถามว่าฉันทำอะไรได้ดี ฉันเก่งอะไร ตกลงฉันทำอะไรได้ดีที่สุด เป็นฉันแสดงหรือฉันร้อง พิธีกร ดีเจ หรือนักธุรกิจ ไม่รู้ แล้วทุกวันนี้ผมทำทุกอย่าง ที่ผมพูด ไม่ต้องมีขีดจำกัดแต่ทำให้เขาพร้อมสำหรับทุกอย่าง แล้วก็ไม่ได้แปลว่าเขาจะทำได้ทุกอย่างนะ แต่ว่าถ้าเขาอยากลองอะไรพี่สนับสนุนหมด พี่ให้เขาเห็นโลกซึ่งเป็นข้อดีของ Social Media เพราะในยุคเราไม่เห็นนะว่ามันเป็นยังไง แต่ในยุคนี้เราเสิร์ชให้ดู แล้วนั่งดูกับเขาแล้วอธิบายให้เขาฟัง Social Media ก็ไม่ได้ Toxic เสมอไป ซึ่งกลายเป็นสื่อการสอนก็ได้ ไร้ขีดจำกัดแล้วเขาเห็นโลกกว้าง เขาต้องมีพัฒนาการที่ดี มีสมองที่ดี มันคือหน้าที่ของเราที่ต้องเลือกของที่ดีที่สุด อะไรที่ดีที่สุดเท่าที่เราคิดว่าทำได้ ต้องใช้ความใส่ใจและความตั้งใจ

ฮารุ : เดี๋ยวนี้น่าชื่นชมพ่อแม่หลายๆ คนนะคะ เหมือนโลกทัศน์ทุกคนเปิดกว้างมากขึ้น เห็นหลายคนที่เขาไม่เอาข้อจำกัดของตัวเองไปจำกัดลูก ซึ่งเป็นพาร์ทที่สำคัญมากๆ เขาควรที่จะได้ลองก่อนว่าสิ่งที่ได้ลองไปมันใช่หรือไม่ใช่ อย่าไปตัดสินใจให้เขา แล้วคิดว่าวันนี้ที่เราเห็นในโซเชียลมีเดียต่างๆ มันเป็นในแนวทางนั้น ซึ่งในยุคของเราถ้ามันเป็นแบบนี้จะดีมากๆเลยจะทำให้เราได้ลองหลายๆสิ่ง

มีช่วงนอยบ้างไหมถ้าเราอยากจะเลี้ยงให้ดี เราจะต้องฟังใคร ?

ไอซ์ พาดี้ : คือจริงๆ แม่ทุกคนจะมีช่วงที่นอย เราจะต้องให้ลูกไปทิศทางไหนดี แต่สำหรับไอซ์ค่อนข้างจะไร้ความกังวล เพราะว่าไอซ์ถูกเลี้ยงดูมาแบบจะเป็นอะไรก็ได้เลย เลยรู้สึกว่าการถูกเลี้ยงดูแบบนี้ พ่อแม่เราก็ปล่อยให้เราเป็นอย่างเต็มที่แล้วเขาก็สนับสนุนเรา ก็อยากจะเป็นพ่อแม่แบบนั้นเหมือนกันที่แบบว่าลูกจะเป็นอะไรก็ได้เลย ในฐานะพ่อแม่เรามีหน้าที่แค่สนับสนุนเขา จะเป็นอะไรก็ได้

 

ความเชื่อมั่นที่เราจะมีให้กับลูกต้องเต็มที่ขนาดไหนในแต่ละบ้าน ?

ก้อย รัชวิน : สิ่งที่ก้อยกำลังเผชิญคือลูกไม่ไปโรงเรียน แล้วตอนแรกเราก็รู้สึกว่ามันจะเร็วไปไหม 2 ขวบ 5 เดือน ลูกกำลังจะไปโรงเรียนแล้ว แต่เราก็สังเกตุว่าทะเลเขาเป็นเด็กที่ปรับตัวได้ง่าย แล้วเราพาเขาเข้าสังคมตลอด เขาก็จะคุ้นเคยกับการได้เจอคนแปลกหน้า เจอคนใหม่ๆอยู่เสมอ ก็ลองดูลองไปก่อนแล้วเดี๋ยวลูกจะบอกเองว่าพร้อมหรือไม่พร้อม อย่าเพิ่งไปตัดสินเขาว่าลูกเราเด็กไปไม่พร้อม พอเขาไป กลับมาถึงบ้านพูดภาษาอังกฤษใส่โดยที่บางคำเรายังไม่เคยสอน มันเป็นสิ่งที่เขาได้มาจากโรงเรียน เป็นเรื่องที่เขาไปสังเกตุแล้วก็จดจำ แล้วเขาก็เอามากลับมาให้เราเห็นว่าเขาทำได้แล้วนะ เลยเป็นสิ่งที่คิดว่าถ้าเราเชื่อว่าเขาทำได้ แล้วส่งเสริมเขาไปในสิ่งที่ถูกที่ถูกเวลา เขาทำได้แน่นอน แค่ลองให้เขาทำ สุดท้ายแล้วเขาจะบอกเองว่าทำได้หรือไม่ได้ พร้อมหรือไม่พร้อม อย่าเพิ่งไปตัดสินเขา

อั๋น ภูวนาท : ล่าสุดเพิ่งไปเที่ยวมา แล้วพี่ก็มีรายการไปเที่ยวทางออนไลน์ น้องพอลบอกว่าถ่ายแบบนี้ แล้วกำกับกล้อง แล้วใช้ได้ด้วย เขามีไอเดียแล้วก็พูดออกมาเยอะแยะ แล้วเชื่อไหมว่าเทปนั้นออกมาดีกว่าแบบของเรา

ฮารุ : นี่เห็นไหมมีลูกเป็นครู พ่อแม่ทุกวันนี้พูดได้เต็มปากว่าเรามีลูกเป็นครู เพราะว่าเราเรียนรู้จากเขา ในระหว่างที่เขาโตเราก็ต้องพร้อมที่จะเรียนรู้ด้วย เราต้องเชื่อว่าลูกตัวเองเป็นเพชร เราคือคนเจียระไนให้เพชรมันสวยงาม เรามีหน้าที่แค่ไกด์ให้มันปลอดภัย ให้อยู่ในสังคมที่เราคิดว่าน่าจะดีที่สุดสำหรับเขา แต่เขาจะเลือกเอง

อั๋น ภูวนาท : เราคุ้นเคยกับคำว่า Born to be ซึ่งรู้สึกว่ามันคือการตีกรอบนิดๆ นะ แต่พี่ว่าวันนี้มันคือ Born to be beyond แล้ว beyond ในที่นี่คือ  beyond กว่าสิ่งที่พ่อแม่จะคิดได้ด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้นเราอย่าคดว่าเรารู้ไปทั้งหมด เราต้องเปิดโอกาสให้เขาโตได้มากกว่าเรา ไปได้ไกลกว่าเรา ในวันนี้เขาย้อนกลับมาเป็นครูเรา แล้วเขาบอกเราในสิ่งที่เราไม่รู้ด้วยซ้ำ 

สามารถติดตาม WOODY INTERVIEW ได้ที่ช่องทาง Facebook: Woody , Youtube: Woody