รีเซต

เปิดความหมายของเข็มกลัดกอรอซัง ที่ “โอ๊ค ภควา” มอบให้  “ปอย ตรีชฎา”

เปิดความหมายของเข็มกลัดกอรอซัง ที่ “โอ๊ค ภควา” มอบให้  “ปอย ตรีชฎา”
ดาราเดลี่บันเทิง
22 กุมภาพันธ์ 2566 ( 06:30 )
801

เปิดความหมายของเข็มกลัดกอรอซัง ที่ “โอ๊ค ภควา” มอบให้  “ปอย ตรีชฎา”         

       ภายหลังที่ “ปอย ตรีชฎา”  และว่าที่สามี  “โอ๊ค ภควา บรรลุ หงษ์หยก”  เข้าพิธีคาราวะซินจู้ (บรรพบุรุษ) กับไหว้พระปุดจ้อ ก่อนวันผ่างเต๋ วันที่ 1 มีนาคมนี้
        ล่าสุดเพจนางใน ออกมาเล่าเรื่องเครื่องประดับที่  “ปอย ตรีชฎา”  สวมใส่ในงานคาราวะซินจู้ (บรรพบุรุษ) กับไหว้พระปุดจ้อ โดยเรียกชื่อเครื่องปักนั้นว่า  เข็มกลัดกอรอซัง


        โดยนางในเล่าว่า อันเนื่องมาแต่คุณปอย ตรีชฏา – เข็มกลัดกอรอซังให้ด้วยรักจากดวงใจ
        ในวันนี้สำนักข่าวหลายแห่งเล่าถึงพิธีคารวะบรรพบุรุษแบบภูเก็ตของคุณปอย ตรีชฎา กับว่าที่เจ้าบ่าวคุณ “บรรลุ หงษ์หยก” ในนั้นคือสำนักข่าวมติชนบรรยายว่า “เปิดภาพคู่หวานชื่น  “โอ๊ค-ปอย”  พาว่าที่เจ้าสาว ทำพิธีคารวะบรรพบุรุษ ตามแบบฉบับคนจีนภูเก็ต จัดงานเลี้ยงสละโสดให้เพื่อนๆ มาร่วมยินดีกันไปรอบนึงแล้ว สำหรับ นักแสดงสาวชื่อดัง “ปอย ตรีชฎา” และ “โอ๊ค บรรลุ หงษ์หยก”  ล่าสุดว่าที่เจ้าบ่าวก็ได้เผยภาพในพิธีคารวะบรรพบุรุษตามแบบฉบับคนจีนภูเก็ต พร้อมกันนี้ยังได้เผยภาพคู่ที่เป็นโมเมนต์หวานๆ ให้ได้ชม พร้อมกับบอกไว้ว่า “พิธีคารวะซินจู้ (บรรพบุรุษ) กับไหว้พระปุดจ้อ #บ้านเตี้ยมหล่าย       ถ้าใครสังเกตเสื้อของคุณปอยจะพบว่าแทนที่จะเป็นกระดุม หากแต่เป็นเข็มกลัดขนาดใหญ่ 3 ชิ้นกลัดเรียงกันบนเสื้อผ้าโปร่ง เสื้อแบบนี้เรียกกันทั่วไปว่า “กาบายา” ส่วนเข็มกลัดเป็นชุดที่เห็นในไทยเรียกกันว่า “กอรอสัง”
       คำทั้งสองนี้มีที่มาจากชาวโปรตุเกสที่เข้ามาสร้างอาณานิคมในเอเชีย โดยคำว่า “กาบายา” (kebaya) นั้นมาจากคำว่า “cabaia” ในภาษาโปรตุเกส ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาอารบิคและเปอร์เซียอีกที ส่วนชุดเข็มกลัดที่เรียกว่า “กอรอสัง” หรือในภาษามาเลย์เรียกว่า “kerosang” หรือ “kerongsang” มีที่มาจากภาษาโปรตุเกสอีกเช่นกัน แต่ที่มาของคำๆนี้หวานมากเลยทีเดียว
       

       ในอดีตนั้นชาวโปรตุเกสนิยมมอบจี้รูปหัวใจให้แก่หญิงคนรัก หรือคู่หมั้นแทนรักมั่นที่มีให้กัน คำว่าหัวใจในภาษาโปรตุเกสนี้เรียกว่า “coração” 

