สำหรับเรื่องสั้นในเล่มนี้ เป็นเรื่องสั้นที่นักเขียน (ฮารูกิ มูราคามิ) ไม่อาจจะกล่าวอ้างได้ว่าเป็นเรื่องแต่ง เพราะว่าเป็นเรื่องที่มาจากเรื่องจริงนั่นเอง โดยรวมเรื่องสั้นในเล่มนี้ผู้เขียนได้เขียนคำนำเอาไว้และกระทบกับใจผู้รีวิวหนังสืออย่างมากพวกเราไปไหนไม่ได้ เรามีระบบวงทางโคจรที่เรียกว่าชีวิตของเรา ที่เราจะสามารถสอดตัวเข้าไปอยู่ได้พอดี แต่ระบบที่ว่านี้ก็บังคับควบคุมตัวเราเองด้วยในเวลาเดียวกัน ช่างละม้ายคล้ายคลึงกับม้าหมุนภาพโดย Anemoneหนังสือเล่มนี้จึงได้ชื่อว่า ไม่มีใครนำหน้าบนม้าหมุนเพราะชีวิตทุกคนต่างอยู่บนม้าหมุนภาพโดย Anemone หากพิจารณาให้ดีแล้ว ชีวิตของเราในปัจจุบันที่วิ่งวนในกระแสทุนนิยม ตื่นเช้ามาต้องรีบอาบน้ำแต่งตัว เดินทางเพื่อไปทำงาน แท้ที่จริงแล้วชีวิตแบบนี้ไม่สามารถหนีให้หลุดพ้นออกไปได้ เราต้องอยู่ ณ ที่นี้ต่อไป เหมือนกับการที่เรากระโดดขึ้นม้าหมุน ชั่วขณะนั้น จังหวะที่เราจะก้าวกระโดดไปบนสายพานชีวิต เราไม่มีทางได้รู้เลยว่าเราจะได้หลุดออกมาเมื่อไรกันแน่นี่คือคอนเซ็ปท์ของเรื่องสั้นเล่มนี้ ดังที่มุราคามิกล่าวไว้ในคำนำสำหรับเรื่องสั้นเด่น ๆ ในเรื่องฉันขอยกตัวอย่างมาหนึ่งเรื่อง เรื่องนี้โดดเด่นด้วยสำนวนภาษา ชื่อว่าเรื่อง “จุดกลับตัว” เป็นเรื่องของชายหนุ่มคนหนึ่งที่อายุครบสามสิบสามปี และเขารู้สึกว่าชีวิตของเขาได้เดินทางมาถึงจุดกลับตัวแล้วหากใครเป็นนักว่ายน้ำ คงจะพอรู้จักกันบ้าง สำหรับจุดกลับตัว จุดกลับตัวสำหรับสระว่ายน้ำ มีไว้ให้ได้แวะพัก มีไว้ให้เราได้กลับตัวก่อนว่ายน้ำต่อไปหากเปรียบกับการว่ายน้ำคือทางเดินชีวิต จุดกลับตัวน่าจะหมายถึงช่วงวัยที่เรามีอายุมากพอ เป็นผู้ใหญ่มากพอที่จะหันย้อนหาอดีตว่าผ่านอะไรมาบ้าง จุดที่เรายืนอยู่ตรงนี้มีสิ่งใด การมองไปอนาคตอย่างมีความหวัง แม้ไม่รู้ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นเบื้องหน้าก็ตามที จุดกลับตัวของชีวิตคือจุดที่ทำให้เราได้หายใจสั้น ๆ สักครู่หนึ่งภาพโดย Anemoneก่อนเดินทางต่อไปบนถนนชีวิต