แม้เธอจะเป็นนักร้องที่มีแนวคิดเสรีนิมปยะชาธิปไตย แต่เติ้งลี่จวินก็หวังที่จะได้ไปร้องเพลงในจีนแผ่นดินใหญ่เติ้ง ลี่จวิน เกิดที่เมืองเป่าจง มณฑลหยุนลิน ที่อยู่ทางภาคกลางค่อนทางใต้ของเกาะไต้หวัน ในช่วงที่กว๋อหมินตั่ง เพิ่งจะย้ายจากจีนแผ่นดินใหญ่มาตั้งสาธารณรัฐใหม่บนเกาะไต้หวัน ที่แทบจะถือได้ว่า เติ้งลี่จวิน กับ ไต้หวัน ก็เกิดมาไล่เลี่ยกันเติ้ง เข้าเรียนในโรงเรียนสตรีกินหลิง โดยระหว่างที่เป็นวุ่ยรุ่นนี้เอง เธอก็เดินสายประกวดร้องเพลง จนกระทั่งเธอได้รางวัลใหญ่จากการประกวดร้องเพลงประกอบภาพยนตร์งิ้วของชาว์บราเดอร์เรื่อง "ม่านประเพณี" ผสมกับการสร้างประเทศของไต้หวันในหลายด้าน ที่หนึ่งในนั้นเป็นการปฏิรูปอุตสาหกรรมและผลิตแผ่นเสียงขึ้นเองได้ ธุรกิจค้าแผ่นเสียงและค่ายเพลงก็เฟื่องฟูขึ้นเป็นอย่างมาก เติ้งลี่จวิน จึงได้รับอนุญาตจากครอบครัว ให้เธอมาสานฝันการเป็นนักร้องได้เต็มตัว และชื่อเสียงของเธอก็โด่งดังไปทั่วไต้หวัน ที่ได้ปรากฎตัวในรายการเพลงชื่อดังในปี 1968 และได้ออกอัลบั้มเพลงหลายอัลบั้มแต่ปีที่ชื่อเสียงของ เติ้ง ลี่จวิน ขจรกระจายไปทั่วเอเชีย เกิดขึ้นเมื่อปี 1973 ที่เธอได้ไปสร้างชื่อเสียงโดยการเซ็นสัญญากับ โพลีดอร์ สังกัดในประเทศญี่ปุ่น ต่อมารายการ โคฮะคุ อุตะ กัสเซน ได้จัดนำศิลปินนักร้องที่ประสบความสำเร็จ มาประชันเสียงแข่งขันกัน เติ้งลี่จวินร้องเพลง "โทคิโนะนากาเระนิมีโอะนาคาเสะ” ที่เป็นเพลง “หว่อจื้อไจหูหนี่ (我只在乎你)” ฉบับภาษาญี่ปุ่น ซึ่งปัจจุบัน เพลงนี้ก็ยังมีการเปิดฟังอยู่ตลอด และถือเป็นเพลงอมตะเพลงหนึ่ง และในรายการนั้นเอง เติ้งก็สามารถคว้ารางวัลดาวรุ่งยอดเยี่ยมในปีนั้น ความสำเร็จทำให้เธอมีชื่อเสียงและได้ออกอัลบั้มภาษาญี่ปุ่น แต่ที่ยิ่งกว่าการโด่งดังในญี่ปุ่น เพราะเพลงของเติ้งลี่จวิน ปรากฏไปทั่วทุกหัวเมืองที่มีคนจีนอาศัยอยู่ ตั้งแต่โยโกฮาม่าไปจนถึงจาการ์ต้า หมู่บ้านของเหล่ากองพลที่อพยพในเชียงรายไปจนถึงไชน่าทาวน์ในฝั่งตะวันตกด้วยความที่พื้นเพครอบครัวของเธอเป็นทหารสังกัดกว๋อหมินตั่ง ที่เป็นทหารสายประชาธิปไตยต่อต้านพรรคคอมมิวนิสต์จีน แนวคิดของเธอจึงมีการสนับสนุนความเป็นเสรีนิยม และส่งผลให้เติ้ง ลี่จวิน ได้ไปร้องเพลงปลอบขวัญในค่ายทหารอยู่บ่อยครั้ง เพื่อเป็นกำลังใจในภารกิจรับใช้ชาติต่อต้านจีนคอมมิวนิสต์ และเพลงที่มักจะต้องไปร้องในค่ายทหารบ่อย ๆ ก็คือเพลง “เหมยฮวา (梅花)” ที่มีความหมายเล่าถึงดอกบ๊วย สัญลักษณ์ของประเทศไต้หวันที่ขจรกระจายไปทั่วแผ่นดิน และเปรียบเสมือนว่าดอกไม้ที่มีอยู่นี่นั้น ก็คือประเทศไต้หวันของทุกคน เพลงนี้ที่นอกจากจะเป็นเพลงปลอบขวัญสร้างกำลังใจให้กองทัพไต้หวันแล้ว ยังได้กลายเป็นเพลงอมตะอีกเพลงที่ยังคงมีการเปิดฟังอยู่ในทุกวันนี้แต่ด้วยความไพเราะของเนื้อหาและความหวานจากเนื้อเสียงของเติ้งลี่จวินแล้ว ยังได้แผ่ขยายอิทธิพลไปถึงจีนแผ่นดินใหญ่ ที่ชาวจีนหลายคนได้ฟังแล้ว ก็หวนนึกถึงวันวานเก่า ๆ ก่อนยุคปฏิวัติวัฒนธรรม ที่ได้ถูกทำลายลงไปในยุคที่ยุวชนเรดการ์ดออกปราบปราม ไม่นานนักชื่อเสียงของเติ้งลี่จวิน ก็กลายเป็นที่รู้จักไปทั่วเอเชีย เพลงต่าง ๆ กลายเป็นเพลงยอดฮิต ในอัลบั้ม “ถานถั่นโหย่วฉิง (淡淡幽情)” ยังได้นำเอาบทกวี “ต้านหยวนเหรินฉางจิ่ว (但願人長久)” จากลำนำ “ฉุยเตียวเก๋อโถ่ว (水调歌头)” ของ ซูซื่อ กวีในยุคราชวงศ์ถัง-ซ่ง มาทำการขับร้องเป็นเพลงอย่างไพเราะ และเพลงอย่าง “เถียนมี่มี (甜蜜蜜)” ก็ได้กลายเป็นเพลงอมตะ ที่นอกจากจะเปิดฟังกันมาหลายปีแล้ว เพลงนี้จะได้ถูกนำไปใช้ในภาพยนตร์ต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะภาพยนตร์เรื่อง “เถียนมี่มี 3560 วัน รักเธอคนเดียว” ที่นำแสดงโดย จาง ม่านอวี้ กับ หลี่หมิง ก็ได้นำเพลงนั้นมาใช้เป็นแกนหลักของเรื่องจนโด่งไปทั่วทิศความโด่งดังของเติ้ง ลี่จวินที่มีมาก ทำให้ทางรัฐบาลจีนแผ่นดินใหญ่ ทำการแบนเพลงของเติ้ง ลี่จวิน เพราะถือว่าเป็นสิ่งที่บ่งบอกความเป็นชนชั้นมากไป ขัดกับหลักอุดมการณ์ของพรรค ที่ทุกคนต้องเท่าเทียมกัน แต่ชาวจีนหลายคนก็แอบลักลอบหาฟัง โดยผ่านการซื้อขายแบบลับ ๆ แต่ด้วยความเป็นเสียงเพลง ความลับจึงไม่มีในโลก จนมีคำกล่าวในยุคนั้นว่ากลางวันฟังเติ้งใหญ่ปราศัย กลางคืนฟังเติ้งเล็กร้องเพลงอันเป็นคำกล่าวหมายถึง เติ้ง เสี่ยวผิง ผู้มีอำนาจในรัฐบาลยุคนั้น เปรียบกับ เติ้ง ลี่จวิน ที่ถือแซ่เติ้งเช่นกันเสียงเพลงของเติ้งถูกเปิดฟังไปทั่วแผ่นดินจีน จนในที่สุด ทางพรรคคอมมิวนิสต์จีน ก็ต้องโอนอ่อนไปกับความไพเราะเสนาะจากน้ำเสียงของเธอ จึงได้ขอให้เติ้งลี่จวิน ไปเปิดการแสดงที่จีนแผ่นดินใหญ่ เธอตอบรับ และนั่นก็ทำให้บัตรคอนเสิร์ตขายหมดเกลี้ยงทุกรอบภายในวันเดียว