รีเซต

“โตโน่” จับมือแพทย์ตั้งศูนย์หัวใจโรงพยาบาลนครพนม

“โตโน่” จับมือแพทย์ตั้งศูนย์หัวใจโรงพยาบาลนครพนม
ดาราเดลี่บันเทิง
13 พฤษภาคม 2566 ( 23:00 )
366

“โตโน่” จับมือแพทย์ตั้งศูนย์หัวใจโรงพยาบาลนครพนม
       เร็วๆนี้  “โตโน่ ภาคิน”  และกลุ่มเก็บรักษ์และ เทใจดอทคอม ได้จัดประชุมพิจารณากลั่นกรองการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อจัดทำศูนย์หัวใจชายแดน โรงพยาบาลนครพนมตามรายการบริจาคว่ายน้ำข้ามแม่น้ำโขง | ONE MAN AND THE RIVER หนึ่งคนว่าย หลายคนให้  โดยกระบวนการออกแบบวิธีการคัดเลือกได้รับความร่วมมือจาก hand social enterprise ที่มาร่วมให้คำปรึกษาและช่วยออกแบบกระบวนเพื่อให้การคัดเลือกโปร่งใส

สำหรับการคณะกรรมการที่มาร่วมคัดเลือกและให้ข้อเสนอแนะต่าง ๆ มีทั้งหมด 6 ท่าน ประกอบด้วย

1.นายภาคิน คำวิลัยศักดิ์
2 ผศ.พ.ญ.รัตนา คำวิลัยศักดิ์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์
3.นพ.เขตต์ ศรีประทักษ์  นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานอายุรศาสตร์หัวใจโรงพยาบาลทรวงอก
4.ผศ.นพ.วรการ พรหมพันธุ์ หัวหน้าศูนย์โรคหัวใจ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี 
5.ผศ.นพ.ไชยสิทธิ์ วงศ์วิภาพร หัวหน้าสาขาวิชาโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
6.น.พ.ธนพัฒน์ เลิศวิทยากำจร นายแพทย์ชำนาญการ อายุรกรรม (หัวใจ) โรงพยาบาลนครพนม

ทั้งนี้มีบริษัทเอกชน 3 บริษัทนำเสนออุปกรณ์ เครื่องมือ การปรับปรุงห้องโดยใช้เวลากว่า 8 ชั่วโมงในการรับฟังข้อเสนอ

       สำหรับการจัดทำศูนย์หัวใจชายแดน โรงพยาบาลนครพนม มาจากสภาพปัญหา โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันยังเป็นปัญหาหลักในพื้นที่ตลอดช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา 
      โรงพยาบาล นครพนมให้บริการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (ACS; Acute coronary syndrome) 
ปี 2563 จํานวน 247 ราย
ปี 2564 จํานวน 267 ราย 
ปี 2565 จํานวน 241 ราย 
เช่นเดียวกันกับแนวโน้มจํานวน ผู้ป่วย ACS ทั้งจังหวัดที่ยังสูงไปในทางเดียวกัน 
ปี 2563 อยู่ที่ 639 ราย
 ปี 2564 อยู่ที่ 621 ราย
ปี 2565 อยู่ที่ 578 ราย 
 

 

      โดยพบว่าอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยกลุ่มหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST segment elevation (STEMI) ในจังหวัดนครพนม ปี 2563 อยู่ที่ร้อยละ 10.17 ปี 2564 อยู่ที่ร้อยละ 10.79 ปี 2565 อยู่ที่ร้อยละ 15.23 ซึ่งเกินเกณฑ์มาตรฐานและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งการรักษาใช้วิธีใส่สวนหลอดเลือดและทําบอลลูนขยายหลอดเลือด ภายใน 2 ชั่วโมง จะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตลงได้ นอกจากนี้พื้นที่นครพนมยังใกล้กับ จ.บึงกาฬและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ดังนั้นการก่อตั้งศูนย์หัวใจโรงพยาบาลนครพนม จะช่วยให้ผู้ป่วย หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Acute coronary syndrome) ในจังหวัดนครพนม และพื้นที่ข้างเคียง รวมทั้ง ต่างประเทศในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจอินโดจีน สามารถเข้าถึงบริการเพื่อวินิจฉัยและรักษาด้วยการสวน หัวใจ และสวนขยายหลอดเลือด (PCI) ได้อย่างรวดเร็วตามมารฐานการรักษา เพื่อลดอัตราการเสียชีวิต และทุพลภาพ 
       นอกจากนี้เครื่องมือดังกล่าวยังสามารถใช้รักษาโรคหลอดเลือดสมองอุดตันได้อีกด้วย