ประวัติ ฉลอง ภักดีวิจิตร เสียชีวิตแล้ว
EntertainmentReport3
13 กันยายน 2567 ( 16:43 )
796
ประวัติ ฉลอง ภักดีวิจิตร
ฉลอง ภักดีวิจิตร หรือมีชื่อจริงว่า บุญฉลอง ภักดีวิจิตร เกิดวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ.2474 เป็นผู้กำกับภาพยนตร์และผู้กำกับละครโทรทัศน์ชาวไทย มีฉายาที่วงการภาพยนตร์ขนานนามให้คือ "เจ้าพ่อหนังแอ็คชั่น" ฉลอง ภักดีวิจิตร เป็นบุตรคนที่สี่จากทั้งหมดห้าคน ของรองอำมาตย์โทพุฒ ภักดีวิจิตร ซึ่งรับราชการในกองแบบแผน กรมรถไฟหลวง กับมารดาชื่อลิ้นจี่ ด้านการศึกษา เข้าศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาที่ โรงเรียนวัดสุทธิวราราม พี่น้องทุกคนล้วนอยู่ในวงการสร้างภาพยนตร์ทุกคน ได้แก่ วิจารณ์ ภักดีวิจิตร, เขียวหวาน ภักดีวิจิตร และ วินิจ ภักดีวิจิตร นอกจากนี้ยังมีน้องชายของพุฒ ซึ่งมีศักดิ์เป็นอาของเขา คือ สด ภักดีวิจิตร (สดศรี บูรพารมย์) ก็เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ ส่วนพี่ชายอีกคน บุญศรี ภักดีวิจิตร ทำงานการรถไฟแห่งประเทศไทย อดีต วิศวกรกำกับการแผนกปรับประแจและเครื่องมือ กองโรงงานบำรุงทาง ฝ่ายการช่างโยธา ต่อมาช่วงต้นเดือน ต.ค.2566 ทำเอาทุกคนเป็นห่วง เมื่อเห็น ฉลอง ภักดีวิจิตร เข้าโรงพยาบาล เนื่องจากอ่อนแรง ทำให้มีคนส่งกำลังใจให้เป็นจำนวนมาก และ ฉลองนั้นได้เสียชีวิตลงด้วยโรคชรา และมีอาการน้ำท่วมปอด ในวันที่ 13 ก.ย.2567
ประวัติ ฉลอง ภักดีวิจิตร
ด้านชีวิตในวงการบันเทิง ฉลอง ภักดีวิจิตร เข้าสู่วงการภาพยนตร์ด้วยการเป็นตากล้องถ่ายทำภาพยนตร์ตั้งแต่ยุค 16 ม.ม. จนถึง 35 ม.ม. ให้กับผู้สร้างภาพยนตร์หลายราย เช่น วัชรภาพยนตร์ ภาพยนตร์สหะนาวีไทย ธาดาภาพยนตร์ นพรัตน์ภาพยนตร นันทนาครภาพยนตร์ บูรพาศิลปะภาพยนตร์ รามาภาพยนตร์ ลดาพรรณภาพยนตร์ พิษณุภาพยนตร์ เป็นต้น ภาพยนตร์เรื่องแรก คือเรื่อง แสนแสบ ในปี พ.ศ. 2493 และยังได้รับรางวัลตุ๊กตาทอง 2 ตัว สาขารางวัลผู้ถ่ายภาพยอดเยี่ยม ประจำปี 2507 จากเรื่อง ผู้พิชิตมัจจุราช ของ วัชรภาพยนตร์ นำแสดงโดย อดุลย์ ดุลยรัตน์, อาคม มกรานนท์, วิไลวรรณ วัฒนพานิช และในปี 2510 จากเรื่อง ละอองดาว ของภาพยนตร์สหะนาวีไทย นำแสดงโดย สมบัติ เมทะนี, พิศมัย วิไลศักดิ์, อดุลย์ ดุลยรัตน์ ซึ่งเขาได้เป็นตากล้องถ่ายภาพหลายปี มีผลงานภาพยนตร์มากมาย ส่วนภาพยนตร์ที่ฉลอง ภักดีวิจิตร แสดงฝีมือ กำกับการแสดงเป็นเรื่องแรกก็คือ ภาพยนตร์ 16 ม.ม. เรื่อง จ้าวอินทรี นำแสดงโดย มิตร ชัยบัญชา, พิสมัย วิไลศักดิ์ สร้างโดย รามาภาพยนตร์ของ สุมน ภักดีวิจิตร โดยใช้นามว่า ดรรชนี ในการกำกับการแสดง ออกฉายเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2511
