หนังสือ 100 แบรนด์ล้มดัง ถูกเล่าเรื่องในรูปแบบของข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์ ที่ผสมผสานระหว่างที่มาของแรงบันดาลใจการสร้างผลิตภัณฑ์ หรือข้อมูลองค์กร จนถึงการประชาสัมพันธ์ และจุดหักเหที่ก่อให้เกิดปัญหา เทียบเคียงด้วยบทสัมภาษณ์หรือเนื้อหาข่าวมาตอกย้ำความผิดพลาดจนมาถึงบทสรุปของเรื่องราวทั้งหมดในการสร้างแบรนด์ หรือผลิตภัณฑ์ของตัวเองนั้น การหาความรู้ในการสนับสนุนการทำธุรกิจ การออกแบบ การต่อยอดในสิ่งที่มีอยู่ให้ดีขึ้นกว่าเดิม ซึ่งในปัจจุบัน มีองค์ความรู้และข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่ถูกถ่ายทอดดบรรจงเป็นตัวอักษรหรือคลิปวิดิโอให้ทุกคนได้ศึกษากันอย่างมากมาย แต่ส่วนใหญ่จะได้เห็นถึงข้อมูลที่ถ่ายทอดจากผู้ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในวงการ ซึ่งแต่ละคนต่างก็มีเทคนิคการไขว่คว้าความสำเร็จที่แตกต่างกันไป ตามทัศนคติหรือแม้แต่ตามเหตุการณ์ต่าง ๆ แต่นั่นก็เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์อย่างมากทีเดียวแต่จะดีกว่าไหม หากได้เรียนรู้บทเรียนจากความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากแบรนด์ใหญ่หรือแบรนด์ดังระดับโลก ซึ่งความผิดพลาดที่เกิดขึ้นนั้นต่างก็มีปัจจัยหลายๆ อย่าง ทั้งการแข่งขัน, การออกแบบที่ผิดพลาด, การแก้ปัญหาไม่ตรงจุด, การทุจริต, ความไม่สามัคคีในองค์กร, การประชาสัมพันธ์ที่ผิดพลาด, แบรนด์เก่าที่เสื่อมตามกาลเวลา ไปจนถึงเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างการแปลภาษาก็สามารถส่งผลต่อยอดขายสินค้าไปจนถึงความน่าเชื่อถือของแบรนด์ และเมื่อเกิดปัญหาบานปลาย ก็จะกลายเป็นการล่มสลาย ที่เหลือเพียงความทรงจำไปตลอดกาล และเป็นบทเรียนให้คนรุ่นใหม่ได้ศึกษา จากหนังสือเล่มที่จะพูดถึงต่อไปนี้100 แบรนด์ล้มดัง...ภาพประกอบโดย Mr. Leviathanโดยหนังสือ 100 แบรนด์ล้มดัง หรือ Brand Failures เป็นหนึ่งใน 3 หนังสือที่กล่าวถึงแบรนด์จาก Mr. Matt Haig นักเขียนและนักวรรณกรรมชาวอังกฤษ ที่ฝากผลงานการเขียนหลายแนวตั้งแต่วรรณกรรมสำหรับเด็ก จนถึงหนังสือการสร้างคุณค่าแก่ตนเองและองค์กร สำหรับหนังสือที่กล่าวถึงแบรนด์นั้น นอกจากจะมี Brand Failures ยังมี Brand Royalty หรือชื่อไทยว่า 100 สุดยอดแบรนด์โลก และ Brand Success ที่เพิ่งออกจำหน่ายเมื่อปี 2011 หรือปี พ.ศ. 2554 ที่ผ่านมา (ยังไม่มีแปลภาษาไทย)แต่ในวันนี้จะพูดถึงหนังสือ 100 แบรนด์ล้มดังกันว่าแล้วมาเกริ่นนำตัวหนังสือกัน...