แต่สุดท้าย ทางรัฐบาลจีนก็ตัดสินใจสั่งยกเลิกคอนเสิร์ต เพราะพิจารณาพื้นเพที่เธอเป็นลูกของนายทหารจากกว๋อหมินตั่ง และแนวคิดของเธอที่แสดงออกถึงการสนับสนุนความเป็นเสรีนิยม และเกรงว่าเธอจะถือโอกาสปราศัยไปกระทบกับระบบการปกครองของจีนแผ่นดินใหญ่เข้า และการยกเลิกนี้เอง ที่ทำให้เติ้งลี่จวินโมโหจัด ถึงขั้นประกาศว่าจะไม่ไปเหยียบแผ่นดินใหญ่ จนกว่าจีนจะเป็นประชาธิปไตยหลังการประท้วงใหญ่ที่จัตุรัสเทียนอันเหมินเมื่อปี 1989 ก็มีการจัดคอนเสิร์ตอุทิศเพื่อประชาธิปไตยในจีนที่ฮ่องกง มีผู้คนเข้าร่วมมากมายเกือบ 1 ล้านคน โดยเติ้งลี่จวิน ก็เป็นหนึ่งในศิลปินที่ร่วมขับร้องในคอนเสิร์ตที่นานถึง 12 ชั่วโมงในครั้งนี้ และในฮ่องกงคงเป็นสถานที่เดียว ที่เติ้งลี่หวินได้เข้าใกล้จีนแผ่นดินใหญ่มากที่สุด8 พฤษภาคม 1995 เติ้ง ลี่จวินได้เสียชีวิตลงกะทันหัน ขณะมาพักผ่อนที่แม่ปิง จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย ด้วยวัย 42 ปี สาเหตุมาจากโรคหอบหืดที่เธอประสบป่วยมาตลอดงานศพของเติ้งลี่จวิน ถูกจัดขึ้นในในไต้หวันแบบรัฐพิธี มีประชาชนเข้าร่วมไว้อาลัยจำนวนมาก หีบศพของเธอถูกคลุมด้วยธงชาติไต้หวันโดยประธานาธิบดี หลี่ เติงฮุย (คลิกเพื่อดูบรรยากาศงานศพ)และได้เคลื่อนย้ายไปฝังไว้ที่ สุสานจินเป่าซาน ในเมืองจินซาน ทางเหนือของไต้หวัน ปัจจุบันกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญที่แฟนเพลงจากทั่วโลก ล้วนมาเคารพสักการะ และชมความสวยงามรอบสุสานโดยมีอนุสาวรีย์ เติ้งลี่จวิน สีทองอร่ามสะท้อนแสงอาทิตย์ กำลังยืนถือไมโครโฟนร้องเพลง โดยยืนหันไปทางช่องแคบไต้หวันกับชายฝั่งฝูเจี้ยนที่อยู่ตรงข้าม ราวกับเป็นสัญลักษณ์เพื่อแสดงออกว่าเธอรอคอย ที่จะได้ไปเยือนแผ่นดินใหญ่ เพื่อบรรเลงเสียงเพลงของเธอให้ชาวจีนได้รับฟัง แม้เธอจะไม่มีโอกาสไปขับขานยังแผ่นดินใหญ่ แต่เสียงเพลงของเธอ ก็กลายเป็นสิ่งอมตะ ที่ไม่เคยเลือนลางจางหายไปขอบคุณรูปภาพจาก【人物百家】一代歌后——邓丽君(三)NHK80年代邓丽君金门劳军罕见照,被称"永远的军中情人"creativecommons by wongwtcreativecommons by wongwtเชิงอรรถ【人物百家】一代歌后——邓丽君(三)Wikipedia: Teresa Tengครบ 25 ปีลาลับ เติ้งลี่จวิน นักร้องไต้หวันที่กำแพงจีนกั้นรักไม่ได้梅花 (Méi huā) (English translation)https://books.google.co.th/books?id=CvzebFwWRAcC&lpg=PP1&pg=PA145