สวัสดีเพื่อน ๆ ชาว TrueID In-Trend ทุกคนด้วยนะครับ วันนี้ผมจะพาเพื่อน ๆ ไปทำความรู้จักกับ มังงะ (Manga) หนังสือการ์ตูนในแบบฉบับของคนญี่ปุ่น ที่มีความแตกต่างจากหนังสือการ์ตูนทั่วไป สำหรับในประเทศไทย มังงะ ยังไม่ได้รับความนิยมในวงกว้าง คนส่วนใหญ่ที่รู้จักและคุ้นเคยกับมังงะ มักจะเป็นคนที่ติดตามวงการอนิเมะมาอย่างยาวนาน หรือไม่ก็เป็นคนที่ชื่นชอบในลายเส้นมังงะตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้หยิบขึ้นมาอ่าน ด้วยเหตุนี้ผมจึงได้เขียนบทความนี้ขึ้นมา เพื่อพาเพื่อน ๆ ไปทำความรู้จักกับ มังงะ (Manga) หนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นที่ไม่เหมือนหนังสือการ์ตูนทั่วไป มังงะ (Manga) คืออะไร?เเหล่งที่มารูปภาพหน้าปก : "Manga" by Rog01 is licensed under CC BY-SA 2.0มังงะ (Manga) คือ ชื่อเรียกหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นที่ถูกวาดแบ่งออกเป็นช่อง ๆ หรือที่เรียกว่า การ์ตูนช่อง นั่นเอง โดยในแต่ละหน้าของมังงะ จะถูกแบ่งออกเป็นช่องที่มีจำนวนไม่เท่ากัน เพราะขนาดของช่องนั้นต้องสัมพันธ์กันกับเนื้อหาที่คนวาดและคนเขียนคิดขึ้นมา ยกตัวอย่างเช่น ฉากพูดคุยทั่วไปของตัวละคร อาจจะใช้ช่องที่มีขนาดเล็กไปจนถึงปานกลาง, ฉากการต่อสู้เด่น ๆ มักจะใช้ขนาดของช่องค่อนข้างเยอะ มังงะบางเล่มตรงส่วนนี้อาจจะกินปริมาณถึง 1 หน้าเต็ม ๆ เลยก็มี ซึ่งบางครั้งมันไม่สามารถจำกัดได้เลยว่า ในหนึ่งช่องนั้นจะต้องมีขนาดเล็กหรือใหญ่ มันแล้วแต่สิ่งที่ผู้วาดและผู้แต่งต้องการจะสื่อให้ผู้อ่านได้รับรู้ ถือเป็นเสน่ห์อีกอย่างหนึ่งของมังงะเลยก็ว่าได้นอกจากมังงะจะมีเสน่ห์ในเรื่องของรูปแบบการวางช่องของแต่ละหน้าแล้ว มังงะยังมีเสน่ห์ในเรื่องของลายเส้น และลักษณะการวาดอีกด้วย การวาดมังงะนั้นจะเน้นไปที่เรื่องของลายเส้น มากกว่ารูปทรงและแสงเงา ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่า มังงะ กับ การ์ตูน นั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร โดยในส่วนของหนังสือนิทานหรือการ์ตูนลายเส้นจะออกแนวหนาทึบ เน้นการวาดด้วยการอ้างอิงรูปทรง ส่วนของมังงะ การวาดจะเน้นลายเส้นที่ไม่หนาทึบมากจนเกินไปมัก เน้นหนักไปในเรื่องของการอธิบายเรื่องราวผ่านไปแต่ละช่องมากกว่าเเหล่งที่มารูปภาพหน้าปก : "Vagabond manga" by Darijapan is licensed under CC0 1.0ในต่างประเทศเองก็เรียกหนังสือการ์ตูนจากประเทศญี่ปุ่นว่า มังงะ (Manga) เช่นเดียวกัน นั่นเป็นเพราะว่าความเป็นเอกลักษณ์ของหนังสือการ์ตูนมันโดดเด่น และแตกต่างออกมาจาก