วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ.2566 คือวันครบรอบ 15 ปี The Boy in the Striped Pyjamas ภาพยนตร์ในความทรงจำ เป็นหนังที่ได้ชื่อว่าทำร้ายจิตใจคนดูได้มากที่สุดอีกเรื่องหนึ่งของโลก วันนี้ผู้เขียนจึงอยากชวนหวนอดีตอีกครั้ง ด้วยการพูดถึงวรรณกรรมเยาวชน และความประทับใจในภาพยนตร์เด็กชายในชุดนอนลายทางวรรณกรรม วรรณกรรม The Boy in the Striped Pyjamas หรือ เด็กชายในชุดนอนลายทาง เป็นผลงานจากปลายปากกาของ จอห์น บอยน์ และฝีมือการแปลเป็นภาษาไทย โดย วารี ตัณฑุลากร จากสำนักพิมพ์แพรวเยาวชน ในการเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ผ่านมุมมองของเด็กชายวัยเก้าขวบ ความไร้เดียงสาที่ต้องเผชิญหน้ากับความแปลกใหม่ เนื่องจากย้ายที่อยู่ ได้ไปพบเจอกับสิ่งแวดล้อมที่ไม่คุ้นเคย และการได้พบกับเด็กชายคนนั้นที่ยืนอยู่อีกฝั่งของรั้วลวดหนาม...บทประพันธ์ ภาพยนตร์ The Boy in the Striped Pyjamas เป็นเรื่องราวของเด็กชายบรูโนวัยเก้าขวบ ที่ต้องย้ายตามครอบครัวไปอยู่บ้านหลังใหม่กับพ่อแม่และพี่สาวที่ใครต่อใครต่างเรียกว่าเอาท์วิธ เด็กชายผู้ไร้เดียงสาต้องพยายามทำความเข้าใจว่าสถานที่แห่งใหม่นี้ คือที่ไหน ทำไมถึงมีแต่ความเงียบเหงา ไม่รู้ว่าทำไมครอบครัวต้องย้ายมาอยู่ที่นี่ ในหัวเด็กน้อยมีแต่เครื่องหมายคำถาม และไม่มีใครจะให้คำตอบกับเขาได้เลย เขาจึงเริ่มออกสำรวจด้วยตัวเอง ได้พบกับผู้ชายกลุ่มหนึ่ง มีทั้งคนหนุ่ม คนแก่ และเด็ก พวกเขามีบางสิ่งที่เหมือนกัน คือสวมใส่ชุดนอนลายทาง บรูโนจึงตัดสินใจเข้าไปสังเกตใกล้ ๆ รั้ว ได้พบกับเด็กน้อยวัยใกล้เคียงกัน เขาคนนั้นมีหน้าตาหม่นหมอง สายตาเศร้าสร้อย นิสัยเงียบขรึม และมีชื่อว่าชมูเอล ซึ่งนั่งอยู่ตรงข้ามรั้ว ทั้งสองได้ทำความรู้จัก พูดคุยแลกเปลี่ยน แบ่งปันอาหาร และออกภจญภัยเริ่มต้นมิตรภาพไปด้วยกัน เป็นบทประพันธ์ที่โหดมาก สำหรับการใช้เด็กที่ไร้เดียงสาสองคนมาถ่ายทอดเรื่องราวที่แสนโหดร้าย อย่างการทำสงคราม เพราะเด็กทั้งสองคนไม่มีวันเข้าใจกับสิ่งที่ผู้ใหญ่กำลังทำ พวกเขาไม่มีวันเข้าใจการแก่งแย่งอำนาจ การทำร้ายคนที่เห็นต่างไปจากตน แต่เขาเข้าใจความเจ็บปวด ความสูญเสีย เพราะผลกระทบมันมาตกอยู่ที่พวกเขา หลายคนอาจจะคิดว่าบทประพันธ์นี้ขาดความเห็นใจเหยื่อ และให้ความเห็นอกเห็นใจผู้กระทำมากเกินไป