รีเซต

เผยโฉมเหล่าบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ ปรากฎให้เห็นกันแล้วใน "บุพเพสันนิวาส ๒"

เผยโฉมเหล่าบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ ปรากฎให้เห็นกันแล้วใน "บุพเพสันนิวาส ๒"
Major Cineplex
3 สิงหาคม 2565 ( 12:30 )
2.3K

 

เปิดหน้าบันทึก จารึกโบราณ บุกทำความรู้จักกับ 4 เซเลบแห่งรัตนโกสินทร์ในตำนาน ที่ ‘บุพเพสันนิวาส’ จักทำให้ได้พบพาน กับพวกเขาอีกครั้ง 

 

‘สุนทรภู่’
หรือ ‘พระสุนทรโวหาร’ เกิดเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 เชื่อกันว่าสุนทรภู่ได้ร่ำเรียนหนังสือในวัยเยาว์กับพระในสำนักวัดชีปะขาว ถนัดในเรื่องการแต่งบทกลอน และผลงานประพันธ์ชิ้นแรกคือ นิทานคำกลอนเรื่องโคบุตร

เมื่อสุนทรภู่ได้เข้ารับราชการ ท่านได้รับตำแหน่ง ‘ขุนสุนทรโวหาร’ และได้เริ่มแต่งนิทานคำกลอนเรื่องพระอภัยมณี รวมถึงฝากบทประพันธ์ไว้อีกมากมาย อาทิ นิราศภูเขาทอง นิราศอิเหนา พระไชยสุริยา เสภาขุนช้างขุนแผน และผลงานเรื่องสุดท้ายคือ บทละครเรื่องอภัยนุราช

ในช่วงบั้นปลายชีวิต สุนทรภู่ได้รับการแต่งตั้งเป็น ‘พระสุนทรโวหาร’ และยังเป็นกวีในช่วงสมัยต้นรัตนโกสินทร์ที่มีความโดดเด่นในด้านการประพันธ์ และสร้างสรรค์ผลงานไว้จำนวนมาก จนได้รับการขนานนามอีกว่า ท่านคือ ‘กวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์’

 

‘หมอบรัดเลย์’
หรือ ‘นายแดนบีชบรัดเลย์’ เกิดเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2347 เป็นชาวเมืองมาร์เซลลัส ในรัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ได้เดินทางมายังสยาม ในขณะอายุราวๆ 31 ปี

หมอบรัดเลย์ทำงานในคณะหมอสอนศาสนา เพรส ไบทีเรียน ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ พักอาศัยอยู่แถววัดเกาะสำเพ็ง (วัดสัมพันธวงศ์) และได้เปิดโอสถศาลาขึ้นเป็นที่แรกในสยาม เพื่อทำการรักษา จ่ายยาและหนังสือเกี่ยวกับศาสนาให้กับคนไข้ 

ในปี พ.ศ. 2379 หมอบรัดเลย์ได้ทำการผ่าตัดแขนขาให้กับภิกษุรูปหนึ่งที่โดนสะเก็ดระเบิดในงานฉลองวัดประยุรวงศาวาส นับเป็นการผ่าตัดใหญ่ครั้งแรกของสยาม และยังได้ทำการผ่าตัดต้อกระจก รวมถึงทำการรักษาผู้ป่วยโรคฝีดาษ นอกจากนั้นยังได้เขียนตำราการปลูกฝีโคไว้ใช้ในการเผยแผ่ความรู้ให้คนในสมัยนั้นได้นำมาใช้ในการป้องกันโรคฝีดาษเพื่อการรักษา
และการป้องกันที่ถูกต้องอีกด้วย

จากนั้นหมอบรัดเลย์ ได้ออกหนังสือพิมพ์ในสยามฉบับแรกชื่อว่า (The Bangkok Recorder) นับว่าทำให้เกิดการพัฒนาของวงการสื่อสารมวลชนของไทยไปอีกขั้น จนได้รับการยกย่องว่าเป็น ‘บิดาแห่งการพิมพ์ไทย’ อีกด้วย

 

‘ปาลเลอกัวซ์’  
เกิดเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2348 ที่เมืองกอมแบร์โตลท์ ประเทศฝรั่งเศส ก่อนเดินทางมาถึงประเทศไทย ซึ่งขณะนั้นปาลเลอกัวซ์อายุได้ 25 ปี 

ช่วงแรกท่านมาพักอยู่ที่วัดอัสสัมชัญ บางรัก ขณะนั้นยังไม่รู้ภาษาไทยแม้แต่คำเดียว จึงเรียนภาษาไทยอยู่หลายเดือนแล้วค่อยเริ่มต้นทำงานเผยแผ่คริสต์ศาสนา จนได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสประจำวัดคอนเซ็ปชัญ ซึ่งคริสต์ศาสนิกชนต่างเลื่อมใสศรัทธาท่านเป็นอย่างมาก

