รีเซต

"คิมเบอร์ลี่" อวดโฉมเป็นนางนพมาศสุดงดงาม ลอยกระทง 2566 ที่ไอคอนสยาม

"คิมเบอร์ลี่" อวดโฉมเป็นนางนพมาศสุดงดงาม ลอยกระทง 2566 ที่ไอคอนสยาม
EntertainmentReport2
27 พฤศจิกายน 2566 ( 21:41 )
154

ลอยกระทง 2566 สร้างความเลอค่าบนตัวนางนพมาศงานลอยกระทงไอคอนสยามมา 3 ปีติด ปีนี้แบรนด์เครื่องประดับไทย “ทองถนิม” รังสรรค์ผลงานสุดวิจิตรไม่ให้เสียชื่อแบรนด์คุณภาพเช่นเคย จัดเต็มเครื่องประดับนางนพมาศที่พิถีพิถันออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับไอคอนสยาม เพื่อเนรมิตให้ "คิมเบอร์ลี่ แอน โวลเทมัส" สวยสง่า ด้วยผลงาน “รัตนมาสพิลาสจักรพรรดิ” คอนเซปต์ยกย่องนางนพมาศในฐานะ “สตรีนักปราชญ์” ผู้เป็นปฐมบทแห่งประเพณีลอยกระทง มูลค่าเครื่องประดับรวม 20 ล้านบาท

"คิมเบอร์ลี่" อวดโฉมเป็นนางนพมาศสุดงดงาม ลอยกระทง 2566 มูลค่าชุดรวมกว่า 30 ล้าน

ในปีนี้ คุณสิทธิศักดิ์ คูหาวิไล ผู้ก่อตั้งแบรนด์ทองถนิม ได้มีการนำเสนอมุมมองใหม่สำหรับเครื่องประดับไทย ผสมผสานงานประติมากรรมกึ่งนูนสูงบนทับทรวง เพื่อสร้างสรรค์งานเครื่องประดับไทยให้วิจิตรยิ่งขึ้น โดยยังคงรักษากรรมวิธีการรังสรรค์แบบโบราณ เพิ่มความเลอค่าด้วยอัญมณีเพชรและไข่มุก เครื่องประดับประกอบด้วย ต่างหู ทับทรวง พาหุรัด กำไล และปั้นเหน่ง แต่ละชิ้นมีการสอดแทรกกลิ่นอายของศิลปะสมัยสุโขทัย ลวดลายหงส์สื่อถึงสตรีในราชสำนักผู้สูงศักดิ์ และไข่มุกซึ่งเป็นอัญมณีแห่งพระแม่คงคา เปรียบเสมือนความงดงามและสติปัญญาอันล้ำเลิศ

คุณสิทธิศักดิ์ คูหาวิไล ยังเสริมแนวคิดการออกแบบเพิ่มเติม ชื่อผลงาน “รัตนมาสพิลาสจักรพรรดิ” แปลความหมายว่า จันทร์แก้วอันเป็นที่รักยิ่งของพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งจันทร์แก้วในที่นี้หมายถึง “นางแก้ว” หรือ “นางนพมาศ” คอนเซปต์ผลงานเพื่อยกย่องความงดงามและปัญญาอันปราดเปรื่องของนางนพมาศในการคิดประดิษฐ์กระทงเป็นรูปดอกบัวถวายแด่สมเด็จพระร่วงเจ้า ในพระราชพิธีจองเปรียง วันเพ็ญเดือน 12

ผลงานเซตเครื่องประดับนี้ใช้บุคลากรช่างฝีมือ มากกว่า 10 ชีวิต ทั้งช่างจิตรกรรม ช่างปั้น ช่างสลักดุน ช่างดัดลวด 
ช่างเชื่อมประกอบ ช่างถักร้อยเข็มขัด ช่างอัญมณี มาช่วยกันรังสรรค์ผลงานให้ออกมาทรงคุณค่าเหนือกาลเวลา

ร่วมผสานความอลังการด้วยชุดนางนพมาศ “นารีศรีสัชนาลัย สุโขทัยธานี” ตัดเย็บด้วยผ้าไหมโบราณจากสุโขทัย ฝีมือการออกแบบโดยอาร์ทอัครัชเนรมิตศิลป์แชมป์ชุดประจำชาติเวทีมิสแกรนด์ไทยแลนด์ มูลค่าชุดรวม 10 ล้านบาท

งานนี้ทองถนิมตั้งใจเป็นอย่างยิ่งเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมรักษาศิลปะและวัฒนธรรมของชาติไทยให้ยังคงอยู่ตลอดไปสำหรับท่านใดที่อยากชมผลงานของทองถนิม สามารถเยี่ยมชมได้ที่หอศิลป์ “สิปปาลัยทองถนิม” โทร.นัดเยี่ยมชม 095-254-2939 หรือ ติดตามช่องทางเฟซบุ๊ก www.facebook.com/tongthanim

อ่าน ข่าวบันเทิงวันนี้ ที่เกี่ยวข้อง :