ปุ้ย พิมลวรรณ เผยอย่าใช้งานร่างกายหนัก เหตุเสี่ยงฮอร์โมนบกพร่อง ในรายการ สวัสดีคุณหมอ
มีข้อมูลเรื่องโรคที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับวัยเพลินจากคุณหมอผู้เชี่ยวชาญมาฝากเป็นประจำ สำหรับ ปุ้ย-พิมลวรรณ หุ่นทองคำ พิธีกรรายการ “สวัสดีคุณหมอ” ทาง ช่องเพลินทีวี ครั้งนี้เป็นอาการฮอร์โมนบกพร่อง ที่สามารถเกิดขึ้นได้ตามวัยอันควร และก่อนวัยอันควรเนื่องจากพฤติกรรมการใช้ร่างกายหนักเกินไป โดยมีวิธีการฟื้นฟูรักษาที่เหมาะสมตามอาการ ซึ่งฮอร์โมนถือว่ามีความสำคัญมากกับระบบ ร่างกายของมนุษย์ โดย ปุ้ย-พิมลวรรณ เผยว่า…
“เป็นที่ทราบกันดีว่า เมื่อก้าวเข้าสู่วัยเพลินร่างกายก็มักจะมีอาการผิดปกติต่างๆ เกิดขึ้น อย่างเช่นอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกตอนกลางคืน หงุดหงิด ซึมเศร้า ผิวพรรณไม่เต่งตึงอย่างที่เคย สาเหตุสำคัญของอาการเหล่านี้ก็คือการที่ระดับฮอร์โมนในร่างกายลดลงหรือฮอร์โมนบกพร่องนั้นเองค่ะ คุณหมอให้ความรู้ว่าเป็นสารเคมีที่ร่างกายเราผลิตขึ้นมาจากต่อมไร้ท่อ ซึ่งมีอยู่หลายต่อม สารเคมีที่ต่อมไร้ท่อผลิตขึ้นมาเรียกว่าฮอร์โมน ซึ่งแต่ละต่อมแต่ละฮอร์โมนทำหน้าที่ไม่เหมือนกัน ฮอร์โมนสำคัญมากๆ เพราะว่ามันเป็นการขับเคลื่อนร่างกายซึ่งแต่ละจุดทำหน้าที่ไม่เหมือนกัน ฮอร์โมนบางประเภทขาดไม่ได้เลยเช่นเป็นการควบคุมระดับสมดุลแคลเซียมในเซลล์ ถ้าขาดอาจทำให้ถึงแก่ชีวิตทันที และสิ่งที่แสดงความเป็นเพศหญิงชายชัดเจนฮอร์โมนเพศหญิงเพศชาย ถ้าฮอร์โมนเพศหญิงบกพร่องก็จะเกิดปัญหาวัยทอง มีอาการกระดูกพรุน อาการร้อนวูบวาบ อารมณ์แปรปรวน เป็นได้ทั้งหมด ฮอร์โมนบกพร่องมาจากความเสื่อม บางคนเสื่อมตามวัยอันควร แต่บางคนเสื่อมก่อนวัยอันควรเพราะเกิดจากการใช้งานนอนดึกตื่นสาย ทานอาหารไมโครเวฟ ดื่มเหล่าสูบบุหรี่ สิ่งเหล่านี้ทำให้ร่างกายรับภาระหนัก วิธีการรักษาฟื้นฟูเรื่องผิวพรรณที่เปลี่ยนไปดูแลภายนอกควรจะเลือกผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่เหมาะสมกับเรา การดูแลจากภายในเราต้องตื่นเช้าออกกำลังกาย นอนให้เร็วเพราะฮอร์โมนที่มีคุณสมบัติฟื้นฟูเค้าจะออกมาตอนที่เราหลับสนิท หลับให้สนิทที่สำคัญต้องไม่มีแสงมารบกวนเลยระหว่างการนอนคือปิดไฟให้มืด เอาเครื่องมือสื่อสารออกนอกห้องนอนให้เยอะที่สุด วิธีที่3การเติมเต็มฮอร์โมนทดแทนหรือฮอร์โมนบำบัดเข้าไป ต้องมาวิเคราะห์ว่าวัยแพลินที่มารักษามีฮอร์โมนอะไรในร่างกายเค้าบกพร่องบ้าง แล้วเอาข้อมูลไปทำเป็นข้อมูลเฉพาะบุคคลเพื่อนำมาเป็นสูตรเฉพาะบุคคลเพื่อมาบำบัดทดแทนส่วนที่เค้าบกพร่อง แต่ละคนบกพร่องไม่เท่ากัน ฮอร์โมนที่หลายคนคุ้นเคยคือฮอร์โมนสังเคราะห์เวลาเติมเข้าไปความอันตรายขึ้นอยู่กับชนิดของฮอร์โมน”
ติดตามข้อมูลความรู้ของโรคต่างๆ ได้ในรายการ “สวัสดีคุณหมอ” ทาง ช่องเพลินทีวี ทุกวันเวลา 7.00/16.30 น.