ภาพประกอบโดย Mr. Leviathanหนังสือ 100 แบรนด์ล้มดัง เป็นหนังสือที่แปลมาจากหนังสือต่างประเทศในชื่อ Brand Failures จัดจำหน่ายโดยบริษัทเนชั่น บุ๊ค จำกัด โดยผู้ที่รับผิดชอบการแปลหนังสือเล่มนี้โดยคุณลักขณา ลีละยุทธโยธิน และคณะ จำนวนหน้ากระดาษมากถึง 432 หน้า ราคา (ตามปก อยู่ที่ 280 บาท) ส่วนปีที่พิมพ์ครั้งแรกน่าจะอยู่ราว ๆ ปี พ.ศ. 2546 - 2547 สถานะปัจจุบัน กลายเป็นหนังสือหายากเนื่องจากยุติการพิมพ์ไปแล้ว แต่ก็ยังมีคนต้องการในระดับหนึ่ง ถึงขนาดที่ว่าแม้จะปล่อยจำหน่ายมือสอง ก็ยังถูกขายออกไปได้อย่างรวดเร็วนับว่าเป็นความโชคดีที่ผมสามารถหาซื้อมือหนึ่งได้ และพอหลังจากได้อ่านก็รู้สึกว่าอ่านง่ายกว่าที่คิด แถมยังใช้เวลาอ่านให้จบไม่นานนัก ซึ่งในช่วงแรก ๆ ก็ตั้งใจจะอ่านสัก 7 วัน (เนื่องจากติดเรียน ติดฝึกงาน) แต่พอเอาเข้าจริง ๆ อ่าน 3-4 วันก็จบ 1 รอบแล้ว หลังจากนั้นก็อ่านไปเรื่อย ๆ ไว้บริหารสมองภายในหนังสือมีอะไรบ้าง...ภาพประกอบโดย Mr. Leviathanในหนังสือ 100 แบรนด์ล้มดัง จะเล่าถึงผลงานความล้มเหลวของแบรนด์หรือผลิตภัณฑ์ที่สร้างขึ้นมาจากแบรนด์ยักษ์ใหญ่ระดับโลกกว่า 100 รายการ ซึ่งบางรายการก็ได้กลายเป็นความล้มเหลวในตำนานที่ได้ทิ้งเอาไว้ทั้งบาดแผลและบทเรียน แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ต่าง ๆ ที่เข้าใจได้ง่าย ได้แก่ไอเดียที่ออกแบบที่คิดว่าดี แต่ก็ประสบความล้มเหลวเมื่อขายจริง ๆการขยายผลิตภันณ์ใหม่ที่ไม่เกี่ยวข้องอะไรกับแบรนด์เลยการประชาสัมพันธ์ / ชื่อสินค้า / ภาษาและวัฒนธรรมที่แตกต่างและส่งผลต่อการตีความที่ผิดเพี้ยนความผิดพลาดจากตัวบุคล เช่น การปกปิดข้อมูลเท็จ การทุจริต การฟ้องร้อง การแตกความสามัคคีการเปลี่ยนตราสินค้าใหม่ตามเทรนด์อินเตอร์เน็ตไม่ทันหรือไม่ตอบโจทย์ดีพอ (ในยุคปัจจุบันก็คงเป็นการตามเทรนด์โซเชียลมีเดียและเทคโนโลยี AI ไม่ดีพอ)แบรนด์เก่าแก่ที่ไม่สามารถตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ หรือสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ มาป้อนตลาดได้ซึ่งในแต่ละผลิตภัณฑ์หรือแบรนด์นั้นต่างก็มีจุดเปลี่ยนที่สำคัญที่ส่งผลต่อความเสียหายของแบรนด์ หรือผลิตภัณฑ์ได้ ต่างกรรม ต่างวาระ เช่น การขยายผลิตภัณฑ์ใหม่ที่หลีกหนีไปจากผลิตภัณฑ์ดั้งเดิม หรือจุดขายหลัก ๆ ของแบรนด์ออกไป, การแก้ปัญหาที่ไม่ถูกจุด, โทษความผิดฝ่ายอื่น ไปจนถึงการมีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีอาญา ที่ต้องขึ้นโรงขึ้นศาล จนถึงโชคชะตาที่แม้บางครั้งจะรักษาแบรนด์ให้ที่สุดขนาดไหน ก็มิอาจจะหนีพ้นตอนจบอันแสนเศร้าได้ เสน่ห์ที่พบได้ในหนังสือเล่มนี้...