บ้านทุ่งชายทุ่ง : หนังสือสารคดีสำหรับเยาวชน สวัสดีค่ะ ผู้อ่านทุกท่าน บทความนี้ผู้เขียนจะมาแนะนำหนังสือที่ประทับใจอีกเล่มค่ะ หนังสือเล่มนี้มีชื่อเรื่องว่า “บ้านทุงชายทุ่ง” เขียนโดยคุณจรรยา ชูสุวรรณ โดยเป็นหนังสือที่บอกเล่าวิถีชีวิตชนบทที่สงบสุข ทำให้ผู้อ่านได้สัมผัสถึงกลิ่นอายของความสุขในวิถีชีวิตอันเรียบง่ายของคนในชนบท คุณจรรยา ชูสุวรรณ นอกจะเป็นนักเขียนแล้วยังมีอีกอาชีพหนึ่งซึ่งถือเป็นอาชีพหลัก นั่นก็คือ อาชีพครู เดิมนั้นเป็นเด็กบ้านทุ่ง จากอำเภอสิชล จังหวัดนครราชศรีมา จากนั้นเข้าศึกษาต่อในสถาบันฝึกหัดครู วิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จบประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาด้วยคะแนนดี จึงได้รับการคัดเลือกให้เรียนต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง อีกทั้งยังอ่านหนังสือสอบและเข้ารับการอบรมจนสอบได้วุฒิพิเศษครูมัธยมในปีเดียว และได้รับรางวัล ครูผู้มีผลงานน่าชื่นชม (2535) ครูผู้อุทิศเวลาให้ราชการดีเด่น (2538 2540 2541 2544) ครูผู้ปฏิบัติงานดีเด่น (2542) บุคลากรต้นแบบปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ (2544) ครูผู้สอนดีเด่นเนื่องในวันประถมศึกษาแห่งชาติ (2544) ข้าราชการครูที่มีคุณภาพตามมาตรฐานเนื่องในวันประถมศึกษาแห่งชาติ (2545)ภาพถ่ายโดย : ผู้เขียน “บ้านทุงชายทุ่ง” เป็นวรรณกรรมประเภทสารคดีที่ได้รับรางวัลสารคดีสำหรับเยาวชนรางวัลชนะเลิศแว่นแก้ว ประจำปี 2552 บอกเล่าเรื่องราวของเด็กบ้านทุ่งที่มีวิถีชีวิตอยู่ท่ามกลางธรรมชาติอันบริสุทธิ์งดงาม มีตัวละครหลักคือ “ลูกจัน” เด็กผู้หญิงผู้ฝ่าฟันอุปสรรคขวากหนามจนได้เป็นครูอย่างที่ใฝ่ฝัน โดยวรรณกรรมเรื่องนี้เป็นเรื่องราวที่ถ่ายทอดมาจากความทรงจำอันงดงามของคุณจรรยา ชูสุวรรณ ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจในการเขียนจากการอ่านวรรณกรรมเรื่อง “ลูกอีสาน” ผลงานของ คำพูน บุญทวี นักเขียนซีไรต์คนแรกของไทย และได้ถ่ายทอดออกมาเป็นสารคดีสำหรับเยาวชนเรื่อง บ้านทุงชายทุ่ง เพื่อบอกเล่าความทรงจำดี ๆ และเพื่อแบ่งปันความสุขให้กับผู้อ่าน เนื้อเรื่อง บ้านทุ่งชายทุ่ง มีทั้งหมด 3 ตอน ได้แก่ ตอนบ้านชายทุ่ง ตอนโรงเรียนริมทุ่ง และตอนบ้านชายคลอง เป็นการบอกเล่าเรื่องราวชีวิติของลูกจัน เด็กน้อยผู้มีความรัก ความอบอุ่น และมีความใกล้ชิดกับผู้เป็นแม่ ซึ่งเปรียบเสมือนครูคนแรกที่ถ่ายทอดเรื่องการทำอาหารรวมทั้งเรื่องอื่น ๆ ให้แก่ลูก ทำให้ลูกจันได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง และได้สั่งสมประสบการณ์ตั้งแต่เด็กจนโต แม่สอนให้ลูกจันมีความอดทน มีความมานะพยายาม จากเด็กลูกชาวนาที่ใฝ่รู้ใฝ่เรียนจนจนประสบผลสำเร็จในหน้าที่การงาน ได้เป็นครูผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่เด็ก ๆ นอกจากนี้ในเรื่อง บ้านทุ่งชายทุ่ง ยังได้นำเสนอศิลปวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นในภาคใต้ผ่านตัวละครในเรื่อง เช่น หนังตะลุง มโนราห์ ซึ่งเป็นศิลปวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าที่เยาวชนรุ่นหลังควรช่วยกันรักษาไว้ ส่วนภาษาที่ใช้ในเรื่อง บางช่วงบางตอนจะคงไว้ซึ่งภาษาถิ่นใต้ เพื่อให้ผู้อ่านได้สัมผัสกัลป์อรรถรสทางภาษา และมีการอธิบายความหมายไว้ในอภิธานศัพท์ภาษาถิ่นใต้ในท้ายเล่ม เมื่ออ่านหนังสือเล่มนี้แล้วผู้อ่านจึงได้รับทั้งความสนุกสนาน ความบันเทิง และความรู้ที่สอดแทรกอยู่ในเรื่องอีกด้วยภาพถ่ายโดย : ผู้เขียนภาพถ่ายโดย : ผู้เขียน