       ความนิยมมอบจี้รูปหัวใจดังกล่าวแพร่หลายมาจนถึงอาณานิคมของโปรตุเกสในเอเชียก่อน นั้นคือเมืองกัวในอินเดีย ตลอดจนในนิคมโปรตุเกสในศรีลังกา เรื่อยมาจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างมะละกาที่ภายหลังอังกฤษได้เข้ามายึดครอง จากรูปจี้รูปหัวใจค่อยๆพัฒนากลายเป็นเข็มกลัดรูปหัวใจ และนำมากลัดพร้อมกับเข็มกลัดขนาดย่อมกว่าอีก 2 ชุด ซึ่งออกแบบเป็นทรงกลม 

       ภายหลังคำดังกล่าวเลยกลายเป็นคำเรียกเข็มกลัดชุดที่มีจำนวน 3 ชิ้นอันใช้กลัดเสื้อไปโดยปริยาย โดยสตรีแถบคาบสมุทรมลายูทั้งมุสลิมท้องถิ่น สตรีจีนเปอรานากัน สตรีอินเดียล้วนหยิบยืมมาใช้  ภายหลังรูปร่างก็พัฒนาไปอีกมากมาย บ้างก็เข็มกลัดใหญ่ด้านบนทำเป็นรูปหัวใจ ส่วนเข็มกลัดเล็กอีก 2 อันเป็นทรงกลม บ้างก็เป็นทรงกลมทั้ง 3 ชิ้น หรือบ้างก็ต่างรูปทรงกันทั้ง 3ชิ้น

      การออกแบบกอรอสังนั้นจะต่างตามสกุลช่าง ถ้าเป็นชาวชาวมุสลิมลวดลายจะเป็นพรรณพฤษา ดอกไม้ ดวงดาว ตะวัน แต่ถ้าเป็นช่างชาวจีนแล้วไซ้จะเป็นรูปนก รูปแมลง สัตว์มงคลตามคติจีน ถ้าใช้กลัดในชีวิตประจำวันโดยมากจะทำจากเงิน แต่ถ้าใช้งานสำคัญ หรือรวยมากๆก็จะทำจากทองล้วนๆ 18K ขึ้นไป

       เข็มกลัดนี้ถ้าแยกกันจะเรียกว่า kerongsang serong แต่ว่าถ้ามีโซ่เชื่อมกันจะเรียกว่า kerongsang rantai ทั้งนี้เข็มกลัดตัวใหญ่สุดจะเรียกว่า “Ibu” ที่แปลว่า “แม่” และ “Anak” ที่แปลว่า “ลูก” ตัวเข็มกลัดชุดนี้จะประดับด้วยเพชรพลอยงดงาม เพชรแต่เดิมจะนิยมใช้เพชรซีก ต่อมาเมื่อการเจียรนัยเพชรดีขึ้นก็เริ่มใช้เพชรลูกโลก

       เพชรนี้แต่เดิมจะมีเหมืองเพชรอยู่ที่เมืองกาลิมันตัน ณ เกาะบอเนียว ประเทศอินโดนิเซีย ถ้าสมมุติว่าท่านใดไปเจอเป็นเพชรซีกพึงสันนิษฐานได้เลยว่าเป็นฝืมือช่างท้องถิ่น เพราะการเจียรนัยเพชรซีกที่เรียกว่า “Intan” เป็นงานฝีมือของช่างในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่หากไปเจอเพชรลูกโลกหนาๆสันนิษฐานไว้ก่อนว่านำเข้าจากตะวันตก 

       ถ้าเราดูจากเสื้อคุยปอยแล้วจะเห็นว่าเข็มกลัดชิ้นบนที่ใหญ่ที่สุดนั้นเป็นรูปหัวใจ ซึ่งรูปทรงนี้สืบคติมาจากโปรตุเกสโดยตรงเมื่อครั้งชายหนุ่มมอบจี้รูปหัวใจให้หญิงสาวด้วยความรัก 

เรียกได้ว่าสืบทอดคติให้ด้วยรักอย่างแท้จริง

เมืองภูมิ หาญสิริเพชร