หลายคนคงรู้จักโครงสร้างของภาพยนตร์แบบแบ่ง 3 องก์ แต่น้อยคนนักจะรู้ว่ามีการแบ่งที่ลึกลงไปกว่านั้น นั่นคือการเล่าเรื่องโดยแบ่งโครงสร้างออกเป็น 8 ส่วน โดยเรียกแต่ละส่วนของภาพยนตร์ว่า Plot Point ซึ่งเป็นจุดที่หนังต้องเปลี่ยนกราฟทางอารมณ์เพื่อนำทางอารมณ์ของผู้ชมให้คล้อยตามหนังPlot Point มีทั้งหมด 8 จุด แบ่งออกเป็นExposition คือ ช่วงเริ่มต้นของหนัง ช่วงนี้จะมีการแนะนำตัวละคร สถานการณ์ที่เรียบๆInciting Incident คือ ช่วงที่เริ่มมีการเพิ่มตัวละครอื่นเข้ามาในเรื่อง สถานการณ์เริ่มปูไปสู่ความขัดแย้ง กราฟจะค่อยๆขยับสูงขึ้นTurning Point คือ ช่วงเวลาที่หนังมีการโยนความขัดแย้งหลักของเรื่องเข้ามาใส่ตัวละคร ทำให้ตัวละครต้องตัดสินใจบางอย่างRising Action คือ ช่วงที่ยาวที่สุดในหนัง เป็นช่วงที่หนังเริ่มเล่าว่าหลังจากตัวละครตัดสินใจอะไรใน Turing point มาแล้ว เขาเป็นอย่างไรต่อ การตัดสินใจนั้นส่งผลกระทบต่อทั้งตัวเอง ผู้คนรอบข้าง สถานการณ์ทั้งหมดที่อยู่รอบตัวอย่างไรCrisis คือ ช่วงที่การเล่าเรื่องของหนังสูงขึ้นไปถึงจุดพีค การเล่าเรื่องในช่วงนี้จะหลอกล่อให้ผู้ชมเชื่อว่าหนังกำลังจะจบลงในเวลาอันใกล้ แต่พล็อตจำเป็นต้องนำเสนอความผิดพลาดของตัวละคร หรือเกิดสถานการณ์บางอย่างที่ทำให้กราฟร่วงลงอีกครั้งFalling Action คือ ช่วงที่ตัวละครจะเกิดความผิดหวังในการตัดสินใจ เกิดความท้อแท้ พล็อตในช่วงจะดูราวกับนำไปสู่ตอนจบแบบ Bad Ending แต่เมื่อการเล่าเรื่องหล่นไปจนแตะจุดหนึ่งแล้ว ตัวละครจะเกิดแสงสว่างทางปัญญา สถานการณ์จะชี้ทางสว่างให้แก่ตัวละคร เพื่อให้ตัวละครมีโอกาสในการแก้ปัญหาอีกครั้งClimax คือ จุดสูงสุดทางอารมณ์ของหนัง ที่หนังจะสามารถมอบให้แก่ผู้ชมได้ ปัญหาและปมความขัดแย้งทั้งหมดที่หนังผูกมาตั้งแต่ต้น จะได้รับการแก้ไข ผู้ชมจะรู้สึกเอาใจช่วงตัวละครในช่วง Climax มากที่สุดResolution คือ บทสรุปของสถานการณ์ทั้งหมดของเรื่อง หากหนังจบแบบปลายปิด ความขัดแย้งทั้งหมดจะได้รับการสรุปให้ผู้ชมได้รับรู้โดยไม่มีอะไรค้างคา แต่ถ้าหากจบแบบปลายเปิด จะทิ้งช่องว่างให้ผู้ชมได้คิดต่อหวังว่าจะเป็นประโยชน์ทั้งในแง่การชมภาพยนตร์และสำหรับผู้ที่กำลังสร้างสรรค์เรื่องราวขึ้นมา โครงสร้างนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางในการเขียนเรื่องราวได้เลย