แต่ผู้เขียนคิดเห็นว่าสามารถเข้าใจได้ เนื่องจากเขาต้องการทำให้เห็นว่าถ้าหากความสูญเสียมาเกิดกับคนกระทำ คุณจะรู้สึกเช่นไร ดูจบแล้วซึมไปหลายวันเลยเสน่ห์ตัวละคร https://www.instagram.com/p/p5yOCFKrZH/ บรูโน (รับบทโดย Asa Butterfield) เด็กน้อยแสนไร้เดียงสา ร่างกายสมบูรณ์ ใบหน้าเต้มไปด้วยรอยยิ้ม เราได้เห็นเขาใช้ชีวิตที่สุขสบายมาก ๆ ในมหานครที่กว้างใหญ่ ก่อนจะย้ายไปอยู่เอาท์วิธ ถึงจะสะดวกสบายไม่ต่างกัน แต่ความรู้สึกไม่เหมือนเดิม สภาพแวดล้อมที่ไม่ปกติ ไม่แปลกใจหากเด็กจะเกิดคำถาม ถึงการปฏิบัติกับคนด้วยกันราวกับพวกเขาไม่ใช่คน เราจะได้เห็นการกระทำที่เด็กทำไปด้วยความไม่รู้ เช่น การโกหกเพื่อให้ตัวเองไม่ต้องถูกตำหนิ แต่เมื่อเขารู้สึกผิด เราเห็นใจมากที่บรูโนจะต้องมีจุดจบแบบนี้ ชมูเอล (รับบทโดย Jack Scanlon) เด็กน้อยแสนไร้เดียงสา ที่ต้องเจอกับความโหดร้าย โดยไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเขาทำผิดอะไรถึงต้องถูกกระทำแบบนี้ เด็กวัยนี้ควจจะมีแต่รอยยิ้มบนใบหน้า แต่สิ่งที่ชมูเอลเจอมันโหดร้ายเกินกว่าที่มนุษย์จะกระทำต่อกัน ได้เจอเพื่อนใหม่ทั้งที เขาก็โกหกเพื่อเอาตัวรอด แต่ก็ไม่เคยคิดโกรธเคือง ยังพร้อมให้อภัยและเริ่มต้นใหม่เสมอ https://www.instagram.com/p/CON5ycPllEZ/?img_index=1 ครอบครัวบรูโน ที่หนังให้ความสำคัญคือแม่ของบรูโน เธอชื่อเอลซา (รับบทโดย Vera Ann Farmiga) เป็นผู้หญิงที่รักลูกมาก แม้ในใจลึก ๆ เธอจะเห็นด้วยว่าคนเหมือนกันไม่ควรถูกกระทำแบบนี้ แต่เธอก็ไม่ได้ห้ามหรืออกแรงขัดขวางการกระทำของสามี ในขณะที่สามี นั่นก็คือราล์ฟ (รับบทโดย David Thewlis) นายทหารชั้นสูงผู้คุมค่ายเอาท์วิธ กระทำทุกอย่างตามคำสั่งผู้นำ ผลสุดท้ายเมื่อผลของการกระทำมาตกอยู่ที่ลูกชายของตนเอง จะได้เข้าใจความรู้สึกของผู้สูญเสียว่ารู้สึกเช่นไร โปรดักชั่น ในเรื่องนี้มีสถานที่ไม่มาก หลัก ๆ ก็คือที่บ้านกับค่ายกักกันเอาท์วิธ แต่มันเป็นสถานที่ที่มีเรื่องราวความน่ากลัวถูกบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ที่มิอาจลืมเลือน คือเป็นหนึ่งในค่ายที่ใช้ในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้นชื่อเรื่องความโหดร้ายรุนแรง การใช้คนทดลอง การทรมาน ความอดยาก การขัดขืน และการถูกสังหาร ภาพของหนังที่เล่ามาจึงควรเป็นภาพที่โหดร้าย