หนังสือการ์ตูนทั่วไป จึงทำให้ไม่สามารถใช้คำอื่นมาแทนได้ แต่ถึงกระนั้นหนังสือการ์ตูนทั้งหมดในญี่ปุ่นก็ไม่ได้ถูกเรียกว่ามังงะไปเสียหมด เพราะมันมีหนังสือการ์ตูนอีกหลายเล่มที่มีประเภทรูปแบบการวาดที่แตกต่างจากมังงะทั่วไป ยกตัวอย่างเช่น หนังสือการ์ตูนแนวนิทาน ที่ในหนึ่งหน้าจะมีเพียงรูปวาดรูปเดียว ไม่ได้ถูกแบ่งออกเป็นช่อง, คอมมิก หนังสือการ์ตูนที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับมังงะที่สุด แต่มีความแตกต่างในเรื่องของการเล่าเรื่อง มังงะจะใช้วิธีการเล่าแบบภาพยนตร์ มีระยะความลึก ความใกล้ ไกล ของตัวละคร ส่วนของคอมมิกจะเล่าผ่านภาพโดยรวมเสียมากกว่า แต่ในปัจจุบันคอมมิกบางเรื่องนั้นจะมีการเล่าเรื่องที่คล้ายกันกับมังงะมาก ๆ ก็มี เราเลยแยกมังงะและคอมมิกออกจากกันได้ค่อนข้างยาก ถ้าเขียนและแต่งโดยคนญี่ปุ่นเหมือนกันประวัติความเป็นมาของมังงะ เเหล่งที่มารูปภาพหน้าปก : "manga ศิลปิน" by InstagramFOTOGRAFIN on Pixabayคำว่า มังงะ (Manga) ถูกนำมาใช้ครั้งแรกกันอย่างกว้างขวางในปีคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยผู้ที่วาดขึ้นมาก็คือจิตรกรภาพวาดสไตล์อุคิโยเอะที่มีนามว่า โฮคุไซ ตัวเขาได้วาดภาพมังงะนี้ขึ้น แล้วจากนั้นก็ได้นำเอาไปตีพิมพ์ลงในหนังสือของเขาที่มีชื่อว่า โฮคุไซมังงะ นั่นเองครับเสริมคำว่า จิตรกรภาพวาดอุคิโยเอะ กันอีกสักนิดหนึ่ง โดยภาพวาดอุคิโยเอะ หรือ อูกิโยะ มันคือภาพที่ศิลปินชาวญี่ปุ่นในสมัยเอโดะวาดขึ้นมา เป็นภาพที่แสดงให้เห็นถึงชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของคนชนชั้นกลางในยุคเอโดะ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วภาพที่วาดจะเกี่ยวข้องกับสิ่งบันเทิงเริงรมย์ต่าง ๆ เช่น ภาพบรรยากาศ ภาพการแสดง ภาพเหล่าสตรีในแหล่งเริงรมย์ต่าง ๆ ภายในเมือง และอื่น ๆ อีกมากมาย นอกจากนี้แล้วยังมีศิลปินบางกลุ่มที่ชอบวาดภาพอูกิโยะ ในแนวประวัติศาตร์ ศาสนา และภาพราชวังต่าง ๆ อีกด้วยเเหล่งที่มารูปภาพหน้าปก : "Ukiyo-e" by chripell is licensed under CC BY-SA 2.0วกกลับมาในส่วนของประวัติมังงะ ถึงแม้ผู้คนส่วนใหญ่จะรู้จักกันอย่างกว้างขวางว่าคุณโฮคุไซ คือผู้ที่เป็นต้นตำรับของการกำเนิดมังงะ แต่ก็มีนักประวัติศาสตร์บางกลุ่มได้ให้ความเห็นว่า ที่จริงแล้วประวัติมังงะมันอาจจะยาวนานมากกว่านั้น โดยหลักฐานที่เขายกเอามาพูดคือ ภาพวาดจิกะ (ซึ่งถ้าแปลตรงตามตัวจะหมายความว่า ภาพวาดตลก) ถูกค้นพบในปีคริสต์ศตวรรษที่ 12 เป็นภาพวาดที่มีความคล้ายคลึงกันกับรูปแบบการวาดมังงะในปัจจุบันที่สุด