นับว่าเป็นภาพยนตร์ที่ผู้เขียนชอบมากอีกเรื่องไม่ว่าจะเป็นด้านของแนวคิด ความหมาย และการดำเนินเรื่องที่เนิบช้าและเล่นกับจิตใจคนดูได้อย่างน่าสนใจ ภาพยนตร์ที่ดัดแปลงจากเรื่องสั้น “Saying Goodbye to Yang” ของ อเล็กซานเดอร์ ไวน์สไตน์ ในหนังสือ Children of the New World และโคโกนาดะ ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่องนี้ได้อ่านก็หยิบมาเล่าต่อในรูปแบบของเขา เอาเข้าจริงๆผู้เขียนชอบไม่ได้มีแค่ตัวเนื้อหาของภาพยนตร์แต่ตัวนักแสดงที่มารับบทนี้ก็นับว่าน่าสนใจ อย่าง เจค (พ่อ) ที่รับบทโดย โคลิน ฟาร์เรล (Colin James Farrell) / ไคร่า (แม่) ที่รับบทโดย โจดี้ เทิร์นเนอร์-สมิธ / มิก้า (ลูกสาว) MALEA EMMA TJANDRAWIDJAJA ที่มารับบทลูกสาวของครอบครัวนี้ และหนุ่มที่รับบทเป็นหุ่นยนตร์หยางอย่าง จัสติน เอช. มิน ต้องบอกว่าน่าสนใจกับทุกตัวละครเล่าย่อๆเรื่องราวมันเริ่มขึ้นเมื่อหุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ที่ครอบครัวนี้ซื้อมาเพื่อเป็นพีชายของลูกสาวของเขา (ที่เรียกว่าหุ่นยนต์พี่เลี้ยง) แล้วจู่ๆหุ่นยนต์ที่ชื่อว่าหยางก็ได้ทำการปิดระบบตัวเองลงทำให้เจคผู้เป็นพ่อต้องหาทางซ้อมหุ่นยนต์ตัวนี้กับคือว่าเพราะว่ามันเป็นเหมือนกับคนในครอบครัวที่ไม่สามารถทิ้งมันได้“กล้องพร้อม นักแสดงพร้อม เทปเดิน…ซีน 1 คัท 1 เทค 1…แอ็กชัน”1 ซีน (Scene) คือ “ฉาก” ว่าด้วยเรื่องของฉาก / AFTER YANG - อาฟเตอร์ หยาง เป็นภาพยนตร์ที่เล่าเรื่องด้วยภาพสะสวนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นแนว Traditional Portrait แต่ถูกเปลี่ยนให้เป็นภาพเคลื่อนไหวเบาๆไม่กี่วินาที Landscape และ Street photography or life ก็เช่นกันการเล่าเรื่องถ่ายภาพที่อยู่ในความทรงจำของหยาง ผู้เขียนมองว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากๆเพราะแต่ละภาพและถูกเล่าออกมาเป็นวิดีโอไม่กี่วินาที่แต่ก็ทำให้แต่ละฉากนั้นเข้าไปกระตุกต่อมความรู้สึกของคนดูได้อย่างไม่เคอะเขินและตรงไปตรงมา ธีมหลังที่ว่าด้วยเรื่องโลกอนาคตที่มนุษย์กับหุ่นยนตร์ AI อยู่ร่วมกันได้แบบสนิทใจและการยอมรับถึงการมีอยู่ของมนุษย์โคลนนิ่ง ธีมหลักว่าด้วยเรื่องราวของครอบครัวที่สูญเสียหุ่นยนต์อันเป็นที่รักไป ฉากต่างๆที่เล่าออกมานั้นคือหลังการตายของหยางอย่างไม่ทราบสาเหตุเลยทำให้ภาพยนตร์ขาดลายละเอียดในเรื่องของโครงสร้างฉากไปพอสมควร2 คัท (Cut) คือ “มุม”ว่าด้วยเรื่องของบท / บทภาพยนตร์เรื่องนี้ถือว่าค่อนข้างทำออกมาได้อย่างน่าสนใจแต่ตัวบทที่มีน้อยนิดและการเล่าเรื่องราวของภาพยนตร์ที่จะให้อยู่ในกรอบเวลาทั้ง 1 ชั่วโมง 35 นาที 38 วินาที นั้นผู้เขียนมองว่าเป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุสมผลเพราะบทส่วนใหญ่เทได้หาฝั่งของพ่ออย่างเจค