ภาพประกอบโดย Mr. Leviathanหนังสือ 100 แบรนด์ล้มดัง ถูกเล่าเรื่องในรูปแบบของข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์ ที่ผสมผสานระหว่างที่มาของแรงบันดาลใจการสร้างผลิตภัณฑ์ หรือข้อมูลองค์กร จนถึงการประชาสัมพันธ์ และจุดหักเหที่ก่อให้เกิดปัญหา เทียบเคียงด้วยบทสัมภาษณ์หรือเนื้อหาข่าวมาตอกย้ำความผิดพลาดจนมาถึงบทสรุปของเรื่องราวทั้งหมดซึ่งใน 100 แบรนด์นั้น ก็มีเรื่องราวที่มีความหลากหลายและอารมณ์ที่ถ่ายทอดออกมาให้ผู้อ่านได้รู้สึกถึงอารมณ์ร่วมราวกับได้อ่านทั้งสารคดี ข่าว วรรณกรรม ไปจนถึงแก็กตลก มาผสมกัน และทำให้ผู้อ่านได้รู้จักธาตุแท้บางอย่างที่ซ่อนอยู่ในแบรนด์ เช่น แบรนด์ที่เป็นคู่แข่งอมตะตลอดกาล แต่ลึก ๆ ก็ต้องช่วยเหลือแบรนด์แบบทางอ้อม ๆ เพื่อสนับสนุนให้แบรนด์เกิดแรงฮึดขึ้นมากอบกู้ชื่อเสียงให้กลับมาสู้ตลาดอีกครั้ง ไปจนถึงตกใจว่า เฮ้ย! มีของแบบนี้ขายจริง ๆ หรือจุดที่ไม่ปลื้ม หรือข้อด้อยล่ะ?...ภาพประกอบโดย Mr. Leviathanแม้ทั้ง 100 แบรนด์จะเป็นแบรนด์หรือผลิตภัณฑ์ที่คนรู้จักกันทั้งโลก แต่บางผลิตภัณฑ์นั้นแทบจะไม่รู้จักเลยตั้งแต่ชื่อ เนื่องจากเป็นสินค้าหรือแบรนด์ที่ขายเฉพาะในทวีปยุโรป หรืออเมริกา แต่นั่นก็เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เขียนได้หาข้อมูลกันในอินเตอร์เน็ต และก็สามารถหยิบมาพูดคุยกันในโซเชียลมีเดียต่อได้อีก นอกจากนี้ หากคุณจะหาแบรนด์ใหม่ ๆ ที่ประสบความล้มเหลวตามที่จำความได้ หรือเป็นข่าวในยุคใหม่ ๆ ก็คงจะไม่มีโอกาสได้เห็นในหนังสือเล่มนี้ เนื่องจากหากอ้างอิงปีที่พิมพ์ในต่างประเทศช่วงปี 2003 หรือปี พ.ศ. 2546 ที่จะใหม่หน่อยก็จะเป็นแบรนด์ที่ปิดตัวลงก่อนปี 2546 เลยทีเดียวบทส่งท้าย...ภาพประกอบโดย Mr. Leviathanหนังสือ 100 แบรนด์ล้มดัง เปรียบเสมือนเป็นคัมภีร์ให้ผู้สนใจทำธุรกิจ หรือสร้างแบรนด์ การสร้างไอดอล และสร้างตัวตนในโลกโซเชียลมีเดียได้ศึกษาถึงความล้มเหลวจากแบรนด์ดัง เพื่อมาปรับปรุง และพัฒนาอย่างมีสติรอบคอบ รู้เท่าทันทั้งตัวเอง กับสภาพแวดล้อม เพื่อรับมือความเสี่ยงต่อความเสียหายที่เกิดมาจากความผิดพลาดของตัวเอง หรือปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ได้อย่างชาญฉลาด หรือหาโอกาสที่จะพลิกวิกฤติอย่างรอบคอบ เพื่อให้ธุรกิจและตัวตนของคุณอยู่รอดได้ในทุกยุคทุกสมัย จนถึงขนาดว่าต้องติดไว้ในบ้านเลยทีเดียว