เป็นการวาดเน้นเนื้อเรื่อง และมีลายเส้นที่เบาบางเรียบง่าย แต่กลับสละสลวยประเภทของมังงะ มังงะนั้นมีหลายประเภท คล้ายกันกับอนิเมะ ภาพยนตร์ หรือละคร เพราะตัวมังงะจะเน้นการเล่าผ่านเนื้อเรื่องไปเรื่อย ๆ ตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งหลัก ๆ แล้วในปัจจุบันประเภทมังงะได้แบ่งออกมาหลายรูปแบบมาก ผมขออธิบายไปที่ละข้อแล้วกันนะครับเเหล่งที่มารูปภาพหน้าปก : "Manga" by Justin Doub is licensed under CC BY-SA 2.0โชเน็น มังงะ คือ มังงะที่เหมาะกับผู้ชาย เน้นความมัน มีลายเส้นการต่อสู้และการแข่งขันที่ดุเดือดเลือดพร่าน ส่วนใหญ่เนื้อเรื่องจะออกแนวการผจญภัย การต่อสู้ การแข่งขันกีฬาโชโจ มังงะ คือ มังงะแนวความรักหวานแหววของผู้หญิงกับชายหนุ่มรูปหล่อในแต่ละสไตล์โยจิ มังงะ คือ มังงะสำหรับเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 1 – 4 ขวบ เน้นการเล่าเรื่องที่ไม่ซับซ้อน เข้าใจง่าย จำนวนช่องค่อนข้างน้อยมาก ถ้าเทียบกับมังงะทั่วไปตามท้องตลาด เหมาะกับการซื้อไปให้เด็กศึกษาภาษาญี่ปุ่นโคโดโมะ มังงะ คือ มังงะสำหรับเด็กที่โตถัดมาจากยูจิมังงะนิดหน่อย ส่วนใหญ่แล้วเนื้อหาในเรื่องจะเริ่มเน้นการต่อสู้และการแข่งขันมากขึ้น แต่ความรุนแรงไม่ค่อยมีมากเท่าโชเน็นมังงะ เอาเป็นว่ามันคือกึ่งกลางระหว่างโยจิมังงะ และ โชเน็นมังงะ ก็แล้วกันเซย์เน็น มังงะ คือ มังงะที่โตขึ้นมาจาก โชเน็นมังงะ เหมาะกับผู้อ่านที่มีอายุตั้งแต่ 18 – 25 ปี ขึ้นไป เพราะมังงะแนวนี้มีเนื้อหาที่ค่อนข้างลึกลับและซับซ้อน เกินกว่าที่เด็กนักเรียนทั่วไปจะอ่านได้ จำเป็นจะต้องผ่านประสบการณ์การใช้ชีวิตมาในระดับหนึ่ง ถึงจะเข้าใจในเนื้อหาในเล่ม มีทั้งฉากการต่อสู้ที่หนักหน่วงขึ้น ฉากเซอร์วิสวับ ๆ แวม ๆ และฉากผ่อนคลาย เหมาะกับคนที่ทำงานมาเหนื่อย ๆเซย์จิน มังงะ คือ มังงะที่มีความรุนแรงในเรื่องทางเพศมากขึ้นแบบสุด ๆ ทั้งในรูปแบบของเพศตรงกันข้าม และเพศเดียวกัน เนื้อหาจะมีทั้งฉากรักร่วมเพศ ฉากชวนสยิว ชวนแหวะ และฉากความรุนแรง ต่าง ๆ นานา ไม่เหมาะกับเด็กเป็นอย่างยิ่ง โดยวิธีสังเกตง่าย ๆ ว่ามังงะเล่มนี้เป็นแนวเซย์จินหรือเปล่า ก็คือการพลิกหาดูสัญลักษณ์เตือน 18+ หรือ 20+ นั่นคือตัวเลขของผู้อ่านที่จะสามารถอ่านมังงะเรื่องนี้ได้โจเซย์มังงะ หรือ เรดิโคมิมังงะ คือ มังงะที่คล้ายกันกับเซย์จินมังงะทุกประการ เพียงแต่ว่าจะสลับจากการเซอร์วิสเพศชาย ไปเป็นเซอร์วิสเพศหญิงบ้าง เอาใจสาว ๆ วัย 20 ปีขึ้นไป มีทั้งฉากรักร่วมเพศ ฉากชวนสยิว ชวนแหวะ และฉากความรุนแรง ต่าง ๆ นานาโชเน็น-ไอ มังงะ คือ มังงะความรักกุ๊กกิ๊กระหว่างชายกับชาย เหมาะกับผู้อ่านที่มีรสนิยมประมาณนี้ ไม่ต้องห่วงเรื่องความรุนแรงทางเพศหรือความรักร่วมเพศ เพราะมังงะแนวนี้จะมีแต่ความรักเชิงหวานแหวว วัยรุ่น ไม่มีฉากแบบนั้นให้เห็นอย่างแน่นอนโชโจ-ไอ มังงะ คือ เหมือนกันกับฝั่งของ โชเน็น-ไอ ต่างกันตรงที่โชโจจะเป็นความรักกุ๊กกิ๊กระหว่างเพศหญิงและเพศหญิง ซึ่งมันเป็นแนวความรักวัยรุ่น ไม่มีฉาก 18+ อย่างแน่นอนเเหล่งที่มารูปภาพหน้าปก : "Otakon 2006" by Vincent Diamante is licensed under CC BY-SA 2.0หลังจากที่ได้ทำความรู้จักกับความหมาย ประวัติความเป็นมา และประเภทของมังงะไปแล้ว สุดท้ายนี้ผมจะพาเพื่อน ๆ ไปทำความรู้จักกับการตีพิมพ์ของหนังสือมังงะกันบ้างสักเล็กน้อย โดยรูปแบบการตีพิมพ์หรือการเผยแพร่มังงะให้ออกไปสู่สายตาชาวโลกนั้นจะแบ่งออกเป็น 5 รูปแบบ ได้แก่1. มังงะรายสัปดาห์ ในประเทศญี่ปุ่นจะมีสิ่งหนึ่งที่เรียกว่า หนังสือนิตยสารมังงะรายสัปดาห์ อยู่ด้วย ในหนึ่งเล่มจะรวบรวมมังงะหลาย ๆ เรื่องเอาไว้ด้วยกัน เหมาะกับคนที่ต้องการจะติดตามมังงะเรื่องที่ตัวเองชอบแบบสัปดาห์ชนสัปดาห์ ไม่อยากรอให้ผู้เขียนรวมเล่มแล้วค่อยอ่าน อยากจะอ่านก่อนเพื่อความต่อเนื่อง และความลุ้นระทึก หนังสือนิตยสารมังงะรายสัปดาห์ที่ได้รับความนิยมสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของญี่ปุ่นก็คือ นิตยสารจัมป์รายสัปดาห์2. มังงะรายเดือน รูปแบบคล้ายกันกับรายสัปดาห์เลย ต่างกันตรงที่นิตยสารมังงะรายเดือนนั้น จะรวบรวมเอาเฉพาะมังงะเรื่องที่ออกมาเพียงแค่เดือนละตอน ยกตัวอย่างเช่นมังงะเรื่อง โบรูโตะ เป็นต้น3. มังงะรวมเล่ม หรือ มังงะเล่มเดียวจบ มังงะรวมเล่ม คือ การรวมเอาตอนทั้งหมดของมังงะหนึ่งเรื่องในนิตยสารรายสัปดาห์มาตีพิมพ์ให้แฟนมังงะเรื่องนั้นได้อ่านกันแบบจุใจ ไม่ต้องทนรอสัปดาห์ชนสัปดาห์ ซื้อมาอ่านแบบยาว ๆ ได้เลย เหมาะกับคนที่ไม่ต้องการลุ้น แต่ต้องการจะอ่านต่อเนื่องยาว ๆ ไม่มีสะดุด ส่วนมังงะเล่มเดียวจบก็ตรงตามชื่อเลย เขียนออกมาเล่มเดียวไม่มีต่อ จบในเล่ม ส่วนใหญ่มังงะเล่มเดียวจบมักจะเป็นมังงะแนวโชโจ โชโจไอ และโชเน็นไอเเหล่งที่มารูปภาพหน้าปก : "Top Shelves" by Scott Rubin is licensed under CC BY 2.04. บิ๊กบุ๊ค หรือ มังงะรวมเล่มใหญ่พิเศษคล้ายมังงะรวมเล่ม แต่จะมีขนาดใหญ่กว่ามาก เพราะรวบรวมตอนเอาไว้เยอะกว่า ส่วนใหญ่แล้วมังงะบิ๊กบุค มักจะมีรวมเฉพาะมังงะที่จบไปแล้ว และมีชื่อเสียงโด่งดัง ยอดนิยมจนแฟน ๆ ขอให้ตีพิมพ์ขึ้นมาอีกครั้ง ยกตัวอย่างเช่น มังงะเรื่องดราก้อนบอล