รีเซต

เฉลยปริศนาฉากกิมหงวนฉีกแบงค์พัน ใน ละคร พล นิกร กิมหงวน

เฉลยปริศนาฉากกิมหงวนฉีกแบงค์พัน ใน ละคร พล นิกร กิมหงวน
25 กรกฎาคม 2557 ( 19:00 )
18.9K

           
          ถกเถียงกันเป็นประเด็นร้อน กับฉาก กิมหงวน โชว์เกรียน ฉีกแบงค์พัน ในละครย้อนยุค เรื่อง พล นิกร กิมหงวน ว่าสมัยนั้นมีธนบัตรมูลค่า 1,000 บาทจริงหรือไม่ เพราะเท่าที่จำความได้ แบงค์พัน เพิ่งถูกผลิตเมื่อเร็วๆ นี้ วันนี้เราเลยหาคำตอบเพื่อตอบข้อสงสัย

         
          ธนบัตรตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันมีทั้งหมด 16 รุ่น โดยแต่ละรุ่นจะมีความแตกต่างกันทั้ง กระดาษ ราคามูลค่าของธนบัตร รูปและคำ ที่ใช้บนหน้าธนบัตร แบงค์พัน ถูกผลิตตั้งแต่รุ่น 1 เป็นธนบัตรที่พิมพ์ด้านหน้าเพียงด้านเดียว จึงเรียกว่า ธนบัตรหน้าเดียว พิมพ์ที่บริษัทโทมัส เดอ ลา รู จำกัด ประเทศอังกฤษ เริ่มทยอยออกใช้ตั้งแต่พุทธศักราช 2445 ในรัชกาลที่ 5 จนถึงรัชกาลที่ ๖

 
          แบงค์พัน ยังถูกพิมพ์ต่อเนื่องสู่ยุคที่2 ของธนบัตร เป็นธนบัตรที่พิมพ์ทั้งสองด้าน ด้านหน้าเป็นภาพลายเฟื่องประกอบรัศมี 12 แฉก ด้านหลังเป็นภาพพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ จึงเรียกกันว่า ธนบัตรแบบไถนา โดย เริ่มทยอยออกใช้ตั้งแต่พุทธศักราช 2465 ในรัชกาลที่ 6 จนถึงรัชกาล 7
          เข้ายุคที่ 3 ของการผลิต ช่วงปีพุทธศักราช 2477 ธนบัตรราคา 1000 บาท ถูกยกเลิกผลิต และเริ่มมีการปลอมแปลงธนบัตรเกิดขึ้น ทำให้ในการผลิตรุ่นนี้จะมีข้อความแจ้งโทษของการปลอมแปลงธนบัตรเป็นครั้งแรก ซึ่งมีการผลิตแค่ 4 ชนิดราคา ได้แก่ 1 บาท 5 บาท 10 บาท และ 20 บาท

         
          ในการผลิต ยุคที่ 4 ในช่วงแรก รุ่นที่จัดผลิตบริษัทโทมัส เดอ ลา รู จำกัด ประเทศอังกฤษ นำธนบัตรราคา 1000 บาทกลับมาอีกครั้ง ซึ่งในเรื่องพลนิกรกิมหงวนได้หยิบยกธนบัตรรุ่นนี้ขึ้นมาใช้ในการแสดงของกิมหงวนในฉากฉีกแบงค์ โชว์ความรวย เพราะยุคนั้นไม่มีการผลิตแบงค์ราคา 100 บาท ผู้ใดถือธนบัตรราคา 1,000 บาทถือว่ารวยสุดๆ แต่ยุคที่ 4 นี้เองเป็นยุคของสงครามโลกครั้งที่สอง จากการเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น ทำให้การสั่งพิมพ์ธนบัตรจากบริษัท โทมัส เดอ ลา รู ประเทศอังกฤษ ไม่สามารถกระทำได้ รัฐบาลไทยจึงตัดสินใจพิมพ์ธนบัตรขึ้นใช้เอง โดยใช้วัตถุดิบที่พึงหาได้ภายในประเทศ และมอบหมายให้ กรมแผนที่ทหารบก กรมอุทกศาสตร์ และโรงพิมพ์ของเอกชนบางแห่ง เป็นผู้จัดพิมพ์ภายใต้การควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดจากพนักงานของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งไม่มีการผลิตธนบัตรราคา 1,000 บาทในการผลิตครั้งนั้น 



          แต่ในการผลิตธนบัตรยุคที่ 5 ธนบัตรราคา 1,000 บาทถูกนำกลับมาผลิตอีกครั้ง ทั้งนี้ในระหว่างสงครามมีการจัดพิมพ์ธนบัตรแบบพิเศษบางชนิดราคาขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปใช้ในโอกาสต่าง ๆ แต่ในที่สุดก็มีการนำธนบัตรเหล่านี้ออกใช้เช่นเดียวกับธนบัตรหมุนเวียนปกติ สุดท้ายแบงค์พันก็หายไปจากการผลิตถึง 9 รุ่น 


          การกลับมาของธนบัตรราคา 1,000 บาท ในยุค ผลิตรุ่น 14 เป็นยุคที่สะท้อนถึงความเจริญรุ่งเรื่องทางเศรษฐกิจ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเผยแพร่พระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์แห่งพระราชวงศ์จักรี ที่ทรงพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ โดยวันประกาศออกใช้อย่างเป็นทางการคือวันที่ 30 มิถุนายน 2535

 

          โดยธนบัตรราคา 1,000 บาท ที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน คือการ ผลิตรุ่น 15 ที่ปรับขนาดความกว้างของธนบัตรให้เท่ากันทุกชนิดราคา เพื่อความสะดวกในการพกพา และในการผลิตรุ่นล่าสุดหรือรุ่นที่ 16 มีเพียงธนบัตรราคา 20 บาท 50 บาท และ 500 บาท เท่านั้นที่เปลี่ยนแปลงรูปภาพบนธนบัตรเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ไทย ตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ ที่ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันเป็นคุณูปการแก่ประเทศชาติ
          ไม่น่าเชื่อว่าทีมงานละครเรื่อง พลนิกร กิมหงวน จะใส่ใจรายละเอียดเล็กๆ น้อย แถมยังทำให้เรารู้ว่า ประเทศไทย มีการผลิตแบงค์พันมาตั้งแต่รุ่นแรกที่เริ่มใช้ธนบัตรอีกด้วย 
สามารถติดตามชมละครพล นิกร กิมหงวน ได้ทุกวันพฤหัสบดี และ ศุกร์ เวลา 19.00 – 20.00 น. เริ่ม ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง True4U(ทรูโฟร์ยู) ดิจิตอลฟรีทีวี / ช่อง 24 บนกล่องทีวีดิจิตอล 

ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบ : ธนาคารแห่งประเทศไทย http://www.bot.or.th/

 


 

 

ชมทีวีออนไลน์ช่องทรูโฟร์ยู ดิจิตอล ฟรีทีวี แบบสดๆ ได้ที่นี่
ติดตามข่าวสารบันเทิงทีวีได้อีกช่องทาง
     Facebook.com/TVSociety