บทละครโทรทัศน์ ศรีอโยธยา ตอนที่ 1
ศรีอโยธยา ตอนที่ 1
ห้องบรรยายในคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ภาพแผนที่ “กรุงศรีอยุธยาโบราณ” ปรากฏบนจอ Projector พิมาน อาจารย์พิเศษ คณะโบราณคดีวัย 35 ปี กำลังบรรยายอยู่หน้านักศึกษาภาค International
พิมาน : The Siamese call their homeland by the name Ayodhaya which means the sacred place of god incarnation. Whereas for western visitors that transcript the name of the trade oriented YODIA where international commerce prospect between east and west. Ayodhaya ever since it’s founding has always adopted a very open mindset. All willing to learn and adjust when open to new and different cultures. คำว่าศรีอโยธยา เป็นคำที่ชาวสยามเรียกชื่อประเทศของตนเองในยุคนั้น ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์แห่งเทพอวตาร ซึ่งชาวตะวันตกต่างถือกันว่าเป็น “รัฐเมืองท่า” และออกเสียงเรียกรัฐนี้ว่า “โยเดีย” นับเป็นศูนย์กลางการค้านานาชาติที่เจริญรุ่งเรืองอย่างสูงสุด นับแต่ถือกำเนิดขึ้นมาบนแผ่นดินนั้น ชาวอโยธยาทุกยุคทุกสมัยเรียนรู้ที่จะเปิดรับวัฒนธรรมใหม่จากโลกภายนอก และให้ความสำคัญกับการประยุกต์และผสมผสานทางวัฒนธรรมให้เป็นของตนเองได้อย่างกลมกลืน
ณ โบราณสถานแห่งหนึ่ง พระนครศรีอยุธยา พิมานกำลังบรรยายให้นักศึกษาฟัง
พิมาน : Ayodhaya along with its rich history and its many artifact unearth by archeologist all the years has inspired many scholars and writers to create various of works due to its fascinating story. During the reign of King Borommakot from 1732- 1758 many of these temples were old and decayed, so this was actually the time of restoration and reconstruction. It also indicates that it’s a time of economic prosperity as well as religious favor and as well as artistic accomplishment. However these were the last glory days before the fall of Ayodhaya to Burmese in 1768 during the king Ekatat และร่องรอยทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีแห่งศรีอโยธยาซึ่งแฝงไว้ซึ่งเรื่องราวอันเต็มไปด้วยเสน่ห์ชวนให้ศึกษาหาความรู้นั้น ได้เป็นแรงบันดาลใจให้นักวิชาการและนักประพันธ์ได้สร้างสรรค์ผลงานอันทรงคุณค่าแก่ชาวโลกในทุกยุคสมัยอย่างไม่เสื่อมคลาย ในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ระหว่าง พ.ศ.2275-2301 สถาปัตยกรรมในพระนครนั้นทรุดโทรมลง จึงเป็นรัชสมัยแห่งการบูรณะปฏิสังขรณ์ และในขณะเดียวกันนั้น ทางด้านเศรษฐกิจ การศาสนาและศิลปวิทยาการ ก็เจริญถึงขีดสุดด้วยเช่นกัน และนับเป็นช่วงสุดท้ายของความรุ่งเรืองแห่งราชอาณาจักรศรีอโยธยา ก่อนที่จะเสียกรุงให้แก่ราชอาณาจักรพม่า ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเอกทัศในปี พ.ศ.2310