“ความสุขของกะทิ” ผลงานของ งามพรรณ เวชชาชีวะ วรรณกรรมเรื่องเยี่ยมที่คุ้นหูใครหลายคน จากรางวัลการันตีที่ได้รับวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียนหรือซีไรท์ ประเภทนวนิยาย ประจำปี 2549 จะว่าไปหนังสือเล่มนี้มีอายุแล้วไม่ต่ำว่า 12 ปี ถูกตีพิมพ์มาแล้วกว่า 100 ครั้ง รวมถึงยังถูกซื้อลิขสิทธิ์นำไปได้รับการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ แล้วกว่า 5 ภาษา นอกจากนี้ยังเคยนำมาทำเป็นภาพยนตร์เรื่อง ความสุขของกะทิ ที่ใครหลายคนคงเคยได้ชม(ภาพโดยผู้เขียน)ความสุขของกะทิแม้จะผ่านเวลามานาน แต่เรื่องราวที่ถูกเล่าเป็นนวนิยายของชีวิตเด็กหญิงผมสั้น ที่มีชื่อว่า กะทิ กับเรื่องราวที่อาศัยอยู่กับตาและยาย จนกระทั่งวันหนึ่ง เมื่อเธอทราบว่าแม่ของเธอกำลังป่วยเป็นโรคร้ายแรงระยะสุดท้าย จนพาเธอได้พบกับความจริงและความโศกเศร้า เรื่องราวที่เรียบง่าย หล่อหลอมให้กะทิโตขึ้น โดยล้อมรอบไปด้วยความสงบสุขและธรรมชาติของบ้านริมคลองและคนรอบข้างที่เธอรักและดูแลเธออย่างอบอุ่น จึงเป็นวรรณกรรมที่เด็กอ่านได้ผู้ใหญ่อ่านดี ภาพจาก https://pixabay.com/th/photos/หนังสือ-เอเชีย-เด็ก-เด็กชาย-1822474/ผู้เขียนเห็นว่าเรื่องราวพยายามนำเสนอเนื้อหาสะท้อนสังคมทั้งในด้านของวิถีชีวิตริมคลองในชนบทและวิถีชีวิตในเมืองแบบคนไทย ซึ่งเป็นการสะท้อนที่ให้ผู้อ่านเห็นถึงความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดและเป็นสภาพสังคมที่มีอยู่จริง ตลอดจนสะท้อนสังคมวิถีพุทธของคนไทย นอกจากนี้ยังสะท้อนความเป็นสถาบันครอบครัวในปัจจุบันที่มีทั้งครอบครัวที่สมบูรณ์และครอบครัวที่มีปัญหาแตกแยก ทำให้ผู้อ่านตระหนักถึงชีวิตความเป็นจริงของมนุษย์ ได้รับข้อคิดที่ปลุกจิตสำนึกที่ถูกต้องและดีงามใน ด้านการดำเนินชีวิตตามแบบของคนไทย และการปฏิบัติตามหลักศาสนา ผู้อ่านจะได้ซึมซับแนวคิดที่มีคุณค่าต่าง ๆ ผ่านตัวละครและเหตุการณ์ในเรื่อง เพื่อนา ข้อคิดไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิตในสังคมจริงและในโลกที่สับสนวุ่นวายได้อย่างมีนี้อย่างมีความสุขดังเช่นกะทิภาพจาก https://unsplash.com/photos/b9sDRqomYuAวรรณกรรมเรื่องความสุขของกะทิยังเต็มไปด้วยคุณค่าวรรณศิลป์ของวรรณกรรมเรื่อง ความสุขของกะทิ เป็นคุณค่าในด้านการใช้ภาษาที่ดี ไพเราะ สั้นกระชับ แต่ลึกซึ้งกินใจ ทำให้ผู้อ่านเรื่องความสุขของกะทิ เข้าใจ เรื่องราวและเข้าถึงอารมณ์ที่สื่ออกมาได้ภาพจาก https://pixabay.com/th/photos/ผู้ใหญ่-แม่-ลูกสาว-ชายหาด-เด็ก-1807500/ความสุขของกะทิ ของงงามพรรณ เวชชาชีวะ จึงไม่ใช่เป็นเพียงแค่วรรณกรรมที่ให้ความสนุกเพลิดเพลินแก่ผู้อ่านเท่านั้น แต่ทุกฉากทุกตอนในเรื่องที่เกิดขึ้นล้วนมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิต และความเป็นอยู่ของคนในสังคมไทย ความสุขของกะทิจึงเสมือนเป็นคู่ขนานกับสังคมปัจจุบัน จึงเป็นเหตุผลให้เรื่องราว ความสุขของกะทิ ยังไม่เคยเก่าในความคิดของผู้เขียน และอยากแนะนำให้ทุกคนลองอ่าน วรรณกรรมให้อะไรกับเรามากกว่าที่คิด