The Platformแนะนำให้ดูก่อนอ่าน !ภาพจาก : https://youtu.be/RlfooqeZcdY.แท่นลำเลียงอาหารในคุกจะเลื่อนลงมาทีละชั้น นักโทษที่อยู่ชั้นบนๆ จะได้สวาปามอย่างจุใจ ปล่อยให้เหล่านักโทษชั้นล่างต้องหิวโหยและสิ้นหวังจนกลายเป็นความอัดอั้นที่รอวันปะทุ.:.จากคำอธิบาย และ การให้ความสำคัญ ทำให้หนังเรื่องนี้ ถูกยึดโยกกับ "อาหาร" ดังนั้น อาหาร คือกุญแจ ของเรื่องภาพจาก : https://youtu.be/RlfooqeZcdYหนังมีการเน้นเรื่องอาหาร หลากฉาก1.ฉากที่พระเอก มองอาหารที่มาถึงชั้นของตน มีสภาพไม่ต่างจากของเหลือ2.ฉากความพิถีพิถัน ในการรังสรรค์อาหารแต่ละเมนู3.ฉากการไม่เคารพอาหาร การกินและตักตวงให้มาดที่สุด4.ฉากผลกระจากการกักตุนอาหาร ของแต่ละชั้น5.ฉากที่ต้องหาวิธีในการเอาตัวรวดด้วยวิธีต่างๆเมื่ออาหารขาดแคลน6.ฉากการให้ความสำคัญกับการระบุชื่ออาหารที่ชอบภาพจาก : https://youtu.be/RlfooqeZcdYโดยมี "อาหาร" เป็นปัจจัยควบคุม ทำหน้าที่แทน "ทรัพยากร" .1.สิ่งที่เลือกมาได้ 1 อย่างทำหน้าที่แทนความสามารถหรือพรสวรรค์ .2.ชั้นที่เลือกไม่ได้อุปมาอุปไมยดั่งชีวิตที่เลือกเกิดไม่ได้ .3.ส่วนอาหารที่ชอบเป็นตัวแทนของความปราถนา (หากชีวิตตกอยู่ในสภาพจำยอม คุณจะต้องการสิ่งใดมากไปกว่าการได้ทานอาหารที่ชอบซักมื้อ) สิ่งนี้ ทำให้เราเห็นถึงความสำคัญของการอยู่ชั้นบน ยิ่งสูงเท่าไหร่ยิ่งมีความเป็นไปได้ที่จะได้กินอาหารที่ชอบมากเท่านั้น และ มีสิทธิ์ในการทานอาหารที่ชอบของคนอื่น นั่นแปลว่า หาแต่ละคนทานเฉพาะอาหารที่ตนเองระบุในตอนแรก โดยไม่แตะอาหารที่ชอบของคนอื่น ไม่ว่าจะมีกี่ชั้น ทุกคนก็ไม่อดภาพจาก : https://youtu.be/RlfooqeZcdYปัญหาคือ1.หากมีเมนูที่ชอบเหมือนกันเราจะรู้ได้อย่างไรว่ามีคนที่ชอบเหมือนกันกี่คน และ เราควรแบ่งให้เขาเท่าไหร่2.เราจะทนกินเฉพาะอาหารที่ตนเองชอบเมนูเดียวติดต่อกันได้นานเท่าไหร่มองในทางดี หากมนุษย์ มีศีลธรรม เมื่อทานอาหารของตนเองจนเบื่อ จะเริ่มหาวิธีสื่อสาร เพื่อแลกเปลี่ยนอาหารของ เพื่อนที่อยู่ต่างห้องและต่างชั้นไป เพื่อความหลากหลายและปฏิสัมพันธ์อันดี หากทำแบบนี้ หารจะพอดี หรือ เหลือถึงชั้นบนในแง่มุมของหนัง ชั้นสูง ใช้สิทธิเต็มที่ในการเลือกกิน ทั้งเมนูที่ตนเองชอบ และ กินอาหารของในส่วนคนอื่น ชนชั้นล่างหากมีสิทธิ์เลือก น้อยลง ตั่งแต่เลือกอาหารที่ชอบ เมนูที่ยังสมบูรณ์ เลือกกินหรืออด