อามินได้เล่าชีวิตในวัยเด็กของเขากับจิตแพทย์ โดยเริ่มต้นจากเด็กคนหนึ่งที่อาศัยที่คาบูร์ ในอัฟกานิสถาน ที่พบเจอกับเหตุการณ์จากสงครามกลางเมืองจนต้องระหกระเหินจากบ้านเกิดและได้กลายเป็นผู้ลี้ภัยในรัสเซียและยุโรป ซึ่งตลอดชีวิตของเขาได้แสวงหาสถานที่ที่ให้ความปลอดภัย และ ให้อิสรภาพโดยที่เขาสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้โดยไม่ต้องหนีไปไหนอีก ขอแค่เพียงพอจะทำให้เขาเรืยกมันอีกครั้งว่า ‘บ้าน’ ระยะเวลา 1 ชั่วโมง 29 นาที เหมือนดู Animation สัมภาษณ์เรื่องราวของผู้ลี้ภัยคนหนึ่งโดยมีฉากหลังเป็นสงครามการเมืองมากกว่าความเป็น Document ทั่วไป นอกจากนี้ตัวหนังยังสามารถก้าวข้ามขีดจำกัดใน Genre เดียวกันที่โตกว่าจะเป็น Animation โลกสวยแบบ Disney ขณะเดียวกัน Timeline ระหว่างทางจะตัดสลับไปมาระหว่างช่วงวัยเด็กกับวัยผู้ใหญ่ของอามีนค่อนข้างสับสนเป็นบางช่วง มีช่วงดรอปลงจนเผลองีบไปบ้าง แต่สามารถประติดปะต่อเรื่องราวให้เข้าใจได้อยู่ สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือพัฒนาการเติบโตของอามีนก้าวไปข้างหน้าจากเด็กร่าเริงในครอบครัวยากจนนำไปสู่ผู้ลี้ภัยจากสงครามบ้านเกิด หนีตายไปตามที่ต่าง ๆ ก่อนจะได้ชีวิตใหม่อีกครั้งในวัยผู้ใหญ่ ระหว่างทางเราจะพบว่าอามีนพบเจอมาอะไรมาหนักหนาสาหัสสุด ๆ ทั้งการทุจริตของเจ้าหน้าที่ตำรวจ , ความโหดร้ายของแก๊งค์ค้ามนุษย์ หรือ ความระแวงต่อผู้ลี้ภัยด้วยกัน ยังดีหน่อยที่มีสมาชิกในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็น พ่อแม่ , พี่ชาย และ ย่าของเขาคอยอยู่เคียงข้างกัน มีเจ้าหน้าที่จากสถานทูตคอยช่วยเหลือ รวมถึงคนรักที่เป็นทั้งเพื่อนและเป็นที่เยียวยาจิตใจให้แก่อามีน ขณะที่ดูเราไม่รู้เลยว่าเหตุการณ์ข้างหน้าจะเกิดอะไรขึ้น ครอบครัวของอามีนจะเป็นอย่างไรกับดินแดนที่ไม่รู้จักไม่รู้กระทั่งว่าจะอยู่หรือตาย ซึ่งตรงจุดนี้หนังทำหน้าที่บอกเล่าให้คนดูรู้สึกสะเทือนใจ และ เห็นใจจนน้ำตาไหล การดำเนินเรื่องชวนลุ้นไปกับตัวละครที่เผชิญกับอุปสรรคมากมายตั้งแต่ต้นจนจบจนเกร็งไปข้างนึงแต่หนังก็แอบชี้ทางสว่างให้ความหวังอยู่เป็นระยะเพื่อไม่ให้โทนเรื่องดูโหดร้ายไปมากกว่านี้ แต่ก็ปฎิเสธไม่ได้ว่าเหตุการณ์เหล่านี้มันคือโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นจริง ๆในขณะที่ประเด็นรองอย่าง เพศสภาพ หรือ LGBTQ สำหรับผมค่อนข้างจนแอบคิดว่าดูยัดเยียดไปนิดนึง ถึงแม้ว่ามันทำหน้าที่ในส่วน Support เพิ่มเติมขับเคลื่อนให้เราเห็นสภาวะทางจิตใจของอามีนมากขึ้น ได้รู้ว่าสมัยนั้นมันมีคนที่พูดถึงเรื่องความหลากหลายทางเพศกันแล้วแต่ไม่สามารถแสดงออกได้ว่าเป็นสิ่งที่ถูกต่อต้านหนักขนาดไหน ผมรู้สึกว่าจะมีก็ได้ไม่มีก็ได้ เพราะมันเป็นแค่ส่วนประกอบย่อยให้แก่ประเด็นหลักให้ไปต่อได้แค่นั้น ซึ่งผมสนใจที่ประเด็นหลักในเรื่องของสงคราม ผู้ลี้ภัยในประเทศที่ 3 รวมถึงความเน่าเฟะของกระบวนการทำงานของระบบที่ใช้ช่องทางอันสกปรกในการหาผลประโยชน์อันมิชอบโดยอ้างกฎหมายในการรีดไถ่เก็บส่วยของเจ้าหน้าที่ หรือ ขบวนการค้ามนุษย์ข้ามชาติที่กระทำต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยความสิ้นหวังเวทนาไม่ต่างกับสัตว์ซะมากกว่าความพิเศษตรงที่หนังต่างประเทศของผู้กำกับชาวเดนมาร์ก Jonas Pohar Rasmussen จากสารคดี What He Did (2015) เข้าใจถึงชีวิตของมนุษย์ที่เผชิญหน้ากับสงครามถึงขั้นไม่อาจอยู่ในประเทศบ้านเกิดตนเองได้ว่าสภาพทั้งร่างกายและจิตใจของมนุษย์มันส่งผลกระทบมากขนาดไหน ไม่แปลกที่ได้เข้าชิงรางวัลออสการ์ในปี 2022 หรือเมื่อต้นปีที่ผ่านมาไปกว่า 3 สาขา อาทิ ภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยม , ภาพยนตร์แอนิเมชั่นยอดเยี่ยม และ ภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม ถึงแม้ว่าจะมาสามารถคว้ารางวัลกลับบ้านได้สักรางวัลก็ถือว่ามาไกลเกินกว่าที่คิดสำหรับหนังสารคดีนอกกระแสประเภทนี้ ที่แน่ ๆ คือได้ใจผมไปเรียบร้อยแล้ว อีกอย่างที่ชอบคือการใช้ภาพประกอบจากเหตุการณ์จริงเป็น Flashback ประกอบเสริมเข้าไปแทรกกับวาดภาพแบบ 2 มิติที่มีความ Classic ด้วยลายเส้นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวเพื่อทำให้เนื้อเรื่องดูสมจริงมากขึ้น อย่างเช่น ร้าน Mcdonald ปรากฎ ไม่รู้ว่าเป็น Symbol ที่ตัวผู้กำกับจงใจใส่เพื่อบอกอะไรหรือเปล่าแต่รู้สึกเข้าท่าแฮะ Score ดนตรีประกอบฟังดูแม้จะดูเศร้าสร้อยแต่ช่วยเยียวยาจิตใจให้มีกำลังใจขึ้นมาหน่อย ส่วนที่ปรับปรุงคือซับไทยตัวเล็กมาก มองไม่ค่อยเห็น อาศัยการดูภาพเอา ถ้าปรับตัวอักษรขึ้นมาหน่อยจะรู้เรื่องมากกว่านี้สรุปคือประทับใจมาก ยกให้เป็นสารคดีที่เป็นมากกว่า Animation น้ำดีที่ช่วย Heel กำลังใจสำหรับคนที่กำลังท้อแท้ สิ้นหวังเป็นอย่างดี อีกทั้งยังทิ้งรองร่อย Message หลายอย่างเกี่ยวกับการวิพากษ์วิจารณ์โลกสีเทา การแบ่งชนชั้นของผู้มีอำนาจกับคนไร้อำนาจ รวมถึง ผลกระทบของการเกิดสงครามที่ไม่ว่าผลจะเป็นอย่างไรแต่สิ่งที่ได้แน่นอนคือความสูญเสียพร้อมกับตั้งคำถามกับคนดูเก็บไปคิดต่อกันว่าถ้าหากเหตุการณ์ในเรื่องเกิดขึ้นกับเราจะรู้สึกอย่างไร เราจะทำอย่างไรต่อจากนี้ ซึ่งไม่ว่าคำตอบจะเป็นอย่างไรแต่สิ่งที่ผมได้รับก็คือการนิยามของคำว่า บ้าน ที่ไม่ใช่สถานที่ แต่เป็นผู้คนที่อาจจะมาในรูปแบบครอบครัว หรือ ความรักก็ได้ และ คำว่า Flee ก็ไม่ใช่การหนีแต่หากเป็นการเลือกบางสิ่งบางอย่างที่ปราศจากความเจ็บปวด หลีกเลี่ยงความรุนแรง ลดการใช้กำลังให้เกิดความเสียหายโดยเน้นการประนีประนอมทางจิตวิญญาณของความเป็นมนุษย์คืนกลับสู่สามัญชนในแบบที่ควรจะเป็นขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านครับ เมื่อได้อ่านแล้ว สามารถกด Like กด Share บทความของผม EMCONCEPT เพื่อเป็นกำลังใจในการรีวิวครั้งต่อไป ขอบคุณครับขอขอบคุณภาพประกอบโดย : Facebook / DocumentaryClubTH = ภาพประกอบหน้าปก 1 / Pixabay / jplenio = ภาพประกอบหน้าปกที่ตัวอักษร 2 Facebook / neonrated = ภาพประกอบที่ 1 / ภาพประกอบที่ 2 / ภาพประกอบที่ 3 / ภาพประกอบที่ 4 / ภาพประกอบที่ 5 / ภาพประกอบที่ 6 จะฟังเพลงหรือดูหนัง ซีรีส์ใหม่สุดปัง โหลดเลยที่ App TrueID โหลดฟรี !