ที่ถึงแม้จะจบไปนานแล้ว แต่ความนิยมยังคงมีอยู่ไม่ขาดสาย แทนที่ผู้ผลิตจะตีพิมพ์ออกมาขายใหม่ทีละเล่ม เขาก็สั่งรวมเล่มใหญ่เสียเลย เพื่อประหยัดงบ และช่วยให้ผู้อ่านได้สนุกกับมังงะเรื่องนั้น ๆ แบบรวดเดียวจบ5. มังงะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ มังงะ Ebookโลกได้เปลี่ยนไป เทคโนโลยีได้ก้าวเข้ามาในชีวิตคนเรามากขึ้น มังงะเองก็เริ่มมีการปรับตัว ครั้นจะขายแต่รูปแบบหนังสืออย่างเดียวคงไม่ได้ เพราะผู้อ่านบางคนไม่ถนัดที่จะพกหนังสือมังงะไปทุกที่ เขาจึงได้ริเริ่มนำเอามังงะมาให้อ่านรูปแบบ Ebook ทีนี้ผู้อ่านก็ไม่จำเป็นจะต้องพกมังงะเล่มหนาไปซะทุกที่ แค่มีแอปพลิเคชันที่เขาประกาศขายมังงะแบบอีบุค แล้วไปกดซื้อมา เท่านี้ก็จะสามารถพกมังงะไปอ่านบนมือถือได้ทุกเมื่อแล้ว ตอนนี้มังงะอีบุคในไทยเองก็มีให้อ่านเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น Manga Plus หรือ Meb Market ก็เลือกซื้อเลือกอ่านได้ตามสบายถึงแม้มังงะจะได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จากทั้งในไทย ญี่ปุ่น หรือต่างประเทศทั่วโลก แต่สิ่งหนึ่งที่ยังคงมีอยู่ และเป็นผลร้ายแรงต่อวงการมังงะ นั่นคือการอ่านมังงะเถื่อน หรือมังงะออนไลน์ที่มีคนขโมยผลงานแล้วเอามาลงเว็บไซต์ของตัวเอง มันคือสิ่งที่ร้ายแรงมาก ๆ ผมในฐานะคนที่ชื่นชอบมังงะ อยากแนะนำให้เพื่อน ๆ ไปซื้อมังงะฉบับถูกลิขสิทธิ์มาอ่านกัน จะได้สนับสนุนวงการมังงะให้เติบโตยิ่งขึ้นไปอีกเเหล่งที่มารูปภาพหน้าปก : Application Manga Plus on Google Play Storeในไทยเรามีการจำหน่ายมังงะถูกลิขสิทธิ์ทั้งในรูปแบบออนไลน์ และแบบออฟไลน์ ไม่ว่าจะเป็น ร้านอนิเมท ร้านค้าที่รวมรวมสินค้าเกี่ยวกับวงการอนิเมะ มังงะ ไลท์โนเวลจากญี่ปุ่น, Meb Market และ Manga Plus แหล่งรวบรวมมังงะแบบอีบุคสำหรับซื้อมาอ่านบนมือถือ หรือบน PC แถมบางเรื่องก็สามารถเข้าไปอ่านฟรีได้ด้วย เป็นต้นนอกจากนี้ยังมีสำนักพิมพ์มังงะในไทยมากมายที่คอยผลิต และแปลผลงานดี ๆ มาให้เราได้ซื้ออ่านอยู่ทุกวัน ได้แก่ Vibulkij, Siam Inter Comics, Luckpim, first page, Phoenix และ NED สำนักพิมพ์ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เพื่อน ๆ สามารถกดคลิกไปที่ชื่อแต่ละชื่อ แล้วเข้าไปดูผลงาน หรือเข้าไปซื้อมาอ่านกันได้เลย ขอบอกเลยว่าแต่ละสำนักพิมพ์ผลงานการแปล และคุณภาพคับแก้วกันทั้งนั้น ซื้อมาแล้วไม่ผิดหวังอย่างแน่นอนเเหล่งที่มารูปภาพหน้าปก : "manga ศิลปิน" by InstagramFOTOGRAFIN on Pixabayขอขอบคุณเเหล่งข้อมูลบางส่วนจาก Wikipedia เเละ Akibatan