ภาพ: https://bit.ly/2U1gZWgเคลือบหน้าหนังด้วยชื่อไทยว่า ‘อัศจรรย์แดนฝัน มหัศจรรย์เขาวงกต’ และโปสเตอร์ที่ปรากฏเป็นเด็กสาวยืนอยู่เพียงลำพังใต้ซุ้มประตูเถาวัลย์ แลดูเป็นเทพนิยาย คล้ายฝันกลางวันนั้น ช่างหลอกลวงผู้บริโภค (ตีคู่มากับหนังอย่าง Bridge to Terabithia) ชวนให้ใครๆ ที่ยังไม่เคยดู เข้าใจผิดว่าเป็นหนังแฟนตาซีที่เด็กดูได้แต่อย่ากระนั้นเลย, แท้จริงแล้วควร ‘โปรดเก็บหนังเรื่องนี้ไว้ในที่สูงให้พ้นจากมือเด็ก’ ดังคำเตือนตามฉลากยาหรือหีบห่อของมีคม เสียมากกว่า...ก่อนหน้านี้ เวลามีคนถามถึงหนังที่ชื่นชอบที่สุด ‘ตลอดกาล’ ผมมักเลือกไม่ถูก ต้องคิดอยู่นาน และคำตอบแต่ละครั้งไม่เหมือนกันเลยสักครั้ง ถือเป็นโจทย์ที่ยากกว่าให้เลือกหนังที่ชอบที่สุดเฉพาะ ‘ในปีนั้นๆ’ อยู่หลายเท่าตัวจนกาลเวลาผ่านมา มีหนังอยู่เรื่องหนึ่งที่ผมจำไม่ได้แล้วว่าดูครั้งแรกเมื่อไหร่ รู้เพียงเคยหยิบดีวีดีมาเปิดดูไม่ต่ำกว่าสี่ครั้ง ซึ่งครั้งล่าสุดก็คือเมื่อคืนนี้ ดูจบก็รู้สึกเสียดายที่ไม่เคยได้ดูในโรงหนังหนังที่ทุกครั้งที่ดู-ความรักใคร่ของผมไม่เคยลดลงภาพ: ผู้เขียนผมกำลังพูดถึง Pan’s Labyrinth (2006) หนังที่แทบไม่มีนักแสดงหรือดาราสักคนที่ผมรู้จัก นอกจากชื่อของ ‘ดั๊ก โจนส์’ ที่เล่นหนังกี่เรื่องๆ ผมก็จำหน้าเขาไม่ได้ เพราะแต่ละบทที่เขาเล่นจะต้องมีเมคอัพตลอด ในเรื่องนี้ก็เช่นกัน, เขารับบทเป็นตัวละครสองตัว คือ ฟอน (เทพารักษ์ครึ่งคนครึ่งแพะ) กับ Pale man อสุรกายตัวขาวซีด จุดเด่นคือมีดวงตาอยู่บนฝ่ามือ แม้โผล่มาแค่ซีนเดียว แต่เชื่อเถอะ, ใครเห็นแล้วไม่กลัวก็จะประทับใจเจ้าตัวนี้ไปเลยผลงานของนักสร้างสรรค์หนังสัตว์ประหลาดอย่าง กิลเลอร์โม เดล โตโร (ที่เรารู้จักจากหนัง ‘Blade 2’ , ‘Hellboy’ และ ‘Pacific Rim’) และมีหนึ่งในผู้อำนวยการสร้างร่วมคือ อัลฟอนโซ กัวรอน (Gravity, Roma)หนังเรื่องนี้ส่งให้ เดล โตโร เข้าชิงออสการ์เป็นครั้งแรก ในสาขาบทภาพยนตร์ดั้งเดิม และสาขาหนังต่างประเทศ ก่อนหนังจะฟาดไป 3 รางวัล (สาขาถ่ายภาพ แต่งหน้า และกำกับศิลป์) จากนั้นในปี 2018 เขามาได้ออสการ์เป็นครั้งแรกจาก The Shape of Water โดยหนังคว้าไปถึง 4 รางวัล และ 2 ในนั้น เป็นรางวัลใหญ่อย่างหนังยอดเยี่ยม และผู้กำกับยอดเยี่ยมภาพ: ผู้เขียนหนังเล่าเหตุการณ์ยุคหลังสงครามกลางเมืองสเปนยุติลง เรื่องของเด็กสาวชื่อ ‘โอฟีเลีย’ ที่พ่อเสียไป แม่มาแต่งงานกับสามีใหม่ ซึ่งเป็นนายกองฝั่งที่สังหารพ่อแท้ๆ ของเธอ เธอจึงต้องย้ายมาอยู่ท่ามกลางสงครามระหว่างฝ่ายทหารกับฝ่ายต่อต้าน ณ ดินแดนที่เธอได้พบกับนางฟ้า ผู้ที่จะพาเธอกลับสู่ดินแดนที่เธอจากมา…เด็กที่รักการอ่านนิยายอย่างโอฟีเลีย เมื่อได้พ่อใหม่ที่ก้าวร้าวและเผด็จการมาแทนพ่อคนเก่า แถมต้องมาอยู่ในพื้นที่ที่มีการสู้รบกัน ซึ่งมีแต่ผู้ใหญ่และทหารชรา ไม่มีคนรุ่นราวคราวเดียวกับเธอ ทำให้เธอรู้สึกกดดันด้วยสภาพแวดล้อมที่โหดร้าย แต่สิ่งเดียวที่ช่วยให้เธอสามารถถือครองสติ เพลิดเพลินใจได้อย่างปลอดภัย ก็คือการหลบภัยอยู่ในโลกแห่งจินตนาการ กลางดึกที่แมลงคล้ายตั๊กแตนมาหาโอฟีเลีย มันพาเธอไปพบกับฟอนที่เขาวงกต ฟอนบอกว่าเธอคือเจ้าหญิงโมอันนา ถ้าอยากกลับไปเมืองใต้บาดาลจะต้องทำภารกิจสามอย่างเป็นบททดสอบภารกิจแรกคือการทดสอบความกล้า โอฟีเลียต้องเอาหินวิเศษไปใส่ปากคางคกยักษ์ ตัวที่อาศัยอยู่ใต้ซากต้นไม้จนทำให้ต้นไม้เหี่ยวเฉา เพื่อฆ่าคางคกแล้วนำกุญแจหนึ่งดอกมาทำภารกิจต่อไป ภารกิจทดสอบความยับยั้งชั่งใจ เธอต้องไขตู้ที่อยู่ในห้องเสวยอาหารของอสุรกายไร้ตา แล้วนำมีดสั้นออกมา โดยระหว่างทางต้องไม่แตะต้องของกินที่วางอยู่ และภารกิจสุดท้าย ลักพาตัวน้องชายของเธอมาจากพ่อแล้วพาไปที่เขาวงกตดูเผินๆ เหมือนเป็นหนังติดตามการปฏิบัติภารกิจของเด็กหญิงเพ้อฝันที่คิดว่าโลกในจินตนาการของตัวเองมีอยู่จริง แต่หนังกลับเล่าสองโลกที่คู่ขนานกันไปได้อย่างไหลลื่น อีกโลกคือโลกที่เด็กหญิงอาศัยอยู่ท่ามกลางการต่อสู้ระหว่างทหารกับพวกกบฎ และเธอต้องคอยดูแลแม่ที่นอนท้องใกล้คลอดอยู่มีตอนนึงที่เธอทำตามคำแนะนำของปีศาจแพะ โดยเทนมใส่ชามแล้วนำ ‘เมนเดรก’ รากไม้ที่มีรูปร่างเหมือนทารก (ชนิดเดียวกับที่เคยมีบทสมทบในเรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์) ไปไว้ใต้เตียงของแม่ หยดเลือดสองหยดลงไป (ฟังดูงมงายเหมือนคนบางประเทศที่ชอบขูดต้นไม้เพื่อหาเลข) แล้วอาการของแม่ก็ดีขึ้นจริงๆ เหตุการณ์นี้เหมือนจะช่วยให้แม่รอดชีวิต จนมาเจออารมณ์ร้ายของนายกอง คนที่มองว่าเธอไร้สาระและฆ่าเมนเดรกทิ้งไป ความรุนแรงในหนังที่ผ่านสายตาผมสมัยยังเด็ก มาตอนนี้ผมเริ่มไม่เข้าใจว่าตัวเองในตอนนั้น-วัยที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ-เสพแล้วชื่นชอบจนถึงคลั่งไคล้หนังเรื่องนี้ได้อย่างไร ภาพวิธีการที่ทหารกระทำกับพวกกบฎที่ถูกจับมา ภาพพวกกบฎที่ใช้มีดแทงและเฉือนปากของนายกองจนฉีก แล้วนายกองต้องเย็บปากด้วยตัวเอง ภาพ: ผู้เขียนบทสรุปปลายเปิดดูเหมือนทิ้งให้ผู้ชมได้ครุ่นคิด ว่าตกลงแล้วโลกในจินตนาการของโอฟีเลียนั้นมีอยู่จริง หรือโอฟีเลียเพียงสร้างโลกอีกใบขึ้นมาเพื่อหลีกหนีความจริงกันแน่? ใครที่ดูหนังแบบเก็บรายละเอียด ดูตามประสาคนคิดเยอะก็จะพบว่า หนังได้ทิ้งนัยยะเป็นการโปรยคำเฉลยเอาไว้ตามรายทางแล้ว นำมาสู่ข้อถกเถียงระหว่างกลุ่มผู้ชมอย่างน่าสนุก ผมว่าสิ่งนี้เองที่ทำให้หนังมีคุณค่า ไม่ใช่เพียงความบันเทิงที่ดูจบแล้วก็แล้วกันไป …ความคลาสสิคและเสน่ห์ของหนังบางเรื่องอยู่ตรงนี้ แต่น่าเสียดายเมื่อในเวลาต่อมา เดล โตโร (ผู้กำกับ) ได้ออกมาเฉลยตอนจบเอาไว้ (คล้ายกับที่เมื่อเร็วๆ นี้ คริสโตเฟอร์ โนแลน เพิ่งบอกเล่าบทสรุปในหนังปลายเปิดของตัวเองอย่าง Inception) ซึ่งเขาบอกว่า…