จนถึงขั้นไม่มีจะกินสังคมปัจจุบันของเราเป็นแบบไหนกันนะภาพจาก : https://youtu.be/RlfooqeZcdY===============================ในช่วงวิกฤตชีวิต มนุษย์ส่วนใหญ่ มักตักตวงและกักตุน เพื่อความอยู่รอดของตัวเอง ทำให้เกิดปัญหาด้านการขาดแคลนทรัพยากร สิ่งที่เห็นกันเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ ของมหาเศรษฐี นั่นคือการแบ่งปันทรัพยากร การบริจาคเงิน หรือ ทั้งสองอย่าง คำถามที่น่าฉงน?คือ พวกเขามีจิตเมตตา หรือ มองสิ่งเหล่านั้นเป็นแค่ของเหลือ ที่จะส่งต่อให้ชนชั้นล่างสาร ที่จะทำให้เรารู้ได้ คือ ความตั้งใจ ความพิถีพิถันในการส่ง หรือ สิ่งที่ทำให้ผู้รับ รับรู้ได้ถึงความตั้งใจไม่ใช่ว่า "ทำแค่ขอไปที" หรือแค่เป็นธรรมเนียม เพราะหากไม่ทำ อาจจะมีผลกระทบบางประการ และหากพวกเขาอยู่ชั่นล่าง จะมีวิธีปฏิบัติและสภาพความเป็นจริงอย่างไร สิ่งนี้อาจทำให้เราเข้าใจว่า ทำไมคนที่หนีความจนสำเร็จ มองความจน เป็นเรื่องน่ากลัว และ พยามทำทุกวิถีทาง เพื่อรักษาฐานะทางการเงิน หรือ ฐานะทางการเงินของตัวเอง (เราไม่รู้หรอกว่าแต่ละคนต้องผ่านอะไร และ พบเจอความรู้สึกมามากมายแค่ใหนกว่าที่คนเหล่านั้นจะลืมตาอ้าปากได้ ไม่ว่าจะด้วยโชควาสนา หรือ การดิ้นรนกับโชคชะตา) ในความเป็น จริง ทรัพยากร มีเพียงพอหรือเปล่า?คำตอบ ณ ตอนนี้ ค.ศ.2020 คือมนุษย์มีทรัพยากรเพียงพอต่อการดำรงชีวิตเพื่ออยู่รอด แต่ มีไม่เพียงพอที่จะตอบสนองความต้องการของมนุษย์ทุกคน ระบบปัจจุบันที่ใช้กันอยู่ คือ การผลิตเชิงปริมาณ เพื่อตอบสนองความต้องการ แต่สุดท้าย ปัจจัยด้านการลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตที่ใช้อยู่ส่วนใหญ่ในตอนนี้ กลับสร้าง ความแตกต่างระหว่างชนชั้นทางเศรษฐกิจ คนที่มีฐานะสูงกว่า มีสิทธิในการเลือก ผลิตภัณฑ์ ระหว่าง คุณค่าความพิถีพิถันหรือประมาณ สิทธิในการเลือกนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านรายได้และการบริหารจัดการของแต่ละคน จะมีมนุษย์ซักกี่คน ที่ยอมสละสิทธินี้ เพื่อประโยชน์แก่มนุษย์คนอื่น และ การเสียสละนั้น มันจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริงเหรอ การสร้างจิตสำนึกแท้จริงและฉันทามติร่วมในการแบ่งปัน จะเกิดขึ้นกับสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า "มนุษย์" ได้หรือเปล่า ภาพจาก : https://youtu.be/RlfooqeZcdY