ทางด้านงานละคร ฉลองเป็นผู้บุกเบิก ละครแนวแอ็คชั่นของทางช่อง 7 สี คือ ระย้า นำแสดงโดยพีท ทองเจือ กับ ฉัตรมงคล บำเพ็ญ และยังมีผลงานกำกับละคร อย่าง ดาวคนละดวง, รักซึมลึก, อังกอร์, ทอง 5, ล่าสุดขอบฟ้า, ฝนใต้, มาทาดอร์, อังกอร์ 2, เหล็กไหล, ฝนเหนือ, ชุมแพ, ทอง 9, ผ่าโลกบันเทิง, เสาร์ 5, นักฆ่าขนตางอน, อุบัติรักเกาะสวรรค์, เสาร์ 5 ตอน ทับทิมสยาม, พ่อตาปืนโต, ดุจตะวันดั่งภูผา, เลือดเจ้าพระยา, แข่งรักนักซิ่ง, หวานใจนายจิตระเบิด, ทอง 10, ทิวลิปทอง, พ่อตาปืนโต ตอน หลานข้าใครอย่าแตะ ฯลฯ
ด้านชีวิตส่วนตัว ฉลอง ภักดีวิจิตร สมรสกับ สุมน ภักดีวิจิตร เมื่อปี พ.ศ.2509 มีบุตรด้วยกันสามคนคือ เฉิด, กัญจน์ และ บุญจิรา ภักดีวิจิตร แต่ภายหลังสุมนเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งตับ ฉลองได้สมรสใหม่กับ พิมพ์สุภัค อินทรี วัย 38 ปี โดยเข้าพิธีแต่งงานที่จังหวัดศรีสะเกษ นอกจากนี้ ฉลอง ภักดีวิจิตรได้รับการยกย่องให้เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ผู้กำกับภาพยนตร์) ประจำปี พ.ศ.2556 และเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2566 ฉลอง ภักดีวิจิตรได้ถูกบันทึกลงใน บันทึกสถิติโลกกินเนสส์ ว่าเป็นผู้กำกับการแสดงที่มีอายุมากที่สุดในโลก (Oldest TV Director) (อายุวันที่จดสถิติ 1 กันยายน 2565 คือ 90 ปี 297 วัน)
ผลงานกำกับภาพยนตร์
- จ้าวอินทรี
- ลูกปลา
- สอยดาวสาวเดือน
- ฝนใต้
- ฝนเหนือ
- ระเริงชล
- 2 สิงห์ 2 แผ่นดิน
- ทอง
- ตัดเหลี่ยมเพชร
- ไอ้เพชร
- ตามฆ่า 20000 ไมล์
- ถล่มมาเฟีย
- ขยี้มือปืน
- ใต้ฟ้าสีคราม
- รักข้ามโลก
- ไอ้หนุ่มตังเก
- คนละเกมส์
- ผ่าปืน
- ทอง 2
- ล่าข้ามโลก
- สงครามเพลง
- ผ่าโลกบันเทิง
- ซากุระ
- นักเพลงผู้ยิ่งใหญ่
- ปล้นลอยฟ้า
- เปิดโลกมหาสนุก
- ยิ้ม
- ร้อยป่า
- เพชรเสี้ยนทอง
- ทอง 3
- ทอง 4
- ผ่าปืน 91
- มังกรเจ้าพระยา
- สุดขีดมังกรเจ้าพระยา 2
- ทอง 7
ผลงานในฐานะผู้จัดละคร
บริษัท บางกอก ออดิโอ วิชั่น จำกัด และ บริษัท อาหลองจูเนียร์ จำกัด
ปี 2541
- ระย้า
ปี 2542
- ดาวคนละดวง
- รักซึมลึก
- ฝนแรก
ปี 2543
- อังกอร์
- สามดรุณ
ปี 2544
- ทอง 5
ปี 2545
- ล่าสุดขอบฟ้า
ปี 2546
- ฝนใต้
ปี 2547
- มาทาดอร์
ปี 2548
- อังกอร์ 2
ปี 2549
- เหล็กไหล
ปี 2550
- ฝนเหนือ
- ชุมแพ
ปี 2551
- ทอง ๙
- ผ่าโลกบันเทิง
ปี 2552
- เสาร์ ๕
ปี 2553
- นักฆ่าขนตางอน
ปี 2554
- อุบัติรักเกาะสวรรค์
- เสาร์ 5 ตอน ทับทิมสยาม
ปี 2555
- พ่อตาปืนโต
- ดุจตะวันดั่งภูผา
ปี 2556
- เลือดเจ้าพระยา
ปี 2557
- แข่งรักนักซิ่ง
ปี 2558
- หวานใจนายจิตระเบิด
ปี 2559
- ทอง 10
บริษัท อินทรีย์ ออดิโอ วิชั่น จำกัด
ปี 2560
- ทิวลิปทอง
บริษัท โกลด์ ซี พี จี เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด
ปี 2561
- พ่อตาปืนโต ตอน หลานข้าใครอย่าแตะ
ปี 2563
- มังกรเจ้าพระยา
- สมบัติมหาเฮง
ปี 2564
- ปล้นลอยฟ้า
ปี 2565
- หุบพญาเสือ
ปี 2566
- กล้า ผาเหล็ก
- แคนสองแผ่นดิน
ปี 2567
- มรกตสีรุ้ง
- ตามล่า 20000 ไมล์