ในเรื่องของวรรณกรรมนั้นมีอยู่ทุกที่ทุกหนทุกแห่ง ไม่ว่าจะต่างศาสนา ต่างเชื้อชาติ หรือต่างวัฒนธรรม ก็มีเรื่องเล่าตำนานที่ยิ่งใหญ่จึงถูกเรียกว่า มหากาพย์ บทความนี้จึงรีวิวหนังสือเล่ม ๆ หนึ่ง เป็นหนังสือที่เล่าเรื่องมหากาพย์ที่โด่งดังในประเทศอินเดีย เป็นมหากาพย์ที่มาก่อนเรื่องรามายณะ นั่นคือ มหาภารตะเล่าเรื่องมหาภารตะ เป็นหนังสือที่เล่าถึงศึกสงครามครั้งใหญ่เป็นเรื่องราวความขัดแย้งของทั้งสองตระกูลซึ่งอยู่ในราชวงค์เดียวกัน คือฝ่ายปาณทพที่เป็นฝ่ายธรรมะ และฝ่ายเการพ ซึ่งเป็นฝ่ายอธรรม แต่งโดย ฤษีวยาส จนต่อมาในยุคปัจจุบันได้มีการแปลมาหลายภาษาจนมาถึงภาษาไทยที่อ่านเข้าใจง่าย โดยคุณ มาลัย (จุฑารัตน์) เป็นผู้นำฉบับภาษาไทยมาย่อ และเรียบเรียงใหม่ให้จบภายในเล่มเดียวและไม่หนามาก เพราะโดยปกติแล้วเรื่องมหาภารตะในต้นฉบับนั้นมีตั้งหลายพันโศลกในภาษาสันสกฤต โดยเนื้อเรื่องนั้นจะดำเนินด้วยตัวบุคคลทั้ง 5 คน คือ ยุธิษฐิระ ภีมะ อรชุน นกุล และสหเทพ ซึ่งเป็นฝ่ายปราณทพ ต้องถูกขับไล่ออกจากวังเพราะแพ้หมากรุกที่พนันกับฝ่ายเการพแต่แม่ของพี่ชายทั้งห้า นางกันตี ขอตามไปกับลูกของเธอด้วย เมื่อคนทั้งหกถูกไล่ออกจากวังแล้วต้องออกมาเร่ร่อน โดยมียุธิษฐิระ ผู้เป็นพี่ใหญ่คอยดูแล จนได้ไปเจอกับพระกฤษณะ พระกฤษณะจึงเชิญให้พี่น้องทั้งห้าไปอยู่ในวังของเขา แล้วเหตุการณ์ต่อไปจึงเป็นการเริ่มต้นการผจญภัยในเรื่องนี้ "โดยเหตุผลส่วนตัวของนักเขียนเองนั้นที่ชอบหนังสือเล่มนี้เพราะว่าในเรื่องราวนี้ดำเนินเรื่องราวอย่างรวดเร็ว กระชับกว่าฉบับอื่น ๆ และยังสื่อถึงประโยคอันอมตะ นั่นคือ ธรรมะย่อมชนะอธรรม จึงอยากจะแนะนำให้คุณผู้อ่านลองอ่านดูเพราะตัวละครในแต่ตัวละครนั้นมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง เหมือนอ่านนิยายแนวสงครามแบบโบราณเลยค่ะ"มหากาพย์เรื่องนี้ไม่ใช่มีเพียงแค่อ่านเพื่อความสนุกเท่านั้น แต่มหากาพย์เรื่องนี้ยังสอดแทรกความรู้ คำสอน จารีตประเพณี วัฒนธรรมต่าง ๆ ในสมัยโบราณของอินเดีย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรในสมัยอินเดียโบราณ เป็นเรื่องราวที่ให้คนยุคใหม่ได้ศึกษาหาความรู้ถึงธรรมมะ และมีประโยคหนึ่งได้กล่าวขึ้นโดยนายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดีย คือคุณ ยวาหระลาล เนห์รู กล่าวว่า “มหากาพย์มหาภารตะเป็นวรรณกรรมที่สำคัญที่สุดเล่มหนึ่งของโลก เป็นสารานุกรมหรือที่รมวของเรื่องราวปรัมปรา ขนบธรรมเนียม ประเพณี ตลอดจนความรู้อันเกี่ยวกับสถาบันทางสังคมและการเมืองของอินเดียในสมัยโบราณ”ถาพโดยผู้เขียน