เพราะในความเป็นจริงคงไม่มีทางที่เด็กอย่างชมูเอลจะมานั่งเล่นอยู่ริมรั้วได้ หลายคนจึงตำหนิว่าถ่ายทอดภาพออกมาดูดีเกินไป ทำให้สงครามดูไม่รุนแรง ทำให้เหยื่อถูกกระทำเบากว่าความเป็นจริงมากเกินไป แต่เราอย่าลืมว่านี่คือสายตาของเด็กที่ไร้เดียงสา หนังพยายามเล่าในมุมมองของเด็กที่ไม่รู้เรื่องอะไรเลย ภาพจึงออกมาเป็นแบบนี้ แต่เครื่องแต่งกายผู้เขียนให้ผ่านเลยนะ ดูเป็นเสื้อผ้าที่ถูกส่งต่อ ชุดลายทางที่ใครต่อใครใส่มาแล้วหลายครั้ง บรรยากาศในตอนสุดท้ายทำได้ดีมาก หนังไม่อธิบายอะไรเลย แต่ภาพได้เล่าเรื่องทั้งหมด ทำเราจุกจนพูดไม่ออก ยิ่งคนที่รู้ประวัติศาสตร์เรื่องนี้มาดูต้องมีเสียน้ำตากันบ้างแหละ อรรถรสในการรับชม ที่จริงแล้วค่ายเอาท์วิธเกิดจากการที่บรูโนออกเสียงผิด แท้ที่จริงแล้วคือค่ายเอาช์วิตซ์ ค่ายกักกันใช้แรงงานและฆ่าล้างเผ่าพันธุ์มนุษย์ที่ใหญ่ที่สุดของนาซี ผู้เขียนพอมีความรู้เรื่องนี้อยู่บ้าง จึงมีฉากในหนังที่ประทับใจที่สุดคือฉากถอดเสื้อผ้าและต้อนผู้คนเข้าไปในห้องขนาดใหญ่ ที่ประทับใจไม่ใช่เห็นด้วยในการกระทำ หรือชื่นชมต่อเหตุการณ์นั้น ๆ แต่ชมเชยการถ่ายทำที่ถ่ายทอดเรื่องราวช่วงนี้ได้หดหู่ เป็นวิธีการฆ่าที่โหดร้ายทารุณ ด้วยกระบวนการสังหาร คัดเลือกเด็ก คนแก่ คนเจ็บที่ใช้งานไม่ได้ เข้าห้องรมแก๊สพิษ สลดใจมากที่ได้เห็นเด็กสองคนต้องเจอกับเหตุการณ์แบบนี้ และยิ่งเศร้าใจหนักมากขึ้นไปอีกเมื่อรู้ว่าเหตุการณ์นี้เคยเกิดขึ้นจริง สารภาพว่าดูเรื่องนี้ ฉากนี้ในครั้งแรก ผู้เขียนเสียน้ำตาหนักมาก ไม่คิดว่ามนุษย์จะทำกันได้ลง และไม่กล้ากลับไปดูซ้ำอีกเลย วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ.2566 คือวันครบรอบ 15 ปี The Boy in the Striped Pyjamas ภาพยนตร์ในความทรงจำ ผู้เขียนจึงเล่ามาจากความทรงจำที่เคยได้ดูและได้อ่านมา อาจมีตกหล่นก็ขอให้คนอ่านให้อภัยด้วย เพราะผู้เขียนไม่ได้เปิดอ่านหรือดูซ้ำอีกแล้ว ความรู้สึกเศร้าสลดสัมผัสครั้งเดียวก็เกินพอ คุณพีลงคะแนนบทประพันธ์ 10/10เสน่ห์ตัวละคร 10/10โปรดักชั่น 10/10อรรถรสในการรับชม 10/10คะแนนเฉลี่ย 10/10 ขอขอบคุณเครดิตภาพปก จาก asaboppเครดิตรูปภาพที่ 1,2 จาก ผู้เขียนเครดิตรูปภาพที่ 3 จาก asaboppเครดิตรูปภาพที่ 4 จาก officialdavidthewlisคอมมูนิตี้ “โลกคนรักหนัง” ห้องหวีดซีรีส์ดังออกใหม่มาแรง ป้ายยาหนังดีหนังโดน