ปาลเลอกัวซ์ ยังเป็นผู้นำวิชาความรู้เรื่องสรรพวิทยาการของชาติตะวันตก เช่น ภูมิศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ภาษาละติน และภาษาฝรั่งเศส รวมทั้งเรื่องคริสต์ศาสนามาให้แก่ชาวสยาม รวมไปถึงท่านยังชอบศึกษาภาษาบาลี ภาษาไทย พระพุทธศาสนา และพงศาวดารสยาม จนกระทั่งมีความเชี่ยวชาญอย่างยิ่ง และภายหลังท่านได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับประเทศสยาม เช่น เล่าเรื่องกรุงสยาม ซึ่งสะท้อนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยสมัยนั้น และท่านยังเป็นบุคคลแรกที่สั่งซื้อกล้องถ่ายรูปแบบดาแกร์ (Daguerreotype) จากประเทศฝรั่งเศสเข้ามาในสยามอีกด้วย

 

‘หันแตร’
หรือ ‘โรเบิร์ต ฮันเตอร์’ (หลวงอาวุธวิเศษประเทศพานิช) พ่อค้าชาวอังกฤษเชื้อสายสก๊อต เป็นชาวยุโรปคนแรกที่เข้ามาตั้งร้านค้าในประเทศไทย และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น ‘หลวงอาวุธวิเศษประเทศพานิช’ รวมไปถึงยังเป็นผู้สร้างห้างสรรพสินค้าแห่งแรกขึ้นในสยาม ซึ่งคนนิยมเรียกห้างของนายฮันเตอร์ว่า ‘ห้างหันแตร’ 

ชีวิตส่วนตัวได้สมรสกับหญิงไทยเชื้อสายโปรตุเกสที่บ้านกุฎีจีน มีชื่อว่า ‘แองเจลิน่า’ เชื่อว่าสืบเชื้อสายมาจากลูกหลานของ ‘ท้าวทองกีบม้า’ 

ภายหลังความสัมพันธ์ระหว่างนายฮันเตอร์กับทางการไทยเริ่มเกิดปัญหา เมื่อทางไทยจะทำการรบกับโครชินไชน่า (เวียดนาม) นายฮันเตอร์ได้เสนอขายปืนคาบศิลาจำนวน 200 กระบอก และต้องการให้ทางไทยซื้อให้หมด ทั้งที่ทางการไทยต้องการเพียง 100 กระบอกเท่านั้น และยังเป็นผู้นำเรือกลไฟ ‘เอ็กสเปรส’ (Express) มาเสนอขายแก่สยาม แม้คนไทยในเวลานั้นจะฮือฮา เพราะไม่เคยเห็น "เหล็กลอยน้ำได้" อย่างเรือกลไฟมาก่อน แต่ทางไทยมองว่าเป็นการขายที่ไม่ชอบธรรม จนนำมาซึ่งเรื่องลุกลามบานปลาย จนเกิดข้อพิพาทกับสยามในเวลาต่อมา

 

‘ภพ’
หรือ ‘ขุนสมบัติบดี’ นายช่างใหญ่ประจำกรมพระคลัง เทียบได้กับวิศวกรในปัจจุบัน มียศตำแหน่งมั่นคง แต่ไม่ยอมออกเรือนเสียที เพราะยึดมั่นกับผู้หญิงนางหนึ่งที่ฝันเห็นมาตลอด 10 ปี จนวันหนึ่งได้พบกับเธอตัวเป็นๆ ราวกับบุพเพสันนิวาส แต่เธอกลับมองว่า
เขาเป็น ‘ไอ้หน้ายิ้มหัวโบราณ’ จนชาวสยามทั่วทุกทุ่ง คุ้งน้ำ ต่างขนานนามให้ว่า เขาคือ ‘บิดาแห่งการรักเธอทุกชาติภพไป’

 


ออกเดินทางข้ามภพ
ไปพบกับ ‘สุนทรภู่’, ‘หมอบรัดเลย์’, ‘ปาลเลอกัวซ์’, ‘หันแตร’, และ ‘ภพ’ อีกครั้งได้ใน

‘บุพเพสันนิวาส ๒’

วันนี้ในโรงภาพยนตร์ทั่วสยาม

เช็กโรง! เช็กรอบ! จองตั๋ว

ได้ทาง http://openlink.co/LoveDestiny

 

 

 สำหรับแฟนหนังเมเจอร์ ห้ามพลาดกับบัตรดูหนังสุดคุ้ม M PASS ที่จะทำให้คุณคุ้มเต็มอิ่มกับการดูหนังตลอดทั้งปี เตรียมไปมันส์กับกองทัพหนังดังมากมาย สมัครง่ายๆเพียงแค่คลิก ที่นี่ 

Source: GDH Fanpage

-------------------------------------

>> ดูหนังออนไลน์ได้ที่ Movie.TrueID <<

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับทรูไอดีสามารถเข้าไปได้ที่ TrueID Help Center เป็นช่องทางใหม่ที่ให้ข้อมูลและการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นเกี่ยวกับทรูไอดี คลิกเลย >> https://bit.ly/3xEgdAa