ผมเพิ่งรู้ว่าเรื่องนี่เป็นงานกำกับของผู้กำกับชาวอิหร่านผู้ล่วงลับ Abbas Kiarostami จาก And Life Goes On (1992) และ Through The Olive Trees (1994) ส่วนตัวผมเคยดูแค่เรื่องเดียว คือ Where is the Friend’s House? (1987) ถือว่าเขามีชื่อเสียงในแวดวงการภาพยนตร์ทางฝั่งยุโรป เป็นปรมาจารย์ด้านการทำหนังที่ฝีไม้ลายมือที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่ธรรมดาคนนึง ใส่ใจ Details ทุกอย่าง เช่น การวางแสง การจัดตัวละคร Details เอย แม้จะสำคัญหรือไม่ก็เก็บมาหมดจนวงการภาพยนตร์ตั้งสมญานามเขาว่าเป็น หว่อง กา ไว เวอร์ชั่นยุโรปให้เลย มารอบนี้เขาขอทำหนัง Drama เหมือนเดิมเพิ่มเติมคือมีฉากหลังเป็นแดนอาทิตย์อุทัยอย่างประเทศญี่ปุ่น ซึ่งยังคงกลิ่นอายจากผลงานเรื่องก่อนๆ ของเขาอยู่เช่นเคย ถ้าบอกว่านี่เป็นหนังของคนญี่ปุ่นกำกับผมเชื่อสนิทใจแฮะระยะเวลา 1 ชั่วโมง 49 นาที ที่เหมือนจะยาวนานแต่ผ่านไปเร็วมาก คุณลุง Abbas Kiarostami ยังคง Concept ของเขาเช่นเคย ไม่มีจงใจให้เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นอย่างนี้ตรงๆ ปล่อยให้ Story ไหลไปกับความแตกต่างทางของ 2 วัฒนธรรมที่กลมกลืนเป็นธรรมชาติ เหมือนนั่งดูหนังญี่ปุ่นที่ไม่ใช่หนังญี่ปุ่น ที่ผมสังเกตได้คือ ตัวละครนำของแกชอบทำตัวลุกลี้ลุกลนตลอดเวลา จดจ่ออยู่กับสิ่งนั้นจนไม่ต้องทำอย่างอื่นทั้งที่เหตุการณ์ตรงหน้าไม่มีอะไรหน้าสิ่งหน้าขวานเลย แถมมีตัวละครสมทบที่มีนิสัยประหลาดเกินคนปกติหยั่งกะซิทคอมสร้างสีสันให้เรื่องกาวขึ้น จากเป็นหนังเครียดๆกลายเป็นหนังตลกเฉย เป็นจังหวะโบ๊ะบ๊ะที่คุณลุงชอบใช้เป็นประจำอีกด้วย เอกลักษณ์อีกอย่างคือ การใช้สถานที่เดียวเป็นศูนย์กลางของเรื่องในวันเดียวให้จบไปวันนั้น เพิ่มเติมอีกอย่างคือแฝงถึงกลิ่นอายความเป็นนิยายรักยุค 80 – 90s ผสมสังคมสมัยใหม่เล่าถึงความสัมพันธ์ของคนต่างวัยในสังคมญี่ปุ่นที่ถ่ายทอดออกมาผ่านวัฒนธรรม จารีตประเพณีได้มีเสน่ห์บริสุทธิ์ ไร้พิษภัย ลบภาพจำเดิมจากการตีกรอบเรื่องศีลธรรมอันงามในสายตาของคนดีย์ที่มองว่าความรักที่เหมาะสมต้องเป็นเรื่องของคนหนุ่มสาวเท่านั้นยอมรับว่าช่วงต้นเรื่องเผลอหลับไป เพราะรู้สึกว่า Scene ที่นางเอกอยู่ในร้านอาหารบทพูดเยอะเกินไปหน่อย ค่อนข้างน่าเบื่อแถมผ่านไปช้ามาก ตื่นอีกทีตอนคุณปู่ไปส่งนางเอกที่มหาลัยซะแล้ว เลยไม่รู้ว่าก่อนหน้านั้นพวกเขาทำอะไร 55 ต้องใช้เวลาซักพักถึงจะจูนเรื่องติดก็ใช้เวลาพอสมควร จนการปรากฎตัวของคู่หมั้นหนุ่มนี่แหล่ะคือ keywords สำคัญที่จะทำให้เรื่องน่าติมตามขึ้น เดือดขึ้นเรื่อยๆ บทสรุปจบได้ตะลึงแล้วบอกตนเองว่านั่นจบแล้วเหรอ อารมณ์จบแต่เราไม่จบ ซึ่งถ้าตั้งใจดูตั้งแต่แรกก็เดาทางได้ไม่ยากหลักๆ ของเรื่องจะวนเวียนอยู่แค่ 3 คน ไม่ว่าจะเป็น อดีตอาจารย์เกษียณอายุเป็นตัวแทนคนรุ่นก่อนที่ผ่านโลกมาเคยชิน รับบทโดย Tadashi Okuno นักแสดงอาวุโสที่ล่วงลับ จาก A taxing woman (1987) / นักศึกษาสาวรับจ๊อบขายบริการเป็นตัวแทนคนรุ่นใหม่ที่พยายามแสวงหาโอกาสที่ดีกว่า รับบทโดย Rin Takanashi จาก The door into summer (2021) และ ชายหนุ่มเลือดร้อนที่ใช้ความรักเป็นบันไดไปสู่ความเป็นใหญ่ในสังคม รับบทโดย Ryo Kase จาก Letters from Iwo Jima (2006) ทั้ง 3 คนทำหน้าที่ของตนเองได้ดี แม้หนังจะโฟกัสไปที่ คุณปู่กับนางเอก ซะมากกว่า จุดเปลี่ยนสำคัญคือการเผชิญหน้ากันของชาย 2 วัย (คุณปู่ vs คู่หมั้น) ใน scene ที่นั่งอยู่ในรถ ผมนึกถึงเรื่อง Drive my car (2021) ลอยขึ้นมาทันใดจากการสนทนาโต้ตอบระหว่างคน 2 คนเพื่อลองเชิงซึ่งกัน โดยมีนางเอกนั่งอยู่ข้างหลังด้วยความกระอักกระอวนนั้น มันเป็น Scene ที่ Touch ผมให้มีส่วนร่วมด้วยความยิ้มอ่อนๆว่าอีกฝ่ายจะจับได้หรือเปล่าว่าพวกเขากำลังปิดบังอะไรอยู่ ต่างคนมีกลเม็ดพิรุธงัดข้อออกมาดูเชิงเหมือนหมาหยอกไก่ แต่เผอิญว่าไก่ตัวนี้ไม่ใช่เหยื่อที่จะให้หมาขย้ำง่ายๆ จึงเปรียบได้กับคุณปู่ผู้สุภาพเคร่งขรึมกับชายหนุ่มขึ้หึงเลือดร้อนที่พยายามแข่งกันวัดว่าใครเหนือกว่า โดยมีนางเอกเป็นตัวจุดชนวนดังกล่าว ถ้าผมเป็นนางเอกขณะนั้นประสาทกินพอดี การนำเสนอผ่าน Dialogue ความคิดที่ต่างของตัวละครแค่น้ำผึ้งหยดเดียวก็กลายเป็นไฟลามทุ่ง จึงทำให้มองเห็นถึงนิสัยใจคอที่แท้จริงของแต่ละคนเห็นได้ชัดไม่ว่ายังไงผู้หญิงก็เป็นที่รับรองความต้องการของท่านชายอยู่ดีความสัมพันธ์ของตัวคุณปู่กับนางเอกจะคลุมเครืออยู่ตลอดทั้งเรื่อง จะรักก็ไม่ใช่ จะกิ๊กก็ไม่ใช่อีก ไม่รู้จะวาง Status ไหนกันแน่ แต่ผมชอบเนื้อหาในเรื่องที่เล่าความคลุมเครือแบบไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือตัดสินแทนว่าพวกเขามี Something อะไรกันมากกว่านี้หรือเปล่า การตีความหมายคำว่า นอกใจ ในมุมมองของเราหมายถึงอะไร การตั้งคำถามถึงศีลธรรมในตัวมนุษย์ถึงการสวมบทบาทของคนอื่นที่ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริงของตนเอง ก็เป็นการไม่จริงใจต่อกัน เมื่อสร้างโลกอีกใบแล้วก็ต้องเสแสร้งตามน้ำกันต่อไป คนที่ดูยืนหยัดอุดมการณ์ ความแน่วแน่จริง ๆ คือคู่หมั้นนางเอก ที่ชัดเจนที่สุด ถ้าไม่นับนิสัยที่ห้าวเป้งเกินตัวข้อคิดที่ได้จากเรื่องนี้คือ อย่าเกาะความยาวสาวความยืด คำง่าย ๆ ที่สั้น ๆ แต่ได้ใจความว่า ถ้าอยากปฏิสัมพันธ์แต่ไม่อยากผูกพันก็ไม่ต้องสร้างข้ออ้างอะไรมาเป็นเงื่อนไขผูกมัดเพื่ออยากจะเป็นเจ้าของของเขา เหมือนกระดาษทิชชู่ใช้เสร็จก็ทิ้งลงถังขยะอย่าใช้ซ้ำอีก การเอาใจไปเล่นกับความรู้สึกคนก็คือการลงทุนที่ย่อมมีความเสี่ยงอยู่แล้ว หากคาดหวังกับความรู้สึกของคนอื่นมากจนกลายเป็นการคุมคามกดดันคนอื่นแล้วเปลี่ยนมาอยากจะเอาชนะขึ้นมาเพื่อให้ตนเองดีกว่านั้นไม่ใช่ความรักที่ถูกต้อง มนุษย์เองมีความรัก ใคร่ โกรธ หลงไม่เลือกวัย มีอดีตที่ผ่านมามีโลกส่วนตัวและกำลังจะมีอนาคตของแต่ละคน บางครั้งไม่จำเป็นต้องหาคำตอบจากเขามาก แค่มีเหตุผลรองรับไว้ใจซึ่งกันก็พอแล้ว แม้จะถูกใจหรือไม่ก็เป็นสิทธิของแต่ละคน ขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านครับ เมื่อได้อ่านแล้ว สามารถกด Like กด Share บทความของผม EMCONCEPT เพื่อเป็นกำลังใจในการรีวิวครั้งต่อไป ขอบคุณครับขอขอบคุณภาพประกอบโดย :Facebook / DocumentaryClubTH = ภาพประกอบหน้าปก / ภาพประกอบที่ 1 / ภาพประกอบที่ 2 / ภาพประกอบที่ 3www.kiarostami.org/film/like-someone-in-love = ภาพประกอบที่ 4 / ภาพประกอบที่ 5จะฟังเพลงหรือดูหนัง ซีรีส์ใหม่สุดปัง โหลดเลยที่ App TrueID โหลดฟรี !