เหมือนกับว่าเขาคือตัวดำเนินเรื่องหลักแต่จริงๆตัวหลักคือหยาง ถึงแม้บทของภาพยนตร์จะดูน้อยๆและไม่สมเหตุสมผลแต่เรื่องของบทก็ยังมีให้ผู้เขียนเลาต่อในแง่ดี เพราะความจริงบทที่น้องนิดนี้ภาพยนตร์กลับเล่าเรื่องราวผ่านการฉายภาพสวยๆของฉากให้เราได้เห็นและเล่าล้อไปกับทบได้อย่างลงตัวเนื้อหาส่วนใหญ่ก็ลงเริ่มเข้าท่าเข้าทางในครึ่งหลังแต่ครึ่งแรกยังเป็นการจับวางเหมือนจะเล่าบางอย่างออกมาแต่ทำได้ไม่ดีพอ ช่วงหลังยังทำได้ดีมากกว่าและเป็นเรื่องราวได้ชัดกว่า 3 เทค (Take) คือ “จำนวนครั้งที่เล่น”ว่าด้วยเรื่องของตัวละคร / เราไม่ได้เห็นตัวละครเติบโตอะไรมากมายแต่ภาพยนตร์กลับพาเราเหล่าคนดูไปสำรวจเรื่องราวและความเป็นมนุษย์ความมีอยู่ของมนุษย์มากกว่า ที่ผู้เขียนว่าอย่างนั้นเพราะเราได้เห็นภาพยนตร์ ที่ค่อยๆเผยความในใจของตัวเองออกมาอย่างเจคที่เผยเรื่องราวของตัวเองและความหลงใหลในการดื่มชาผ่านเขาและตัวของหยาง ไคร่าที่เล่าถึงความคิดของตัวเองผ่านการที่ต้องมาเห็นหยางกำลังทำของสะสมอย่างการสต๊าฟผีเสื้อ และเล่าถึงความเป็นไปเป็นมาของตัวละครผ่านฉากนี้ มิก้าเด็กน้อยผู้ถูกรับเลี้ยงและเป็นชาวจีน หากใครสังเกตตอนที่เจคและมิก้าจะมีข้อความที่เขียนว่า (สิ้นสุดแล้วหลังจากรบกัน 60 ปี) เด็กน้อยที่รู้สึกว่าตัวเองแต่ต่างจะพ่อและแม่นั้นต่างเล่าความในใจให้หยางฟังและหยางก็เปรียบเทียบคนต่างเชื้อชาติที่อยู่ร่วมกันได้เหมือนกับการทาบกิ่งของต้นไม้ และสาวน้อยอีกคนที่ภาพยนตร์เล่าถึงอย่าง เอด้า ที่หยางมีความสนใจในตัวเธอ (เหมือนในภาพยนตร์ฉายพ่อร่างต้นของเธอเพราะเธอเป็นมนุษย์โคลนนิ่งที่เคยเป็นเจ้าของคนแรกของหยาง) และอีกตัวละครอย่างเพื่อนบ้านที่ชื่อ จอร์จ ที่เจคไม่ค่อยถูกกันเพราะเขามีลูกที่เป็นโคลนนิ่ง ภาพยนตร์ไม่ได้เสนอการเติบโตของตัวละครมาให้เราดูมากเท่าที่ควรแต่ภาพยนตร์กลับนำสิ่งต่างๆรอบตัวของตัวละครมาเล่าตีขยายและยัดกลับมาลงไปใหม่ในรูปแบบที่ดีมากขึ้น4 Slate คือ ป้ายที่เขียนบอก ซีน คัท เทคว่าด้วยเรื่องของความหมาย / เป็นส่วนที่สำคัญของภาพยนตร์เรื่องนี้ ผู้เขียนมองว่าภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์แนว”คัลท์”ได้เลยก็ว่าได้ ความหมายใหญ่ที่เรามองความไปไม่ว่าจะเป็นในแง่ของชีวิตจริงอย่างเรามักจะไม่ให้ความสำคัญกับคนที่ยังอยู่และเราจะพูดถึงคนที่จากไป อย่างในภาพยนตร์เราจะเห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่าครอบครัวของเจอเมื่อเสียหยางไปเขาจึงมาตระหนังเรื่องของ มิก้าและไคร่าอย่างมิก้า ที่พวกเขาไม่ได้ดูแลเธอในฐานะพ่อแม้ที่ดีพอแต่กลับให้หยางที่เป็นหุ่นยนต์พี่เลี้ยงช่วยสอนเธอในเรื่องของความเป็นรากเง้าชาวจีนเพราะส่วนใหญ่หยางจะคอยดูแลมิก้าคนไม่ทำให้ทั้งสองตระหนักเรื่องของลูกที่เขาต้องคอยดูแลและเอาใจใส่สั่งสอนให้ได้มากกว่าที่หยางทำการละเลยในเรื่องนี้เลยกลายเป็นช่องโหว่ขนาดใหญ่ทำให้เจคและไคร่าต้องมาทะละกันอีกด้วยเพราะไคร่าอยากที่จะสร้างครอบครัวที่มีขึ้นแค่ 3 พ่อแม่ลูกหากซ่อมหยางกลับมาไม่ได้ แต่ตัวเจคเองก็สงสารลูกที่ต้องมาเสียหุ่นยนต์ที่เป็นเหมือนดั่งเพื่อนและพี่ในเวลาเดียวกันการตายของหยางมันทำให้ทั้งสองฉุดคิด ในความเป็นจริงก็เช่นกันนะเพราะบางคนก็ไม่ได้สนใจและให้ความเอาอกเอาใจคนที่คอยอยู่ข้างๆในวันที่ไม่มีเขาตัวเราจะฉุดคิดได้ว่า “ไม่น่าเลย” ช่างเป็นความหมายที่ดียิ่งใหญ่จริงๆกับภาพยนตร์เรื่องนี้5 “คัท !!!!”ดูภาพยนตร์เรื่องนี้แล้วผู้เขียนนึกถึง BICENTENNIAL MAN บุรุษสองศตวรรษ ภาพยนตร์ในปี 1999 เป็นการเล่าถึง AI ที่อยากเป็นมนุษย์ มันเลยไปพ้องกับเนื้อเรื่องของเรื่องนี้อย่าง หยางที่มีความผูกพันธ์กับเอด้า และทำให้หยางปิดระบบตัวเองไปเพราะเกินเลยคำว่า AI แต่เรื่องนี้เป็นแค่ความคาดเดาของผู้คิดและยังเป็น Easter Egg อยู่และน่าจะเป็นอยู่อีกนานหากทีมสร้างไม่มาเฉลยคำตอบ ถีงแม้จะเป็นภาพยนตร์ที่ว่าเป็นแนวไซไฟแต่เราก็ไม่ได้เห็นอะไรมากมายไปกว่าฉากวับๆแวมๆของสิ่งก็สร้างเล็กๆน้อยๆเท่านั้น (ไม่กี่วินาที) แต่ก็ไม่ได้เลวร้ายอะไรเพราะภาพยนตร์สื่อสารผ่านเราเหล่าคนดูด้วยฉากสวยๆ ความหมายดีๆ และบทอันน้อยนิดที่ทรงพลัง ภาพยนตร์ทำ Mood & Tone ออกมาได้ดีมากทำให้เราเหล่าคนดูที่ต้องบอกว่าดูแล้วรู้สึกถึงความเบาแต่หนักน้อยแต่มาก ได้อย่างน่าสนใจและสื่อสารมันออกมาได้อย่างละเมียดละไมแบบสุดๆชอบประโยคเหล่านี้ ผมรับได้ถ้าวาระสุดท้ายจะไม่มีสิ่งใด "หยาง" / มันจะเกิดการมีไม่ได้ถ้าขาดการไม่มี "หยาง" / จุดจบก็ยังเป็นจุดเริ่มด้วย "ไคร่า"(สิ่งหนึ่งที่คนดูอย่างผู้เขียนเห็นคือความตั้งใจของทีมผู้กำกับทีมนักแสดง คะแนนเต็มแบบไหนอย่างไรไม่ควรนำมาตัดสิน กับเรื่องของภาพยนตร์ , อนิเมะ , ซีรีส์ , แอนิเมชัน และเกม "คะแนนของคุณไม่ใช่คะแนนของใคร ที่สำคัญกำลังใจย่อมดีกว่าการตัดสินด้วยคะแนน" ผู้เขียนจะย้ำอยู่เสมอ สิบปากว่าไม่เท่าตาคุณเห็น ต้องชมเองให้ได้เท่านั้น)ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก End Credits ท้ายเรื่อง และการเป็นแฟนเดนตายผู้กำกับภาพยนตร์ , อนิเมะ , ซีรีส์ , แอนิเมชัน และเกม นักเขียนบทภาพยนตร์ , อนิเมะ , ซีรีส์ , แอนิเมชัน และเกม นักแสดงทุกท่านทีมสร้างภาพยนตร์ , อนิเมะ , ซีรีส์ , แอนิเมชัน และเกมทุกคนและบริษัทและค่ายผู้ผลิตภาพยนตร์ , อนิเมะ , ซีรีส์ , แอนิเมชัน และเกม#จิปาถะและอรรถรสขอบคุณภาพประกอบจาก T&B Media Global Thailand - ปก / 1 (สร้างจาก จิปาถะและอรรถรส) / 2 / 3 / 4 จะฟังเพลงหรือดูหนัง ซีรีส์ใหม่สุดปัง โหลดเลยที่ App TrueID โหลดฟรี !